กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลวานรนิวาส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคนวานร รักษ์ไต ใส่ใจสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลวานรนิวาส

ศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลวานรนิวาส

หมู่ 1 2 3 4 5 13 16 ตำบลวานรนิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จากจำนวนผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่เพิ่มขึ้นทุกปี และภาวะแทรกซ้อนที่พบเป็นปัญหาคือ โรคไตวายเรื้อรัง และไตวายเฉียบพลัน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายในการจัดทำโครงการอบรมให้ความรู้สู่การนำไปปฏิบัติ ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

 

80.00

สถานการณ์โรคไตในปัจจุบันกำลังเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลก คนไทยมีแนวโน้มป่วยเพิ่มขึ้นสาเหตุส่วนใหญ่ร้อยละ 70 เกิดจากเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งมีสถิติผู้ป่วยรวมเกือบ 15 ล้านคน ผลที่ตามมาคือมีภาวะไตเสื่อมและไตเสื่อมเร็วขึ้น หากปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง จากข้อมูลพบว่าคนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังร้อยละ 17.6 ของประชากร หรือประมาณ 8 ล้านคน เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2 แสนคน ป่วยเพิ่มปีละกว่า 7,800 ราย ส่วนการผ่าตัดเปลี่ยนไตทำได้เพียงปีละ 500 ราย จึงเน้นการชะลอความเสื่อมของไตเพื่อให้เข้าสู่ระยะที่ต้องล้างไตช้าลงโรคไตเรื้อรัง จัดเป็นเป็นหาสำคัญของระบบสาธารณสุขทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งรัฐบาลต้องสูญเสียทรัพยากรจำนวนมากในการดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ โดยปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง คือ โรคเบาหวาน และ โรคความดันโลหิตสูง (ลีน่า,2548) โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิต ไม่ได้ตามเป้าหมาย หรือการดูแลตัวเองที่ไม่เหมาะสม ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาวะด้านจิตใจ อารมณ์ และสังคมของผู้ป่วยอย่างมากผู้ป่วยจะเสียชีวิตในระยะเวลาอันสั้น หากไม่ได้รับการรักษาต่อเนื่อง โดยการบำบัดทดแทนไต ซึ่งมีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รอการผ่าตัดเปลี่ยนไตใหม่ประมาณ 40,000 ราย ซึ่งมีขั้นตอนในการรักษายุ่งยาก และเสียค่าใช้จ่ายสูงถึงปีละประมาณ 2 แสนบาทต่อคน ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตมีเพียงปีละ 400 ราย เท่านั้น นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดคือ ขาดแคลนผู้บริจาคไต ผู้ป่วยจึงต้องรับการรักษาเพื่อยืดอายุโดยวิธีฟอกเลือดโดยเครื่องไตเทียมหรือล้างของเสียทางหน้าท้อง
นพ.รัฐพล เตรียมวิชานนท์ ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึง ในแต่ละปีได้จัดงบประมาณหลายล้านบาท โดยเน้นส่งเสริมป้องกันดูแลแบบครบวงจร ซึ่งผลการทำงานในแต่ละปี จะมีจำนวนผู้ป่วยสูงเกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้เพิ่มขึ้นทุกปี สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยป่วยเป็นไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายมากขึ้น ทั้งนี้ในปี 2563 สปสช.ได้จัดสรรงบประมาณการบำบัดทดแทนโรคไตวายเรื้อรัง จำนวนกว่า 9,405 ล้านบาท โดยตั้งเป้าจะมีผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 61,948 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยล้างไตผ่านช่องท้องจำนวน31,047 ราย การฟอกเลือดจำนวน 28,546 ราย และการผ่าตัดเปลี่ยนไตจำนวน 172 ราย ผู้ป่วยที่ต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกัน 2,183 ราย โดยเฉลี่ยมีค่าใช้จ่ายในการบำบัดทดแทนไตประมาณ 200,000 บาทต่อคนต่อปี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงได้รับความรู้ และสามารถนำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อชะลอการเสื่อมของไต 2. เพื่อเสริมพลังในการดูแลสุขภาพโดยวิธีที่เหมาะสมกับภาวะเจ็บป่วยที่เป็นอยู่ 3. เพื่อลดอัตราการล้างไตทางหน้าท้อง และการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมรายใหม่
  1. ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้รับความรู้เรื่องการดูแลตัวเองและป้องกันชะลอไตเสื่อม 2.ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีระดับความพึงพอใจในระดับดี
80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 31/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ โดยจัดเป็นฐานการเรียนรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ โดยจัดเป็นฐานการเรียนรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ฐานที่ 1. เรียนรู้เรื่องอาหาร - โภชนากรให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับภาวะสุขภาพและโรคที่เป็นอยู่ - สาธิตและร่วมฝึกปฏิบัติการจัดเมนูอาหารตัวอย่าง โดยให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีส่วนร่วม ตัวอย่างเมนู ส้มตำรักษ์ไต ฐานที่ 2. เรียนรู้เรื่องยา - เภสัชกรให้ความรู้เรื่องยา และวิธีการใช้ยาอย่างถูกต้อง - เภสัชให้ความรู้เรื่องยาอันตรายที่ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ฐานที่ 3. เรียนรู้เรื่องอารมณ์ - นักจิตวิทยาให้ความรู้เรื่อง อารมณ์ส่งผลต่อภาวการณ์เจ็บป่วยได้อย่างไร - ให้ความรู้เรื่องการใช้แบบประเมินความเครียดด้วยตัวเอง และร่วมทำกิจกรรมละลายพฤติกรรมสร้างสัมพันธภาพภายในกลุ่ม กำหนดแนวทางกิจกรรมร่วมกันโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม 2. เพื่อสร้างความตระหนักและให้ความสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันและชะลอการเสื่อมของไต ฐานที่ 4. เรียนรู้เรื่องการอกกำลังกาย และการออกแรง - นักกายภาพบำบัดให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ - ให้ความรู้เรื่องการใช้พลังงานจากการออกแรงทำงาน ฐานที่ 5. เรียนรู้เรื่องโรคไต
-ให้ความรู้โดยพยาบาลเชี่ยวชาญเรื่องโรคไต และดูแลผู้ป่วยไตวา

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 กรกฎาคม 2564 ถึง 8 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้รับความรู้เรื่องการดูแลตัวเองและป้องกันชะลอไตเสื่อม / ร้อยละ 80 2.ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีระดับความพึงพอใจในระดับดี  / ร้อยละ 80
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีความรู้ และทัศนคติที่ดี และเหมาะสมในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อป้องกันการเสื่อมของไต
2. ลดอัตราการสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่จะต้องล้างไตทางหน้าท้อง หรือ ฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียม


>