กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องโรคมะเร็งเต้านมมะเร็งปากมดลูก และการตรวจคัดตรวจกรองในประชาชนทั่วไป

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เดื่อศรีคันไชย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องโรคมะเร็งเต้านมมะเร็งปากมดลูก และการตรวจคัดตรวจกรองในประชาชนทั่วไป

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เดื่อศรีคันไชย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปานเจริญ

นายสุระพันธ์ หอมแพน
นางเทพีบุญพูน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปานเจริญ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปานเจริญ จึงจัดการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในกลุ่มเป้าหมาย สตรี 30 – 60 ปี และการตรวจเต้านมตนเองทุกเดือนในกลุ่มสตรี ผลงานที่ผ่านมา ปี 2563 ได้มีการตรวจพบผู้ที่มีก้อนที่เต้านมจำนวน 2 รายส่งต่อเพื่อรับการวินิจฉัย 2 รายคิดเป็

 

2.00

ตามที่ธรรมนูญสุขภาพตำบลเดื่อศรีคันไชย หมวดที่ 4การสร้าเสริมสุขภาพ(กลุ่มวัยทำงาน)ระบุไว้ว่ากลุ่มดังกล่าวต้องได้รับการดูแลสุขภาพและการตรวจคัดกรองสุขภาพขั้นพื้นฐานทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปานเจริญ จึงจัดการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในกลุ่มเป้าหมาย สตรี 30 – 60ปี และการตรวจเต้านมตนเองทุกเดือนในกลุ่มสตรี ผลงานที่ผ่านมา ปี 2563 ได้มีการตรวจพบผู้ที่มีก้อนที่เต้านมจำนวน 2 รายส่งต่อเพื่อรับการวินิจฉัย 2 รายคิดเป็นร้อยละ 100ผลการตรวจไม่เป็นมะเร็งที่เต้านมและการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ปี2563 จากผลงานระบบติดตามประเมินคุณภาพข้อมูลตามตัวชี้วัดคุณภาพจังหวัดสกลนคร ( COCKPIT 64 ) พบว่ามีสตรีได้รับตรวจร้อยละ69.43 อัตราส่วนค่อนข้างพอใช้ พบผิดปกติ 7 ราย ส่งตรวจต่อเพิ่มเติมทั้ง 7 รายผลคือยังไม่กลายเป็นผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกแต่ให้เฝ้าระวังที่จะก่อให้เกิดมะเร็งถ้ากลุ่มเป้าหมายมารับการตรวจคัดกรองเพิ่มขึ้นก็อาจจะพบผู้ที่มีความผิดปกติตั้งแต่เริ่มมากขึ้นด้วยและเฝ้าระวังตนเองมากขึ้นทำให้รักษาได้หายขาดปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายไม่มารับการตรวจคือ อายที่จะตรวจ ไม่อยากเดินทางมาตรวจที่สถานบริการ และไม่เล็งเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
ดั้งนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปานเจริญจึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องโรคมะเร็งเต้านมมะเร็งปากมดลูกและการตรวจคัดตรวจกรองในประชาชนทั่วไปเพื่อเป็นการสนับสนุนข้อบัญญัติธรรมนูญสุข ตำบลเดื่อศรีคันไชยและเพื่อส่งเสริมให้กลุ่มสตรีในตำบลเดื่อศรีคันไชยสามารถดูแลตนเอง และได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขพร้อมทั้งสามรถตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือนเพื่อค้นหาภาวะผิดปกติของเต้านมในระยะแรกได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 .เพื่อให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูกแก่กลุ่มเป้าหมาย 2. เพื่อตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก

1.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมมะเร็งปากมดลูก
2.กลุ่มเป้าหมายได้ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก

2.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 73
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 31/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องโรคมะเร็งเต้านมมะเร็งปากมดลูก และการตรวจคัดตรวจกรองในประชาชนทั่วไป

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องโรคมะเร็งเต้านมมะเร็งปากมดลูก และการตรวจคัดตรวจกรองในประชาชนทั่วไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นเตรียมการ 1.จัดทำโครงการและขอรับการสนับสนุนงบประมาณ 2.แต่งตั้งคณะทำงานและประชุมคณะทำงานเพื่อจัดหาแนวทางการดำเนินงาน 3.จัดทำเอกสาร แผ่นพับให้ความรู้ พร้อมทั้งแบบฟอร์มต่าง ๆ ขั้นดำเนินการ 1.จัดให้มีการฟื้นฟูความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแก่ อสม. แกนนำ ในโรงเรียน อสม. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านปานเจริญ เพื่อเป็นแกนนำเผยแพร่ความรู้ในชุมชุน 2. จัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก ในกลุ่มเป้าหมายจำนวน 73 คน โดยให้ความรู้เรื่อง ความหมายของโรคมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก อาการแสดง สาเหตุการเกิดโรค การตรวจวินิจฉัย การตรวจรักษาโรคมะเร็งเต้านม ภาวะแทรกซ้อน การป้องกันมะเร็ง จากวิทยากรผู้มีความรู้ความสามารถในเรื่องโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มีแบบทดสอบความรู้ก่อนหลังเข้าการอบรม เพื่อประเมินความรู้ของผู้เข้าร่วมการอบรม 3. จัดให้มีสาธิตการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และให้ผู้เข้าอบรมได้ฝึกประสบการณ์การตรวจเต้านมด้วยตนเองจาก โมเดลเต้านมจำลอง 4. จัดให้มีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA test หรือ pap smear ในกลุ่มเป้าหมายโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นผู้ตรวจให้กับกลุ่มเป้าหมาย 5. ถ้าตรวจพบความผิดปกติที่เต้านม มีก้อน หรือผลตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกผิดปกติ ส่งต่อโรงพยาบาลวานรนิวาส เพื่อตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมและรับการรักษา ขั้นสรุปผล 1. จากแบบประเมินความรู้ผู้เข้าอบรม 2. จำนวน/ร้อยละผู้ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมมะเร็งปากมดลูก
2.กลุ่มเป้าหมายได้ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14740.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,740.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.สตรีอายุ 30 – 60 ปี มีความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม ร้อยละ 70
2.สตรีอายุ 30 – 60 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 80 หรือเพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 10
3.สตรีอายุ 30 – 60 ปี ที่ตรวจพบความผิดปกติ ได้รับการส่งต่อเพื่อได้รับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม
และได้รับ


>