กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาสะแบง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลนาสะแบง อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ ปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาสะแบง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาสะแบง อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ

ตำบลนาสะแบง อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรผู้สูงอายุในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เป็นไปตามการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรโลกโดยประเทศไทยมีจำนวนและสัดส่วนผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้น สัดส่วนของผู้สูงอายุจะเพิ่มจากร้อยละ 7.2 ในปี พ.ศ.2533 เป็นร้อยละ 9.2 ในปี พ.ศ. 2543 เป็นร้อยละ 11.5 ในปี พ.ศ.2553 และเป็นร้อยละ 15.3 ในปี พ.ศ.2562 จากสถิติจำนวนละสัดส่วนผู้สูงอายุไทยที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็ว กอปรกับภาวะเศรษฐกิจและสภาพสังคมไทยที่เปลี่ยนไปทำให้เกิดปัญหามากมาย ได้แก่ ปัญหาการที่ลูกต้องเข้าเมืองทำงานหารายได้และทิ้งผู้สูงอายุให้ดูแลตนเองและหลานๆ ปัญหาการทำร้ายร่างกาย และทำร้ายจิตใจของผู้สูงอายุโดยลูกหลาน ปัญหาความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพา ปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังมากมาย
ประเทศไทยมีนโยบายผู้สูงอายุฉบับล่าสุด ได้กำหนดแนวทางสนับสนุนให้มีการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านเป็นแนวทางที่เข้ากับบรรทัดฐานของสังคมไทย การนำนโยบายสู่การปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดระบบการดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย ยังมีข้อจำกัด เพราะบริบทต่างๆของภูมิภาคหรือชุมชนมีความแตกต่างกัน ทำให้ไม่สามารถใช้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งสำหรับการดูแลผู้สูงวัย นับเป็นโอกาสที่ดีที่ประเทศไทยได้นำนโยบายการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่เน้นการป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัยมีความมุ่งเน้นการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว( Long term care ) ซึ่งเป็นการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ตั้งแต่สุขภาพดีไม่ป่วย ให้ยืดระยะเวลาของการมีสุขภาพดีให้ยาวนานที่สุด นอกจากนี้การดูแลป้องกันผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและอาการลุกลามได้ ด้วยการส่งเสริมสุขภาพ ส่วนผู้สูงอายุกลุ่มช่วยเหลือตนเองไม่ได้หรือทุพพลภาพได้รับการดูแลฟื้นฟูสภาพอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
จากสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาสะแบง จึงเห็นความสำคัญและความจำเป็นในดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อป้องกันปัญหาการเจ็บป่วยเรื้อรังของผู้สูงอายุและความพิการที่จะตามมา การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนอันจะส่งผลให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่ตรงตามปัญหาและความต้องการและสอดคล้องกับวิถีชีวิตและบริบทของชุมชนการดูแลผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องและการดูแลระยะยาว ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้ ทั้งยังส่งเสริมและช่วยเหลือให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตในสังคม อย่างมีศักดิ์ศรี มีสุขทั้งทางร่างกายและจิตใจ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการตรวจและประเมินภาวะสุขภาพประจำปี ร้อยละ๘๐

ผู้สูงอายุได้รับการตรวจและประเมินภาวะสุขภาพประจำปี ร้อยละ๘๐

60.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 800
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจผู้สูงอายุรายหมู่บ้านและแยกกลุ่มผู้สูงอายุออกเป็น 3 กลุ่ม

ชื่อกิจกรรม
สำรวจผู้สูงอายุรายหมู่บ้านและแยกกลุ่มผู้สูงอายุออกเป็น 3 กลุ่ม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สำรวจผู้สูงอายุรายหมู่บ้านและแยกกลุ่มผู้สูงอายุออกเป็น 3 กลุ่ม 9 หมู่บ้าน จำนวน 800 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุได้รับการตรวจและประเมินภาวะสุขภาพประจำปี ร้อยละ๘๐

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7050.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจสุขภาพพื้นฐานและตรวจสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
ตรวจสุขภาพพื้นฐานและตรวจสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจสุขภาพพื้นฐานและตรวจสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ 9 หมู่บ้าน จำนวน 800 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุทุกคนในตำบลนาสะแบงได้รับการดูแลครอบคลุมมิติ ด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ
มิติด้านสังคมและมิติด้านจิตวิญญาณ โดยการประสานความร่วมมือทั้งภาครัฐ,ภาคประชาชนและท้องถิ่น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้สูงอายุทุกคนในตำบลนาสะแบงได้รับการดูแลครอบคลุมมิติ ด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ
มิติด้านสังคมและมิติด้านจิตวิญญาณ โดยการประสานความร่วมมือทั้งภาครัฐ,ภาคประชาชนและท้องถิ่น


>