กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรคไข้เลือดออก โรคมือเท้าปาก ของนักเรียนโรงเรียนวัดสุภาษิตาราม ปี 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเกาะนางคำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรคไข้เลือดออก โรคมือเท้าปาก ของนักเรียนโรงเรียนวัดสุภาษิตาราม ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเกาะนางคำ

โรงเรียนวัดสุภาษิตาราม

ตำบลเกาะนางคำ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็น “ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ” เนื่องจากเชื้อไวรัสดังกล่าวได้มีการแพร่ระบาด ไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกอย่างรวดเร็ว และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (COVID-19) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออันตรายแล้ว ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องชื่อ และอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2563เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563และกระทรวงศึกษาธิการ เห็นถึงความสำคัญ ความจำเป็น จึงไดแถลงความพร้อมของกระทรวงศึกษาธิการในการเปิดภาคเรียน ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ตามแนวทาง “โรงเรียนสุขภาพดี นักเรียนมีความสุข (Back to Healthy School)” โดยกล่าวว่า สถานศึกษาทุกสังกัดทั่วประเทศจะเปิดภาคเรียนในวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 กระทรวงศึกษาธิการได้มีแคมเปญช่วงเปิดเรียนปีนี้ “โรงเรียนสุขภาพดี นักเรียนมีความสุข (Back to Healthy School)” โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และพ่อแม่ผู้ปกครอง เพื่อให้การเรียนของนักเรียน ได้รับทั้งความรู้ และความปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หลักการสำคัญ คือ การเลื่อนเปิดภาคเรียนที่ 1/2563 เป็นวันที่ 1 กรกฎาคม – 14 พฤศจิกายน 2563 และภาคเรียนที่ 2/2563 เป็นวันที่ 1 ธันวาคม 2563 – 10 เมษายน 2564 ซึ่งมีเวลาเรียน 180 วัน แต่ก็จะมีการชดเชยให้ครบ 200 วัน ด้วยวิธีการต่างๆ ตามที่โรงเรียนมีอิสระกำหนดได้เอง เช่น เรียนวันเสาร์อาทิตย์ เรียนตอนเย็น เรียนออนไลน์ ฯลฯ นอกจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แล้ว
ส่วนโรคไข้เลือดออก และโรคมือเท้าปาก ก็ยังเป็นปัญหาที่ยังเกิดขี้นอย่างเป็นประจำและจำเป็นที่จะต้องป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน มาตรการในการเปิดเรียน สิ่งสำคัญที่สุด คือ กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ออกคู่มือการปฏิบัติสำหรับสถานศึกษา ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งแบ่งเป็น 6 มิติด้วยกัน คือโดยมิติที่ 1 ว่าด้วยเรื่องความปลอดภัยจากการลดการแพร่เชื้อ มีจำนวน 20 ข้อ ในมิตินี้สถานศึกษาทุกแห่งต้องปฏิบัติให้ครบถ้วน 20 ข้อ ตามมาตรการที่กำหนดโดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งสถานศึกษาทุกแห่งได้รับคู่มือนี้ไปเตรียมรับการประเมินแล้ว
ส่วนมิติที่เหลือ 24 ข้อ ก็จะเป็นมิติในการเรียนรู้ การครอบคลุมถึงเด็กด้อยโอกาส สวัสดิภาพและการคุ้มครอง นโยบาย และมิติการบริหารการเงิน เพื่อให้สถานศึกษาสามารถนำไปปรับใช้เป็นแนวทางการบริหารจัดการในการเปิดภาคเรียน โดยที่สถานศึกษาทุกแห่งจะต้องผ่านการประเมินนี้ก่อน จึงสามารถเปิดเรียนได้ ซึ่งขณะนี้สถานศึกษากว่าร้อยละ 90 มีความพร้อมผ่านการประเมินแล้วส่วนของโรคไข้เลือดออก และโรคมือเท้าปาก ก็ต้องมีมาตรการในการป้องกันโรคเช่นเดียวกัน
สำหรับแนวปฏิบัติของสถานศึกษาระหว่างเปิดภาคเรียน จะต้องมีการคัดกรองสุขภาพ ซึ่งโรงเรียนต้องเตรียมความพร้อมตั้งแต่จุดรับ-ส่งนักเรียน เพื่อจะได้ดูว่านักเรียนมีอาการป่วยหรือไม่อีกทั้งต้องให้ครูและนักเรียนทุกคนต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา จัดสถานที่ล้างมือหรือแอลกอฮอล์เจล ลดการแออัด เว้นระยะห่างในห้องเรียน และทำความสะอาดสถานที่ ทั้งนี้ สถานศึกษาทุกสังกัด ทุกระดับ จะต้องมีการปรับปรุงห้องเรียน ด้วยการจัดโต๊ะที่นั่งเรียน ให้เว้นระยะห่างกันไม่ต่ำกว่า 1.5 เมตร และต้องปรับปรุงพื้นที่อื่น ๆ ในโรงเรียน อาทิ โรงอาหารที่ต้องเว้นระยะห่างบุคคลไม่ต่ำกว่า 2 เมตร และต้องมีการทำความสะอาดบ่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้องสุขาและจุดสัมผัสต่าง ๆ ที่สำคัญ ต้องงดการทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดความแออัดอีกด้วย
ดังนั้น จากเหตุผลความสำคัญ ดังกล่าวข้างต้น โรงเรียนวัดสุภาษิตารามจึงจัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโควิค 19 โรคไข้เลือดออกและโรคมือเท้าปาก ของนักเรียนโรงเรียนวัดสุภาษิตาราม ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ในการป้องกันโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรคไข้เลือดออก และโรคมือเท้าปาก

