กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมให้ความรู้และวิธีการป้องกันเกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา ในสถานศึกษา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

โรงเรียนบ้านปากบารา

1.นายอัดนัน อุสมา

2.นางมาลัยวัลย์ เหมรา

3.นางสาวสูไหวดาสันนก

4.นายเสรี อุโหยบ

5.นางซาฟีนะห์ เออากะ

โรงเรียนบ้านปากบารา หมู่2 ตำบลปากนํ้า อำเภอละงู จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เนื่องจากตอนนี้สถานการณ์ปัญหาไวรัสโคโรนาสายพันธ์ุใหม่ ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ มีความรุนแรง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการ ดำเนินการให้ ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับนักเรียนในโรงเรียน

 

90.00

หลักการและเหตุผล
เนื่องจากสภาพปัญหาในปัจจุบันได้เกิดไวรัสโคโรนาสายพันธ์ุใหม่ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า COVID - 19 ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ มีความรุนแรงเทียบเท่าโรคซาร์ส ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปอดอักเสบรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้ ซึ่งองค์การอนามัยโลก ยังไม่สามารถหาที่มาของเชื่ออย่างชัดเจนได้ และปัจจุบันเชื้อไวรัสนี้สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้จากการถูกไอ จาม หรือสัมผัสกับสารคัดหลั่งของคนที่ป่วย ดังนั้น เราควรดูแลตนเองเพื่อให้ร่างกายห่างไกลจากเชื่อโรคไวรัสโคโรนา หรือโรคไวรัส COVID -19
ทั้งนี้การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) จำเป็นต้องมีการ ดำเนินการให้ ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ได้แก่ หน่วยบริการ สถานบริการหน่วยงาน สาธารณสุข สถานประกอบการ สถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก หน่วยราชการ ห้างสรรพสิ้นค้า ชุมชน และบริการสาธารณต่างๆ ทางโรงเรียนบ้านปากบารา จึงต้องมีมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(COVID -19) ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลด ผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดระบาดของโรคในวงกว้างเเละช่วยเพิ่มความตระหนักให้กับนักเรียนในโรงเรียนเรื่องการสวมใส่หน้ากากอนามัยเเละการดูเเลป้องกันตัวเองจากเชื้อไวรัสโคโรนา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 นักเรียน จำนวน 50 คน รู้การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเอง เรื่องโรคติดเชื่อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

1.สังเกตสอบถาม

2.การบันทึกของครูอนามัย

3.การตรวจเยี่ยมและส่งต่อสาธารณสุข

100.00
2 นักเรียนโรงเรียนบ้านปากบาราให้ความสำคัญและตระหนักต่อการสวมใส่หน้ากากอนามัย

ร้อยละ100 ของนักเรียนบ้านปากบาราสวมหน้ากากอนามัย

0.00

เพื่อนักเรียนมีความรู้ เกี่ยวกับการป้องกันตนเองเรื่องโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนามีความตระหนักในเรื่องการล้างมือเเละสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มเด็กนักเรียน โรงเรียนบ้านปากบารา 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 23/08/2021

กำหนดเสร็จ 31/03/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ และรณรงค์เรื่องการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ และรณรงค์เรื่องการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นตอนการดำเนินงาน

  1. รณรงค์เรื่องการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19)ประชาสัมพันธ์เพื่อให้นักเรียนรับรู้ข้อมูล สถานการณ์ผ่านช่องทางต่างๆ

  2. จัดอบรม ให้ความรู้กับนักเรียนโรงเรียนบ้านปากบาราในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID19)

  3. สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ตามแนวทางในการสอบสวนโรคและควบคุมโรค ของ กรมควบคุมโรค

กระทรวงสาธารณสุข

4.การจัดการวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

5.ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งให้นักเรียนในโรงเรียนทราบเป็นระยะ

6.สรุปผลการดำเนินงาน และ รายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ

งบประมาณ

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ ปี 2564

จำนวน 47,716บาทรายละเอียดดังนี้

  1. ค่าป้ายโครงการฯ ขนาด 1.0 X 3.0 เมตร X150 บาท (จำนวน 1 ผืน ) 450 บาท

  2. จัดอบรบเชิงปฏิบัติการ20,200 บาท

-ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่ม (50 ชุด X80 บาท X 2 มื้อ)8,000 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม(50 ชุด X 25 บาท X 4 มื้อ) 5,000 บาท

