กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ชุมชนร่วมใจต้านภัยโควิด -19

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลควนโดน

1. นายก็หลัดบินหมาน
2. นายมอฮัมหมาด เทศอาเส็น
3. นางสาวนริศรา แกสมาน
4. นายสงบรักงาม
5. นายนที หลังเกตุ

เขตองค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ได้ถูกต้อง

 

100.00
2 ร้อยละของสถานที่ในชุมชน (ตลาด ศาสนสถาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน สนามกีฬา และสถานที่ทำงาน) ที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19

 

100.00

ด้วยสถานการณ์ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ในช่วงเดือนเมษายน จวบจนปัจจุบัน มีอัตราการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและในวงกว้างส่งผลให้ประชาชนติดเชื้อโควิด 19 จำนวนมาก ซึ่งสถานการณ์ ประเทศไทย มีผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 สะสมจำนวน 240,452 คน ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 4146 รุนแรง 1662 คนและเสียชีวิต 1870 คน (ข้อมูล ณวันที่ 26 มิถุนายน 2564)ซึ่งในระดับจังหวัดสตูล รายใหม่ 8 คน สะสม 96 คน รักษา 103 คน และระหว่างการรักษา 77 คน โดยอำเภอควนโดน เกิดการติดเชื้อและการระบาดของไวรัสโควิด-19 จากผู้ที่เดินทางมาจากคลัสเตอร์ที่มีการระบาด จากเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงของกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นนักเรียนมาจากโรงเรียนตะห์ฟีซุลกุรอานมัรกัสยะลา จำนวน 10 คน และผู้สัมผัสเสี่ยงสูงอีกจำนวนมาก ซึ่งจากสถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลถึงพื้นที่ตำบลควนโดน ซึ่งมีผู้สัมผัสเสี่ยงสูงเดินทางกลับมา จำนวน 2 คน ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบเชื้อโควิด-19จำนวน 1 คน และไม่พบเชื้อ 1 คน มีผู้สัมผัสเสี่ยงสูง จำนวน 3 คน ซึ่งได้ทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ทั้ง 3 คน ตรวจไม่พบเชื้อ โควิด-19 ซึ่งสถานการณ์ ที่ผ่านมาของพื้นที่ มีผู้ที่เดินทางผ่านเข้ามาผ่านการส่งระบบรายงาน ของ อสม. จำนวน 449 คน จากพื้นที่ควบคุมสูงสุด เข้มงวด จำนวน 32 คน พื้นที่ควบคุมสูงสุด 214 คน พื้นที่ควบคุม 202 คนอยู่ในสถานที่รัฐจัดให้( LQ) ที่ไปกักตัว ณ เขตพื้นที่อื่น คงเหลือ ณ ปัจจุบัน 2 คน (อยู่ LQ ราชภัฎละงู และ ศูนย์ฝึกอาชีพ)เนื่องจากในพื้นที่ยังไม่มีการดำเนินการอย่างจริงจัง และยังไม่มีการดำเนินการแบบเต็มรูปแบบของสถานที่กักตัว ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่สำคัญที่สกัดการระบาดของโรคได้อย่างทันท่วงที ประกอบกับ ณ ปัจจุบันพื้นที่รอบนอก รอยต่อกันระหว่างตำบลเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดข้อกังวลใจของทีมทำงาน หากพื้นที่ยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนในสถานที่กักตัว (LQ) และมาตราการการกักตัวที่รัดกุมในที่พักอาศัย (HQ) ได้มาตราฐาน อาจส่งผลถึงการระบาดของโรคที่ควบคุมได้ยากยิ่งขึ้น
จากการวิเคราะห์การทำงานที่ผ่านมา ทีมงาน อสม. ถือเป็นกำลังหลักสำคัญมากในการเฝ้าระวังโรคในชุมชน เป็นด่านหน้าที่ต้องเร็ว ทั้งด้านการสอดส่องคนในพื้นที่การคัดกรอง การส่งข้อมูล การติดตาม การรายงาน การเฝ้าสังเกตอาการ ซึ่งล้วน มีบทบาทสำคัญที่ทุกคนตั้งใจทำ แต่ที่ผ่านมา พบว่า การเฝ้าระวังผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงสูง หรือสัมผัสเสี่ยงสูง ยังกระจัดกระจาย และมีความเสี่ยงในการกักตัวเพื่อการสังเกตอาการ เกิดความเสี่ยงกับคนในครอบครัว และชุมชน ประกอบกับอุปกรณ์การทำงานและการคัดกรองโรคในชุมชนยังมีน้อย ต้องหมุนเวียนกันใช้และที่มีอยู่ที่เคยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ เกิดชำรุด และบางเครื่องก็อ่านค่าได้ไม่แน่นอน และมีไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน และเพื่อให้พื้นที่ปลอดภัยหรือสามารควบคุมโรคได้หากในอนาคตสถานการณ์ยิ่งรุนแรงเพิ่มขึ้นและให้เป็นไปตามมาตรการและแนวทางปฏิบัติเดียวกัน จึงลงความเห็น มีมติ ในการจัดหาอุปกรณ์ ที่เพียงพอและมีคุณภาพในการปฏิบัติงาน ขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อม รับสถานการณ์ การระบาดของของไวรัสโควิด-19 ที่มีแนวโน้มการระบาด และการวางแนวทางการปฏิบัติการป้องกันโรคในสถานที่สำคัญของชุมชนร่วมด้วย เช่น มัสยิด วัด ซึ่งถือเป็นศูนย์รวมของชุมชน และเกิดระบบการคัดกรองและเฝ้าระวังโรคได้อยา่งมีประสิทธิภาพเกิดระบบชุมชนห่วงใยกันและกัน ในยามวิกฤติ ที่จะต้องร่วมด้วยช่วยกัน นำชุมชนเข้าสู่ชีวิตวิถีใหม่ ปลอดภัยจากโควิด-19 ไปด้วยกัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อการคัดกรองโรคโควิด-19 อย่างมีประสิทธิภาพ

