กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนหมู่ที่ 8 บ้านนาพญา ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูลปีงบประมาณ 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนหมู่ที่ 8 บ้านนาพญา ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูลปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

องค์กร ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ 8บ้านนาพญา ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

1. นางฮาเบี๊ยะหมัดหยำ
2. นางยูนีราชอบงาม
3. นางสาวสุวารีอาหน่าย
4. นางสาวปาวีณาสานุรักษ์
5.นางวารี อุรามา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการศึกษาบริบทของชุมชนของตำบลละงู พบว่ามีการเพิ่มการกระจายของร้านค้า และตลาดสดในทุกหมู่บ้าน ตอบสนองความต้องการการอุปโภค บริโภคของประชาชน ส่งผลให้เกิดปัญหาขยะในชุมชน และที่สำคัญไปกว่านั้น ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นมีความสัมพันธ์กับสถานการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชน บ้านนาพญาหมู่ที่ 8 ตำบลละงู พบผู้ป่วยไข้เลือดออกเสียชีวิต จำนนวน 1 ราย เมื่อปี 2560 และพบผู้ป่วยครั้งล่าสุดในปี 2562 จำนวน 4 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 1,165.9 ต่อแสนประชากร (เกณฑ์ < 50ต่อแสนประชากร) สถานการณ์ป่วยเกินค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี (median = 5.5) เมื่อพิจารณาปัจจัยสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน พบว่ามีการกระจายของเศษขยะ แก้ว ถุงพลาสติก ถังพลาสติกที่มีน้ำขังและลูกน้ำยุงลายตามบ้านเรือน มัสยิด และเส้นทางสาธารณะในหมู่บ้านและถนนสัญจรสายหลัก เมื่อพิจารณาตามปัจจัยบุคคลพบว่าประชาชนมีความรู้สามารถเข้าถึงข่าวสาธารณะสุขและสุขภาพ แต่ยังขาดความตระหนักและมีพฤติกรรมสุขวิทยาไม่ถูกต้อง เมื่อพิจารณาตามปัจจัยด้านเชื้อโรคการเกิดโรค พบว่า การเคลื่อนย้ายของประชากรไปนังพื้นที่มีการป่วยส่งผลให้ติดต่อคนในครอบครัวอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการควบคุมโรคในชุมชนมีอุปสรรคในการดำเนินงาน ไม่มีเครื่องพ่นกำจัดยุงตัวแก่ วัสดุเคมีภัณฑ์กำจักยุงและตัวอ่นอไม่เพียงพอ ในสถานการณ์ระบาดที่ต้องควบคุมโรค
จากความสำคัญดังกล่าวชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 8 บ้านนาพญา จึงได้จัดโครงการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน หมูที่ 8 บ้านนาพญา ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2564 เพื่อส่งเสริมการรวมพลังภาคีเครือข่าย สร้างจิตสำนึก จิตอาสาในการกำจัด คัดแยกขยะอย่างถูกต้อง และจัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือและเคมีภัณฑ์กำจัดยุง ทำให้หมู่บ้านไม่เป็นแหลงรังโรคและลดอัตราป่วย และไม่เกิดการสูญเสียด้วยโรคไข้เลือดออกเหมือนในอดีต และเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้มีความสะอาด สร้างสรรค์สังคมสุขภาวะที่ดีขึ้นสอดคร้องกับวิสัยทัศน์การจัดระบบสุขภาพอำเภอละงู คนละงูรักสะอาด ปราศจากโรคต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อฟื้นฟูองค์ความรู้ในการจัดการขยะและป้องกันโรคไข้เลือดออก

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้หลังการอบรมไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๘๐

0.00
2 . เพื่อป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชนและลดจำนวนแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
  • จัดกิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชนปีละ ๔ ครั้ง และปริมาณขยะมวลรวมในชุมชนจากการจัดกิจกรรมมีแนวโน้มลดลง
  • ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายลดลงเมื่อเทียบกับก่อนดำเนินโครงการ
0.00
3 เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดการป่วยโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน

ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ในปี พ.ศ.2564 ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน/เครือข่าย กลุ่มเป้าหมาย : อสม. กรรมการหมู่บ้าน ตัวแทนประชาชน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน/เครือข่าย กลุ่มเป้าหมาย : อสม. กรรมการหมู่บ้าน ตัวแทนประชาชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน ๕๐ บ.x ๓๐ คน= ๑,๕๐๐บ.
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๒๕ บ.x ๒ มื้อ x ๓๐คน= ๑,๕๐๐บ.
  • ค่าป้ายรณรงค์และประชาสัมพันธ์โครงการ ตารางเมตรละ 150 บ. x1.2ม. x 2.4 ม. x 3 แผ่น= ๑,296 บ. รวมเงิน 4,296 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4296.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้/ฝึกทักษะ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้/ฝึกทักษะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน ๕๐ บ.x4๐คนx๒ครั้ง=4,๐๐๐บ.
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๒๕ บ.x ๒ มื้อ x 4๐คนx๒ ครั้ง= 4,๐๐๐บ.
  • ค่าวิทยากร 4๐๐ บ.x 5 ชม.x๒ครั้ง = 4,0๐๐บ.
  • ค่าเครื่องพ่นละอองฝอย ULV ขนาด 3 ลิตร ราคา 10,000 บาท
  • ทรายทีมีฟอส 1% ขนาดบรรจุซอง 1 ถัง (1,250 ซอง) ราคา 3,000 บ.
  • สารกำจัดแมลง ขวด 1 ลิตร ราคา 1,000 บ. x 3 ขวด = 3,000 บาท รวมเงิน28,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๒๕ บ.x ๑ มื้อ x 30คนx 4ครั้ง = ๓,๐๐๐บ. ถุงดำ ๑๒ แพ็คx55บ.= ๖๖๐ บ. รวมเป็นเงิน 3,660 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3660.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,956.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ป่วยไข้เลือดออก ปี 2564 ไม่เกินเกณฑ์ 50 ต่อแสนประชากร
2.มีเครื่องมืออุปกรณ์ใ้ควบคุมโรคได้ทันเวลา
3.ประชาชนมีวคามรู้ความเข้าใจและมีความพฤติกรรมสุขวิทยาที่ถูกต้องในระดับครัวเรือน เด็ก นักเรียนและเยาวชนเกิดจิตสำนึกนิสัยรักสะอาด และปริมาณขยะในชุมชนลดลง
4.ความสามัคคีในชุมชนเอื้อต่อการพัฒนาระบบสุขภาพด้านอื่นๆ


>