กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเกาะนางคำ รหัส กปท. L3333

อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2564 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรคไข้เลือดออก โรคมือเท้าปาก ของนักเรียนโรงเรียนวัดสุภาษิตาราม ปี 2564
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
โรงเรียนวัดสุภาษิตาราม
3.
หลักการและเหตุผล

องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็น “ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ” เนื่องจากเชื้อไวรัสดังกล่าวได้มีการแพร่ระบาด ไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกอย่างรวดเร็ว และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (COVID-19) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออันตรายแล้ว ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องชื่อ และอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2563เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563และกระทรวงศึกษาธิการ เห็นถึงความสำคัญ ความจำเป็น จึงไดแถลงความพร้อมของกระทรวงศึกษาธิการในการเปิดภาคเรียน ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ตามแนวทาง “โรงเรียนสุขภาพดี นักเรียนมีความสุข (Back to Healthy School)” โดยกล่าวว่า สถานศึกษาทุกสังกัดทั่วประเทศจะเปิดภาคเรียนในวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 กระทรวงศึกษาธิการได้มีแคมเปญช่วงเปิดเรียนปีนี้ “โรงเรียนสุขภาพดี นักเรียนมีความสุข (Back to Healthy School)” โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และพ่อแม่ผู้ปกครอง เพื่อให้การเรียนของนักเรียน ได้รับทั้งความรู้ และความปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หลักการสำคัญ คือ การเลื่อนเปิดภาคเรียนที่ 1/2563 เป็นวันที่ 1 กรกฎาคม – 14 พฤศจิกายน 2563 และภาคเรียนที่ 2/2563 เป็นวันที่ 1 ธันวาคม 2563 – 10 เมษายน 2564 ซึ่งมีเวลาเรียน 180 วัน แต่ก็จะมีการชดเชยให้ครบ 200 วัน ด้วยวิธีการต่างๆ ตามที่โรงเรียนมีอิสระกำหนดได้เอง เช่น เรียนวันเสาร์อาทิตย์ เรียนตอนเย็น เรียนออนไลน์ ฯลฯ นอกจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แล้ว ส่วนโรคไข้เลือดออก และโรคมือเท้าปาก ก็ยังเป็นปัญหาที่ยังเกิดขี้นอย่างเป็นประจำและจำเป็นที่จะต้องป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน มาตรการในการเปิดเรียน สิ่งสำคัญที่สุด คือ กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ออกคู่มือการปฏิบัติสำหรับสถานศึกษา ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งแบ่งเป็น 6 มิติด้วยกัน คือโดยมิติที่ 1 ว่าด้วยเรื่องความปลอดภัยจากการลดการแพร่เชื้อ มีจำนวน 20 ข้อ ในมิตินี้สถานศึกษาทุกแห่งต้องปฏิบัติให้ครบถ้วน 20 ข้อ ตามมาตรการที่กำหนดโดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งสถานศึกษาทุกแห่งได้รับคู่มือนี้ไปเตรียมรับการประเมินแล้ว ส่วนมิติที่เหลือ 24 ข้อ ก็จะเป็นมิติในการเรียนรู้ การครอบคลุมถึงเด็กด้อยโอกาส สวัสดิภาพและการคุ้มครอง นโยบาย และมิติการบริหารการเงิน เพื่อให้สถานศึกษาสามารถนำไปปรับใช้เป็นแนวทางการบริหารจัดการในการเปิดภาคเรียน โดยที่สถานศึกษาทุกแห่งจะต้องผ่านการประเมินนี้ก่อน จึงสามารถเปิดเรียนได้ ซึ่งขณะนี้สถานศึกษากว่าร้อยละ 90 มีความพร้อมผ่านการประเมินแล้วส่วนของโรคไข้เลือดออก และโรคมือเท้าปาก ก็ต้องมีมาตรการในการป้องกันโรคเช่นเดียวกัน สำหรับแนวปฏิบัติของสถานศึกษาระหว่างเปิดภาคเรียน จะต้องมีการคัดกรองสุขภาพ ซึ่งโรงเรียนต้องเตรียมความพร้อมตั้งแต่จุดรับ-ส่งนักเรียน เพื่อจะได้ดูว่านักเรียนมีอาการป่วยหรือไม่อีกทั้งต้องให้ครูและนักเรียนทุกคนต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา จัดสถานที่ล้างมือหรือแอลกอฮอล์เจล ลดการแออัด เว้นระยะห่างในห้องเรียน และทำความสะอาดสถานที่ ทั้งนี้ สถานศึกษาทุกสังกัด ทุกระดับ จะต้องมีการปรับปรุงห้องเรียน ด้วยการจัดโต๊ะที่นั่งเรียน ให้เว้นระยะห่างกันไม่ต่ำกว่า 1.5 เมตร และต้องปรับปรุงพื้นที่อื่น ๆ ในโรงเรียน อาทิ โรงอาหารที่ต้องเว้นระยะห่างบุคคลไม่ต่ำกว่า 2 เมตร และต้องมีการทำความสะอาดบ่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้องสุขาและจุดสัมผัสต่าง ๆ ที่สำคัญ ต้องงดการทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดความแออัดอีกด้วย ดังนั้น จากเหตุผลความสำคัญ ดังกล่าวข้างต้น โรงเรียนวัดสุภาษิตารามจึงจัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโควิค 19 โรคไข้เลือดออกและโรคมือเท้าปาก ของนักเรียนโรงเรียนวัดสุภาษิตาราม ขึ้น

