กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโรง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างความเข้าใจในการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโรง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลปุโรง

1.นายเจ๊ะอูมา ดือราแม
2.นายสายดีนา เจ๊ะเยาะเจ๊ะเตะ
3.นางสาวยูวารีเยาะห์ สาและ
4.นางสาวอามีเนาะ สาเล็ง
5.นางสาวอานีร่า ปุโรง

ตำบลปุโรง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

วัคซีนจะเป็นกุญแจที่ช่วยเปิดประตูของประเทศให้กลับมารับนักท่องเที่ยว ฟื้นฟูเศรษฐกิจ เปิดร้านค้าทำมาหากิน และกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้ และวัคซีนจะเป็นพลังที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศไทย ให้เดินหน้าต่อไปอย่างมั่นคงและยั่งยืนในระยะยาว ด้วยความสำคัญของวัคซีน ทำให้รัฐบาล ได้พยายามอย่างเต็มที่ ทุกหนทาง ที่จะจัดหาวัคซีนโควิด-19 มาให้ได้มากที่สุด เพื่อประชาชนชาวไทย และผู้อาศัยอยู่บนแผ่นดินนี้ และได้ประกาศให้การฉีดวัคซีนเป็นวาระแห่งชาติที่จะต้องดำเนินการอย่างเต็มที่ให้สำเร็จลุล่วง

จากที่อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลปุโรงได้สำรวจความประสงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 จำนวน 3 กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วยกลุ่ม ผู้สูงอายุ อายุ 60 ปี ขึ้นไป ผู้ที่มี 7 กลุ่มโรค และประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18-59 ปี ผลปรากฏดังต่อไปนี้

- กลุ่มผู้สูงอายุทั้งหมด จำนวน 373 คน ทำการสำรวจแล้ว 221 คน มีความประสงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 9.38

- กลุ่ม 7 กลุ่มโรค จำนวน 136 คน ทำการสำรวจแล้ว 39 คน มีความประสงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ4.41

- กลุ่มประชาชนทั่วไป อายุ 18-59 ปี จำนวน 2,442 คน ทำการสำรวจแล้ว 1,452 คน มีความประสงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 จำนวน 237 คน คิดเป็นร้อยละ 16.40

- สรุปรวมทั้ง 3 กลุ่ม เป้าหมายทั้งหมด 2,951 คน ทำการสำรวจแล้ว 1,762 คน มีความประสงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 จำนวน 280 คน คิดเป็นร้อยละ 9.49

จากข้อมูล จะเห็นได้ว่า จำนวน ผู้ประสงค์ฉีดวัคซีนมีปริมาณน้อย สาเหตุแผนการฉีดวัคซีนเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd Immunity) ป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสโควิด-19 กลับไม่ราบรื่นนัก เพราะเกิด “ข่าวลือข่าวลวง (Misinformation)” ในสังคมที่สร้างความตื่นตระหนก การเข้าใจแบบผิดๆ นำไปสู่ความไม่ไว้วางใจที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีน ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลปุโรง จึงเล็งเห็นว่า ต้องเร่งตอบคำถามจากสังคมให้ชัดเจน เช่น ทำไมเราได้รับฉีดวัคซีนช้า มีตัวเลือกอื่นหรือไม่ การบริหารจัดการโปร่งใสหรือเปล่า และ การเข้าถึงวัคซีนเป็นสิทธิ์ทั่วถึงเป็นธรรม รวมถึงการให้ข้อมูลที่สร้างความมั่นใจในความปลอดภัย เป็นต้น ซึ่งภาครัฐต้องสร้างความเชื่อมั่น ส่วนประชาชนควรแยกแยะว่าอะไรคือข้อเท็จจริง อะไรคือความคิดเห็นหรือความเชื่อ จะได้ไม่สับสนและมีความมั่นใจมาก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 กลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนตามเกณฑ์

กลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ ร้อยละ 20

1.00 1.00
2 กลุ่มเป้าหมายห่างไกลจากโรคโควิด-19

กลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ ร้อยละ 20

1.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 100
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 21/06/2021

กำหนดเสร็จ 30/06/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19

ชื่อกิจกรรม
สร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้เกี่ยวกับวัคซีนโควิด 19 ค่าใช้จ่าย - ค่าอาหารว่าง จำนวน 300 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท - ค่าวิทยากร จำนวน 18 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 10,800 บาท - ค่าหน้ากากอนามัย จำนวน 30 กล่องๆละ 50 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 มิถุนายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนผู้ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด ร้อยละ 20

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19800.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.โพสเตอร์ประชาสัมพันธ์ ขนาด a3 พิมพ์ 4 สี กระดาษ อารต์มัน ใบละ 30 บาท จำนวน 300 ใบ เป็นเงิน 9,000 บาท 2.สือประชาสัมพันธ์ โฟม บอร์ด ขนาด 40 x 60 เซนติเมตร จำนวน 10 ชิ้นๆละ 200 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท 3.ป้ายไวนิล จำนวน 1 ป้ายๆละ 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 มิถุนายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีผู้ฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 20

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนมีการจองวัคซีน และฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เพิ่มมากขึ้น


>