กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลยางหล่อ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลยางหล่อ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนเกล็ด

พื้นที่ในเขตเทศบาลตำบลยางหล่อ 11 หมู่บ้าน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3 แห่ง วัด 6 แห่ง สถานบริการสาธารณะ 2 แห่ง โรงงาน 1 แห่ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ไข้เลือดออกยังเป็นปัญหาสาธารณสุขของ ตำบลยางหล่อ อำเภอศรีบุญเรืองอย่งต่อเนื่อง ซึ่งการที่จะลดการเจ็บป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออก ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน รวมถึงการกำหนดยุทธศาสตร์ที่ดี การป้องกันก่อนเกิดโรค การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคการเฝ้าระวังโรค การเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติการควบคุมการระบาดของโรค ตลอดจนควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพทันต่อสถานการณ์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อควบคุมความชุกของลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน ชุมชน ในโรงเรียนและสถานที่สาธารณะ 2.อัตราป่วยลดลงจากค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปีร้อยละ 20 3.ร้อยละ 100 ของหมู่บ้านป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ภายใน 28 วัน 4.มีการดำเนินการสอบสวนและควบคุมโรคตามมาตรการ 3-3-1-3-7-14 ร้อยละ 100

ร้อยละ 100 ของหมู่บ้านป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ภายใน 28 วัน

1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มประชาชน 1,210

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมก่อนการเกิดโรค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมก่อนการเกิดโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.การควบคุมและลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย - อสม. ออกสำรวจค่าดัชนีความชุกชองลูกน้ำยุงลายและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ทุกหลังคาเรือนในชุมชนทุก 7 วัน - นักเรียนสำรวจและทำลายลูกน้ำยุงลายในบ้านของตนเองและจัดทำรายงานส่งผู้ปกครองและครูทุกวันพุธ ระยะเวลา ก.พ - ก.ย. 63 -รพ.สต.รวบรวม วิเคราะห์ค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลาย ตรวจสอบความถูกต้องพร้อมรายงานผลให้สำนักงา่นสาธารณสุขอำเภอทุกวันศุกร์ของสัปดาห์ - จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรค (War room) และทีมปฏิบัติการเฝ้าระวังและสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ระดับตำบลยางหล่อ เพื่อทำหน้าที่ศูนย์ข่าวสาร - ประชุมชี้แจงดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกพร้อมจัดทำบันทึกความร่วมมือการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกกับประชาชน - จัดหาวัสดุและอุปกรณ์ควบคุมโรคสนับสนุนเมื่อเกิดการระบาด - ตรวจสอบสภาพเครื่องพ่นกำจัดยุง พร้อมซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดให้พร้อมใช้งาน - พ่นละอองฝอยฆ่าตัวแก่ยุงลายในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเปิดภาคเรียนอย่างน้อย 1 ครั้ง - ให้ความรู้ในนักเรียน กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อสม. ผู้นำชุมชน และจัดกิจกรรมรณรงค์ทุกชุมชนในการป้องกันไข้เลือดออก 2.กิจกรรมเมื่อเกิดการระบาดของโรค
- ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ เช่น วิทยุชุมชน หอกระจายข่าว ป้ายประชาสัมพันธ์ - ทีม SRRT ระดับอำเภอระดับตำบล ออกปฏิบัติการควบคุมการระบาดของโรคและสอบสวนโรคภายใน 24 ชั่วโมง - ทีม SRRT และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบพื้นที่ให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อปรับเปลี่ยน สร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อ และประสานความร่วมมือกับคณะกรรมการหมู่บ้าน - การจัดส่งรายงานผลการดำเนินการให้ระดับตำบลและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

งบประมาณ 1.การควบคุมและลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย - ประชุมชี้แจงการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกพร้อมจัดทำบันทึกความร่วมมือการดำเนินงานป้องกันและความคุมโรคไข้เลือดออกกับประชาชน ผู้นำชุมชน องค์กรปกครองสาวนท้องถิ่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านละ 30 คน -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ในการจัดประชุม 330 คน x 25 บาท x 2 มื้อ x 1 วันเป็นเงิน 16,500 บาท -ค่าอาหารกลางวัน ในการจัดประชุม 330 คน x 70 บาท x 1 มื้อ x 1 วัน เป็นเงิน 23,100 บาท - ทรายอะเบทกำจัดลูกน้ำยุงลาย 2,000 ซอง x 6 บาท เป็นเงิน 12,000 บาท -ปลากินลูกน้ำยุง คำนวณ หลังคาเรือนละ 20 บาท x 1,000 หลังคาเรือน เป็นเงิน 20,000 บาท -แบบสำรวจและบันทึกข้อมูล ดัชนีลูกน้ำยุง (HI และ CI) เป็นเงิน 5,000 บาท 2. กิจกรรมเมื่อเกิดการระบาด -ค่าน้ำมัน ดีเซลสำหรับผสมน้ำยาพ่น เป็นเงิน 20,000 บาท -ค่าน้ำมันเบนซิน เติมเครื่องพ่นยุง เป็นเงิน 10,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 มีนาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
106600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 106,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>