ร้อยละ 90 ของคณะครูและนักเรียนในโรงเรียนวัดสุภาษิตารามได้รับข้อมูลความรู้แนวปฏิบัติในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโควิค 19 ไข้เลือดออก และโรคมือเท้าปาก

0.00
2 เพื่อจัดหา วัสดุ อุปกรณ์ ให้เพียงพอต่อการดำเนินงานเฝ้าระวัง และควบคุมโรค

โรงเรียนวัดสุภาษิตารม มีวัสดุ อุปกรณ์เพียงพอในการดำเนินงานเฝ้าระวังควบคุมโรคโรคติดเชื้อไวรัสโคโคโรนา 2019 โรคไข้เลือดออก และโรคมือเท้าปาก

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 95
กลุ่มวัยทำงาน 10
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโควิค 19 ไข้เลือดออก และโรคมือเท้าปาก/เรื่องสุขบัญญัติ 10 ประการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโควิค 19 ไข้เลือดออก และโรคมือเท้าปาก/เรื่องสุขบัญญัติ 10 ประการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโควิค 19 ไข้เลือดออก และโรคมือเท้าปาก
  • กิจกรรมกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องสุขบัญญัติ 10 ประการ 1.ค่าตอบแทนวิทยากร 2 คน จำนวน 2 ชม.ๆละ 600 บาทเป็นเงิน 1,200 บาท 2.ค่าอาหารว่าง จำนวน 105 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 5,250 บาท
    3.ไวนิล 1 ป้าย ขนาด 2 x 3 เมตร (ตร.ม.ละ 150 บาท) เป็นเงิน 900 บาท   รวม  7,350  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7350.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโควิค 19

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโควิค 19
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าเจลล้างมือแอลกอฮอล์ 70% ขนาด 5 ลิตร 450 บาท จำนวน 5 แกลลอน เป็นเงิน 2,250 บาท
  2. ค่าหน้ากากผ้า 20 บาท x 210 ชิ้น = 4,200 บาท
  3. สายคล้องคอ สำหรับใส่หน้ากากอนามัย จำนวน 105 ชิ้นๆละ 20 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท
  4. เครื่องวัดอุณหภูมิ 1 เครื่อง เป็นเงิน 2,500 บาท
  5. สบู่เหลวล้างมือ ขนาด 5 ลิตร 4 แกลลอนๆละ 500 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท   รวม  13,050 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13050.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑) นักเรียนได้รับความรู้จากการอบมจากวิทยากร เรื่อง โรคติดเชื้อไวรัสโควิค 19 โรคไข้เลือดออก โรคมือเท้าปากและสุขบัญญัติ ๑๐ ประการ
๒) นักเรียนมีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพป้องกันโรคโควิค 19 โรคไข้เลือดออก และโรคมือเท้าปาก ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
๓) นักเรียนนำความรู้ไปเผยแพร่แก่ผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนได้


>