  • ค่าวิทยากร 7,200บาท จัดนักเรียนเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 25 คน กลุ่มละ 1 วัน

วันที่ 1 ภาคเช้ากลุ่มที่ 1(1คน X 600 บาท X 3ชั่วโมง) 1,800 บาท

ภาคบ่ายกลุ่มที่ 1(แบ่งกลุ่มปฏิบัติ)(1คน X 600 บาท X 3ชั่วโมง)1,800 บาท

วันที่ 2 ภาคเช้ากลุ่มที่ 2(1คน X 600 บาท X 3ชั่วโมง)1,800 บาท

ภาคบ่ายกลุ่มที่ 2 (แบ่งกลุ่มปฏิบัติ)(1คน X 600 บาท X 3ชั่วโมง)1,800 บาท

  1. ค่าวัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ 27,066บาท

-กระดาษฟลิปชาร์ท (30 แผ่น x 6 บาท)180 บาท

-กระดาษ A4(12 รีม x 145 บาท) 1,740 บาท

-กระดาษชาร์ทสี (คละสี) (36 แผ่น x 25 บาท) 900 บาท

-ฟิวเจอร์บอร์ด60x80 ซม. (10 แผ่น x 35 บาท)350บาท

-กาว (6 ขวด x 65 บาท) 390 บาท

-ปากกาเคมี (คละสี) (5 โหล x 180 บาท)900 บาท

-สีเมจิก (12 กล่อง x 90 บาท) 1,080 บาท

-กรรไกร(6 ด้าม x 100 บาท)600บาท

-ที่หนีบกระดาษ (3 กล่อง x 120 บาท) 360 บาท

-เชือกฟาง(3 ม้วน x 35 บาท) 105 บาท

-หน้ากากอนามัย(50 กล่อง x 120 บาท) 6,000 บาท

-เจลแอลกอฮอร์ 75 % ขนาด 450 ml (50 x 120บาท) 6,000 บาท

-สีชอล์คน้ำมัน(50 กล่อง x 155บาท) 7,750บาท

-กระดาษ100 ปอนด์ A4( 3 เเพ็ค x 237 ) 711 บาท

กำหนดการวันที่ 1 และ 2 ( แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 25 คน )

โครงการอบรมให้ความรู้และวิธีการป้องกันเกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา ในสถานศึกษา

08.00 - 09.30 น. ดำเนินกระบวนการคัดกรองโดยใช้วิธีการคัดกรองเเบบ DMHTT ลงทะเบียนเเละรับเอกสารประกอบการอบรม

09.30 - 10.30 น. พิธีเปิด/ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดการอบรมให้ความรู้และวิธีป้องกันเกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนาในสถานศึกษา

10.30 -10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง

10.45 - 12.30 น. สถานการณ์โควิดในปัจจุบัน /มารู้จักเชื้อไวรัสไวรัสโคโรนา/การป้องกันตัวเองในสถานการณ์การเเพร่ระบาดของโควิดโดยบุคลากรของหน่วยงานสาธารณสุขตำบล

12.30 - 13.30น. รับประทานอาหารกลางวัน/ละหมาด

13.00 - 14.30 น. กิจกรรม เราต้องรอด

14.30 - 14.45 น.พักรับประทานอาหารว่าง

14.45 - 16.30 น.กิจกรรมรณรงค์ป้องกันโคโรนา

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 สิงหาคม 2564 ถึง 31 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนโรงเรียนบ้านปากบารามีความรู้ในการดูแลตนเองจากโรคติดต่อได้  สามารถดูเเลเเละป้องกันตนเองเเละคนในครอบครัวได้ รวมถึงให้ความตระหนักถึงการสวมใส่หน้ากากอนามัยเเละการล้างมือ 100 เปอร์เซ็น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
47716.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 47,716.00 บาท

หมายเหตุ :
**** หมายเหตุ ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนโรงเรียนบ้านปากบารามีความรู้ในการดูแลตนเองจากโรคติดต่อได้

2.นักเรียนโรงเรียนบ้านปากบาราในพื้นที่อบต.ปากนํ้าได้ปกกันการติดเชื้อจากโรคติดต่อ

3.การดำเนินงานตอบโต้ภาวฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ


>