กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันโรคหิดในเด็กวัยเรียน โรงเรียนบ้านบูเกะบากง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ

โรงเรียนบ้านบูเกะบากง

โรงเรียนบ้านบูเกะบากง

โรงเรียนบ้านบูเกะบากง หมู่ที่ 2 ต.ตะปอเยาะอ.ยี่งอจ.นราธิวาส 96180

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กวัยเรียนขั้นพื้นฐาน คือเด็กที่มีอายุระหว่าง 3-15 ปี ซึ่งกำลังศึกษาทั้งในระดับก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษา โรงเรียนเป็นที่รวมของเด็กนักเรียน ซึ่งมาจากที่ต่างๆกัน มีฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม สภาพแวดล้อมและพฤติกรรมอนามัยที่แตกต่างกันไป โรคที่พบในเด็กนักเรียนและอุบัติเหตุต่างๆ อาจเกิดขึ้นได้เสมอ หากนักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียนทราบแนวทางปฏิบัติต่างๆ ในการส่งเสริมสุขภาพอนามัยและการป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นแล้ว ก็สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันให้ปลอดภัยได้ โรงเรียนบ้านบูเกะบากง จึงเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นของเด็กนักเรียนที่อยู่ในโรงเรียน ที่มีการระบาดของโรคหิด ติดต่อเกิดขึ้นในโรงเรียนจากสุขวิทยาส่วนบุคคลไม่ดี เกิดขึ้นในทุกชั้นเรียนในโรงเรียนบ้านบูเกะบากง และมีแนวโน้มการกระจายของโรคในเด็กนักเรียนเพิ่มขึ้น จากการสังเกตและสอบถามพบว่าสาเหตุของการเกิดโรคคือการมีสุขวิทยาส่วนบุคคลไม่ดีและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเกิดโรคเนื่องจากนักเรียนขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองและการดูแลสิ่งแวดล้อม ด้วยปัจจัยหลายๆด้านส่งผลทำให้เกิดโรคนี้ในโรงเรียน ดังนั้น โรงเรียนบ้านบูเกะบากงจึงได้จัดทำโครงการการป้องกันโรคหิดในเด็กวัยเรียน เพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญและมีความรู้เบื้องต้นในการดูแลสุขภาพตนเองและลดการเกิดโรคเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพและการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพของนักเรียนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจของโรคหิดในเด็กวัยเรียน

ร้อยละของ นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจของโรคหิดในเด็กวัยเรียน

30.00 1.00
2 เพื่อให้นักเรียนสามารถป้องกันและดูแลสุขภาพตัวเองจากโรคหิดในเบื้องต้นได้

ร้อยละของ นักเรียนสามารถป้องกันและดูแลสุขภาพตัวเองจากโรคหิดในเบื้องต้นได้

30.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 380
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 07/07/2021

กำหนดเสร็จ 12/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมแกนนำนักเรียนในการวางแผนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมแกนนำนักเรียนในการวางแผนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่าง 25 บาท30คน เป็นเงิน 750 บาท (นักเรียนแกนนำ 25 คน และครู 5 คน)
  2. Double กระดาษ A4 ขนาด80แกรม จำนวน 2 × 120 ราคา240บาท
  3. ปากกาไวด์บอร์ด จำนวน 1 กล่อง ราคา240บาท
  4. แฟ้มตราช้าง 2 นิ้วจำนวน9 x 80 แฟ้ม ราคม 720 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
7 กรกฎาคม 2564 ถึง 7 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำนักเรียนดูแล ให้คำปรึกษา ควบคุม และร่วมกิจกรรมการดำเนินโครงการกับนักเรียนในแต่ละชั้นเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1950.00

กิจกรรมที่ 2 จัดบอร์ดนิทรรศการ เรื่อง โรคหิด

ชื่อกิจกรรม
จัดบอร์ดนิทรรศการ เรื่อง โรคหิด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าบอร์ดนิทรรศการ ขนาด 1 x 2เมตร จำนวน3 x 500 = 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 กรกฎาคม 2564 ถึง 8 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมจากบอร์ดได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้โรคหิดในเด็กวัยเรียน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้โรคหิดในเด็กวัยเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าวิทยากรชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 6 ชม. เป็นเงิน 3,600บาท
  2. ค่าอาหารกลางวันและน้ำดื่ม จำนวน 50 คน x 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
  3. ค่าป้ายไวนิล 1 ผืนขนาด 4 ตารางเมตร จำนวน 1 ผืนๆละ 1,000 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
  4. ค่าเอกสารประกอบการอบรม/ค่าจัดทำแผ่นพับเป็นเงิน1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
10 กรกฎาคม 2564 ถึง 10 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

วิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับโรคหิดในเด็กวัยเรียน เพื่อให้นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา สามารถป้องกันและดูแลโรคหิดที่เกิดขึ้นในโรงเรียนได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8100.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมคัดกรองและค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยงในการเป็นโรคหิดของนักเรียนทุกชั้นเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคัดกรองและค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยงในการเป็นโรคหิดของนักเรียนทุกชั้นเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • แกนนำนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาตรวจสุขภาพ เพื่อคัดกรองและค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยงในการเป็นโรคหิดของนักเรียนทุกชั้นเรียน
  • แนะนำการทายาให้กับนักเรียนที่เป็นโรคหิด
  1. ค่ายาทาหิด 150 บาท x20กล่องเป็นเงิน 3,000บาท (1 กล่อง 6 ขวด)
ระยะเวลาดำเนินงาน
12 กรกฎาคม 2564 ถึง 12 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนได้รับการคัดกรองความเสี่ยงของโรคหิด และได้รับยาเพื่อการรักษา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจของโรคหิดในเด็กวัยเรียน
2. นักเรียนสามารถป้องกันและดูแลสุขภาพตัวเองจากโรคหิดในเบื้องต้นได้


>