กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกโพธิ์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังและป้องกันควบคุมไข้เลือดออกโดยชุมชนบ้านโคกโพธิ์ หมู่ 4 เทศบาลตำบลโคกโพธิ์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกโพธิ์

อสม.

หมู่ 4 ตำบลโคกโพธิ์ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาที่สำคัญของการสาธารณสุขระดับประเทศ เนื่องจากความรุนแรงของโรคแปรผันตรงต่ออัตราการตายและการป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วยเอง ชุมชน และสังคม ตามลำดับ แต่เดิมระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออก จะพบในกลุ่มเด็กอายุระหว่าง ๕ - ๙ ปี แต่ในปัจจุบันสามารถพบได้ทุกกลุ่มอายุทางกระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการรณรงค์เฝ้าระวังเฝ้าระวังและป้องกันควบคุมไข้เลือดออกโดยชุมชน/บ้านสานสัมพันธ์มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕50 และดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ประกอบกับตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้ อปท.ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2557 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557ข้อ7 กำหนดโครงการนี้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ7.๑.5 โดยเน้นเรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออกให้แก่ประชาชนทั่วไป อย่างไรก็ตามสถานการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกยังคงมีการระบาดทุกปี
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกอำเภอโคกโพธิ์ปี2561- ๒๕63 มีผู้ป่วยไข้เลือดออกรวม 22 ราย(อัตราป่วย 226.00 ต่อแสนประชากร) โดยเกิดขึ้นในเขตตำบลโคกโพธิ์ 22 ราย (อัตราป่วย 618.00 ต่อแสนประชากร) ซึ่งถ้าคิดเป็นอัตราป่วยแล้ว ถือว่ายังสูงกว่ากว่าเกณฑ์ของประเทศ(เกณฑ์ = ไม่เกิน ๒๔.๑๐ ต่อแสนประชากร) นับว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขอีกโรคหนึ่ง ได้เล็งเห็นถึงอันตราย และความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก ที่สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมีความตระหนัก และร่วมมือในการป้องกันโรคไข้เลือดออก
  • ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมีความตระหนัก และร่วมมือในการป้องกันโรคไข้เลือดออก
0.00
2 2. ประชาชนมีการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน
  • ประชาชนมีการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนไข้เลือดออกลดลง มีค่ามัธยฐานไม่เกิน 20 ต่อค่ามัธยฐานไม่เกิน5ปี
0.00
3 3.จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง หรือไม่มีผู้ป่วย
  • ไม่เกิดซ้ำหรือ มีเจนเนอร์ชั่น 2 เกิดขึ้น
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมอบรม อสม. และแกนนำ

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมอบรม อสม. และแกนนำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 ชุดๆละ 25 บาท เป็นเงิน 750 บาท
  2. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการฯ ขนาด 1.5 ม.X 3 ม. จำนวน 1 ผืนๆ500 บาท เป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1250.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
ประชุมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 ชุดๆละ 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 4,000 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80ชุด x 50 บาท เป็นเงิน  4,000  บาท
  3. กระเป๋าผ้า/เอกสารจำนวน  80 ชุด x ราคา 120 บาท เป็นเงิน  9,600  บาท
  4. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมง x ราคา 600 บาท เป็นเงิน 3,000บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20600.00

กิจกรรมที่ 3 รณรงค์และควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์และควบคุมโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 35 ชุดๆละ 25 บาทX 3 ครั้ง เป็นเงิน 2,625 บาท
  2. ค่าป้ายรณรงค์และประชาสัมพันธ์ฯพร้อมติดตั้ง  ขนาด 2.5 ม x 3 ม จำนวน 2 ชุดX3,500 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท
  3. ค่าแผ่นพับไข้เลือดออก/แบบสำรวจ จำนวน 1,000 แผ่นๆ  2 บาท เป็นเงิน  2,000  บาท
  4. ค่าทรายกำจัดลูกน้ำ จำนวน 2 ถังๆละ 4,500 บาท เป็นเงิน  9,000  บาท
  5. ทำธนาคารหางนกยูง จำนวน 2 ชุดๆละ 1,500 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23625.00

กิจกรรมที่ 4 ประกวดบ้านสะอาดปราศจาก ลูกน้ำยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
ประกวดบ้านสะอาดปราศจาก ลูกน้ำยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าประชุมติดตามผลการประกวดบ้านสะอาด จำนวน 6 คน X1 วัน X 3๐๐ บาท เป็นเงิน 1,8๐0 บาท
  2. ค่าจ้างทำเกียรติบัตรพร้อมกรอบ เป็นเงิน  4,600 บาท
  3. ค่าวัสดุสำนักงาน(ปากกา,สมุด.กระดาษ ฯลฯ) เป็นเงิน  2,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 53,875.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้และสามารถสำรวจและกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจากที่บ้านของตัวเองและสามารถขยายผลไปยังครัวเรือนที่รับผิดชอบได้อย่างถูกต้อง
2. ประชาชนมีความตระหนัก และร่วมมือในการป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง
3. ประชาชนมีการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน
4. จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง หรือไม่มีผู้ป่วย


>