ร้อยละ 100 มีอุปกรณ์พร้อมใช้

100.00 2.00
2 เพื่อให้แกนนำ อสม. มีความรู้และทักษะการควบคุมโรคเพิ่มมากขึ้น

มี อสม.แกนนำด้านการควบคุมโรค 16 คน

100.00 16.00
3 เพื่อให้สถานที่ในชุมชนมีการเฝ้าระวังตามาตราการโควิด- 19

1.มีแนวทางการเฝ้าระวังโรคโควิด-19 2.สถานที่ในชุมชน (มัสยิด)มีการดำเนินการตามาตราการเฝ้าระวังโควิด-19

100.00 8.00

เพื่อจัดบริการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงใน LQ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 449
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 09/07/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดพัฒนาศักยภาพ อสม.แกนนำด้านการควบคุมโรคในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
จัดพัฒนาศักยภาพ อสม.แกนนำด้านการควบคุมโรคในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประธานคัดเลือก อสม.แกนนำด้านการควบคุมโรคในชุมชน จำนวน 16 คน 2.ประชุมเชิงปฏิบัติการในรูปแบบ NEW NORMAL จำนวน 4 วัน 2.1 เรื่องโรคสายพันธ์ใหม่ แนวทางการป้องกัน 2.2 ระบบการรายงานผ่านระบบออนไลน์ 2.3 การสอบสวนโรคเบื้องต้น 2.4 หลักการสื่อสารความเสี่ยง

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 กรกฎาคม 2564 ถึง 17 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มี อสม.แกนนำด้านการควบคุมโรค จำนวน 16 คน
  2. อสม.แกนนำ มีความรู้และพร้อมปฏิบัติงานด้านการสอบสวนโรค ร้อยละ 100
  3. มีการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ครัวเรือนในชุมชน ร้อยละ 85
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดให้สถานที่ในชุมชนมีการเฝ้าระวังตามมาตราการโควิด- 19

ชื่อกิจกรรม
จัดให้สถานที่ในชุมชนมีการเฝ้าระวังตามมาตราการโควิด- 19
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอุปกรณ์ในการเฝ้าระวังและการคัดกรองโรค ค่าใช้จ่าย -เครื่องวัดอุณหภูมิชนิดสแกนฝ่ามือพร้อมเจลแอลกอฮอร์ จำนวน 8 เครื่องๆละ 2500 บาท เป็นเงิน 20000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 กรกฎาคม 2564 ถึง 19 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ทุกมัสยิดมีแนวทางการเฝ้าระวังโรคโควิด-19 2.ทุกมัสยิดมีอุปกรณ์การคัดกรองโรคโควิด-19 พร้อมใช้ จำนวน 8 ชุด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28000.00

กิจกรรมที่ 3 จัดทำแนวทางการคัดกรองและการเฝ้าระวังโรคโควิด-19

ชื่อกิจกรรม
จัดทำแนวทางการคัดกรองและการเฝ้าระวังโรคโควิด-19
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดทำมาตราการแนวทางเฝ้าระวังโรคโดยชุมชน 2.จัดหาอุปกรณ์ เพื่อการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดและการกักตัวในรูปแบบ LQ และ HQ ค่าใช้จ่าย -ปรอทวัดไข้แบบชนิดดิจิตอลสแกนหน้าผาก จำนวน 8 เครื่องๆละ 2800 บาท เป็นเงิน 22,400 บาท -ปรอทวัดไข้แบบชิดเสียบใต้รักแร้ (สำหรับกลุ่มกักตัว HQ) จำนวน 20 อันๆละ 250 บาท เป็นเงิน 5,000บาท -เจลแอลกอฮอร์ล้างมือฆ่าเชื้อแบบไม่ต้องล้างออก ขนาด 1000 กรัม ต่อ แกลลอนๆละ 150 บาท จำนวน 80 แกลลอนเป็นเงิน12,000 บาท - หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ จำนวน 80กล่องๆละ 80 บาท เป็นเงิน 6400 บาท( อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ขอสนับสนุนจาก อบต.ควนโดน และ รพ.สต.ควนโดน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กรกฎาคม 2564 ถึง 20 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีอุปกรณ์พร้อมใช้งาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
45800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 73,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เกิดระบบมาตราฐานเป็นรูปแบบที่ชัดเจนในการมีสถานที่กักตัว(LQ)และระบบ HQ ที่มีคุณภาพ
2.ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงติดเชื้อโควิด 19 ได้รับการกักตัว 100 %
3.ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 ได้
4. สถานที่สำคัญในชุมชนมีมาตราการที่รัดกุม ได้มาตราฐาน ในการคัดกรองโรคโควิด-19
5. เกิดชุมชนห่วงใยและเอื้ออาทรร่วมกัน


>