กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.ตันหยงลุโละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกรือเซะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.ตันหยงลุโละ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกรือเซะ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกรือเซะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันรัฐบาลได้ดำเนินงานเน้นให้ความสำคัญในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กปฐมวัย ภาวการณ์เจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กปฐมวัยจึงเป็นตัวชี้วัดและบ่งบอกภาวะสุขภาพและภาวะโภชนาการที่ดีตัวหนึ่ง การติดตามและเฝ้าระวังทางโภชนาการเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ใช้ในการดำเนินการ แก้ปัญหาภาวะโภชนาการ การสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของภาวะโภชนาการ รวมทั้งการเข้าใจแนวทางปฏิบัติทางโภชนาการ และตระหนักถึงความสำคัญของโภชนาการที่ดีของสุขภาพ และใช้ถือปฏิบัติในชีวิตประจำวันโดยมุ่งเน้นให้ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมมือร่วมใจกันช่วยเหลือเด็กในเรื่องอาหารและโภชนาการให้เด็กได้มีคุณภาพที่ดีขึ้น แต่เนื่องจากเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกรือเซะ ขณะนี้ได้ประสบกับปัญหาเด็กมีภาวะทุพโภชนาการจำนวนหลายคนทำให้มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก ดังนั้นทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกรือเซะจึงมีความจำเป็นที่จะพัฒนาเด็กกลุ่ม ดังกล่าวให้มีภาวะโภชนการที่ดีขึ้น โดยการจัดทำโครงการแก้ไขปัญหาให้กับเด็กที่มีปัญหาดังกล่าว เพื่อให้เด็กมีภาวะโภชนาการปกติ มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง สมบูรณ์ พร้อมที่จะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อแก้ปัญหาเด็กก่อนวัยเรียนให้มีภาวะโภชนาการปกติ 2. เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียน 3. เพื่อให้ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจในการเอาใจใส่ของเด็กก่อนวัยเรียน 4. เพื่อให้ชุมชนได้เกิดการเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการส่งเสริมโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 40
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2021

กำหนดเสร็จ 15/05/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกรือเซะ

ชื่อกิจกรรม
โครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกรือเซะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงลุโละ  จำนวน 24,000.- บาท  โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้

  1. จัดอาหารเช้าสำหรับนักเรียน จำนวน 40 คนx 10 บาท x 60 วัน เป็นเงิน  24,000.-  บาท           รวมเป็นเงิน     24,000.-   บาท  (เงินสองหมื่นสี่พันบาทถ้วน) หมายเหตุ  ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 15 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กก่อนวัยเรียนที่มีเสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ
2. เด็กก่อนวัยเรียนมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย
3.ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ ด้านโภชนาการในเด็ก 0 - 6 ปี


>