กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการตนเองของประชาชนกลุ่มเสี่ยงเมตาบอลิก โดยชุมชนมีส่วนร่วมตำบลศรีวิไล อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ ปีงบปรมาณ ๒๕๖๓

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลศรีวิไล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการตนเองของประชาชนกลุ่มเสี่ยงเมตาบอลิก โดยชุมชนมีส่วนร่วมตำบลศรีวิไล อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ ปีงบปรมาณ ๒๕๖๓

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลศรีวิไล

โรงพยาบาลศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ

ตำบลศรีวิไล อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้และทักษะในการดูแลตนเอง เพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้อย่างเหมาะสมในแต่ละบุคคลด้วยหลัก 3อ 2ส

 

50.00

เมตาบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) หมายถึงกลุ่มอาการที่มีความผิดปกติด้านเมตาบอลิซึม ซึ่งประกอบด้วยภาวะที่อ้วนโดยเฉพาะรอบเอวภาวะไขมันในเลือดสูง มีความดันโลหิตสูงและภาวะดื้ออินซูลินที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคต่างๆ ตามมาเช่น โรคเบาหวานและในพื้นที่ตำบลศรีวิไลมีความรุนแรงของโรคอ้วนโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดที่คุกคามชีวิตและสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่ตำบลศรีวิไล

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 960
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการโดยการใช้กระบวนการกลุ่ม ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้าน อาหาร การออกกำลังกาย การจัดการด้านอารมณ์ การลดละเลิกบุหรี่/สุรา ได้ด้วยตนเองในระดับมากขึ้นจากก่อนเข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการโดยการใช้กระบวนการกลุ่ม ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้าน อาหาร การออกกำลังกาย การจัดการด้านอารมณ์ การลดละเลิกบุหรี่/สุรา ได้ด้วยตนเองในระดับมากขึ้นจากก่อนเข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมเชิงปฏิบัติการโดยการใช้กระบวนการกลุ่ม ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้าน อาหาร การออกกำลังกาย การจัดการด้านอารมณ์ การลดละเลิกบุหรี่/สุรา ได้ด้วยตนเองในระดับมากขึ้นจากก่อนเข้าร่วมโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2563 ถึง 1 มิถุนายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการ มีการรับรู้ความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้าน อาหาร การออกกำลังกาย การจัดการด้านอารมณ์ การลดละเลิกบุหรี่/สุรา ได้ด้วยตนเองในระดับมากขึ้นจากก่อนเข้าร่วมโครงการ        ร้อยละ 50

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8375.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและให้คำปรึกษา (ช่วง 1 เดือน)

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและให้คำปรึกษา (ช่วง 1 เดือน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมดได้ตรวจค่าดัชนีมวลกาย การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงร้อยละ ๕๐

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 1 กรกฎาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด มีค่าดัชนีมวลกายลดลงจากก่อนเข้าร่วมโครงการโดยประเมิน จากการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงร้อยละ ๕๐

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8375.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและให้คำปรึกษา (ช่วง 3 เดือน)

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและให้คำปรึกษา (ช่วง 3 เดือน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและให้คำปรึกษา (ช่วง 3 เดือน) ประเมินสุขภาพเบื้องต้น (ชั่งน้ำหนัก,วัดรอบเอว,วัดความดันโลหิตสูง,เจาะน้ำตาลปลายนิ้ว)ให้คำปรึกษาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรายกลุ่มใหญ่,รายบุคคล

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 สิงหาคม 2563 ถึง 18 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการที่มีค่าน้ำตาลในเลือดสูง (100 – 125 มก./ดล) มีค่าลดลงจากก่อนเข้า ร่วมโครงการโดยประเมินจากการตรวจหาค่าระดับน้ำตาลในเลือด(DTX, FBS)ร้อยละ ๕๐

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8375.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดเสี่ยงลดโรคโดยชุมชนมีส่วนร่วม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดเสี่ยงลดโรคโดยชุมชนมีส่วนร่วม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คณะกรรมการพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนฯ เสนอปัญหาในชุมชนหลังจากที่ได้ทำการประชาคมหมู่บ้าน กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาและข้อตกลงร่วมกันในชุมชน Empowerment ชุมชน และวางแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยงลดโรค

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กันยายน 2563 ถึง 15 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับมากโดยวัดจากแบบสอบถาม ร้อยละ ๗๕

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8375.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด มีการกำกับพฤติกรรมสุขภาพตนเองเพิ่มขึ้นจากก่อนเข้าร่วม
โครงการ ร้อยละ ๕๐
๒. ผู้เข้าร่วมโครงการที่มีค่าน้ำตาลในเลือดสูง (100 – 125 มก./ดล) มีค่าลดลงจากก่อนเข้า
ร่วมโครงการ ร้อยละ5๐
๓. ผู้เข้าร่วมโครงการ มีค่าดัชนีมวลกายลดลงจากก่อนเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ5๐


>