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ในการป้องกันโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรคไข้เลือดออก และโรคมือเท้าปาก
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 90 ของคณะครูและนักเรียนในโรงเรียนวัดสุภาษิตารามได้รับข้อมูลความรู้แนวปฏิบัติในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโควิค 19 ไข้เลือดออก และโรคมือเท้าปาก
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 2. เพื่อจัดหา วัสดุ อุปกรณ์ ให้เพียงพอต่อการดำเนินงานเฝ้าระวัง และควบคุมโรค
    ตัวชี้วัด : โรงเรียนวัดสุภาษิตารม มีวัสดุ อุปกรณ์เพียงพอในการดำเนินงานเฝ้าระวังควบคุมโรคโรคติดเชื้อไวรัสโคโคโรนา 2019 โรคไข้เลือดออก และโรคมือเท้าปาก
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโควิค 19 ไข้เลือดออก และโรคมือเท้าปาก/เรื่องสุขบัญญัติ 10 ประการ
    รายละเอียด
    • กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโควิค 19 ไข้เลือดออก และโรคมือเท้าปาก
    • กิจกรรมกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องสุขบัญญัติ 10 ประการ 1.ค่าตอบแทนวิทยากร 2 คน จำนวน 2 ชม.ๆละ 600 บาทเป็นเงิน 1,200 บาท 2.ค่าอาหารว่าง จำนวน 105 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 5,250 บาท
      3.ไวนิล 1 ป้าย ขนาด 2 x 3 เมตร (ตร.ม.ละ 150 บาท) เป็นเงิน 900 บาท   รวม  7,350  บาท
    งบประมาณ 7,350.00 บาท
  • 2. กิจกรรมจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโควิค 19
    รายละเอียด
    1. ค่าเจลล้างมือแอลกอฮอล์ 70% ขนาด 5 ลิตร 450 บาท จำนวน 5 แกลลอน เป็นเงิน 2,250 บาท
    2. ค่าหน้ากากผ้า 20 บาท x 210 ชิ้น = 4,200 บาท
    3. สายคล้องคอ สำหรับใส่หน้ากากอนามัย จำนวน 105 ชิ้นๆละ 20 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท
    4. เครื่องวัดอุณหภูมิ 1 เครื่อง เป็นเงิน 2,500 บาท
    5. สบู่เหลวล้างมือ ขนาด 5 ลิตร 4 แกลลอนๆละ 500 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท   รวม  13,050 บาท
    งบประมาณ 13,050.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564

8.
สถานที่ดำเนินการ

ตำบลเกาะนางคำ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 20,400.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

๑) นักเรียนได้รับความรู้จากการอบมจากวิทยากร เรื่อง โรคติดเชื้อไวรัสโควิค 19 โรคไข้เลือดออก โรคมือเท้าปากและสุขบัญญัติ ๑๐ ประการ
๒) นักเรียนมีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพป้องกันโรคโควิค 19 โรคไข้เลือดออก และโรคมือเท้าปาก ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ๓) นักเรียนนำความรู้ไปเผยแพร่แก่ผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนได้

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเกาะนางคำ รหัส กปท. L3333

อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2564
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเกาะนางคำ
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเกาะนางคำ รหัส กปท. L3333

อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 20,400.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................