กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกสัก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับพฤติกรรม เปลี่ยนชีวิตพิชิตความดัน ปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกสัก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลอน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลอน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อโดยเฉพาะภาวะความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและเร่งด่วนของประเทศ ผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงหากไม่ได้รับการดูแลหรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมอาจพัฒนาเป็นโรคเบาหวานและโรคแทรกซ้อนอื่นได้ในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาทำให้เป็นภาระต่อสังคมเศรษฐกิจและครอบครัวที่ต้องทำหน้าที่ดูแล ส่วนปัจจัยด้านอื่นๆที่อาจมีความเกี่ยวเนื่องกันได้ก็คือพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมซึ่งพบว่าคนที่มีบิดา มารดามีภาวะความดันโลหิตสูงก็มักจะมีโอกาสเสี่ยงมาก ส่วนในเรื่องปัจจัยแวดล้อมเช่น มีน้ำหนักตัวมาก สูบบุหรี่จัดดื่มสุราจัด ชอบรับประทานอาหาร มัน เค็ม มีระดับไขมันในเลือดสูง และมีความเครียดก็มีผลทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง คนที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่มักไม่ค่อยรู้ตัว ซึ่งโอกาสจะเกิดโรคแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงก็มีมากตามไปด้วย โดยทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อหัวใจ ไต และสมองซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้ ดังนั้นจึงเปรียบภาวะความดันโลหิตสูงว่าเป็น “ภัยเงียบ”
จากข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลอน พบว่ามีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันได้ดี ในปี พ.ศ.2562 และ 2563 คิดเป็นร้อยละ 66.32 และ 68.18 ตามลำดับ การคัดกรองโรคความดันลิตสูงประจำปี 2564 พบกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงจำนวน 101 คน กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงจำนวน 337 คน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำในการดูแลกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง

แกนนำในการดูแลกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการพัฒนาศักยภาพตามเกณฑ์

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถดูแลตนเองไม่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง

กลุ่มเสี่ยงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติไม่เกิน ๑๒๐/๘๐ mmHg

0.00
3 เพื่อให้กลุ่มป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้

กลุ่มป่วยสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60

0.00
4 เพื่อส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโรคเรื้อรัง

ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโรคเรื้อรัง

0.00

เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำในการดูแลกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง 120
กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง 60
อาสาสมัครสาธารณสุข 82

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 06/08/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำเครือข่ายสุขภาพในชุมชน เพื่อดูแลกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
อบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำเครือข่ายสุขภาพในชุมชน เพื่อดูแลกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • อบรมให้ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องกระบวนการดูแลกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยความดัน
ระยะเวลาดำเนินงาน
6 สิงหาคม 2564 ถึง 6 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำในการดูแลกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการพัฒนาศักยภาพตามเกณฑ์ ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13200.00

กิจกรรมที่ 2 พบกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย

ชื่อกิจกรรม
พบกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

พบกลุ่มแลกเปลี่ยนรู้การปรับพฤติกรรม การบริโภคอาหาร  การออกกำลังกาย อบรมให้ความรู้เรื่อง - พฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคเรื้อรัง ๓อ ๒ส - การออกกำลังกาย ลดพุงลดโรค - บรรยายหลักการบริโภคอาหาร ลดหวาน มัน เค็ม เน้นผัก - บรรยายการควบคุมน้ำหนัก การคำนวณ BMI

แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง
    - ประเมินภาวะสุขภาพ ประเมินความเสี่ยงรายบุคคล/ร่วมหาแนวทางกาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายของกลุ่มเสี่ยง     - แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของกลุ่มเสี่ยง

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 สิงหาคม 2564 ถึง 9 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • กลุ่มเสี่ยงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติไม่เกิน 120/80 mmHg
  • กลุ่มป่วยสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11600.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้กลุ่มป่วย

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้กลุ่มป่วย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เรื่อง - โรคเรื้อรังที่เกิดจากภาวะอ้วน - CVD RISK - ภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง - สุขภาพจิต การจัดการกับอารมณ์และความเครียด - ฝึกปฏิบัติการผ่อนคลายโดยใช้สมาธิ การฝึกกำหนดลมหายใจเข้า-ออก ตามหลักศาสนา

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 สิงหาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มป่วยสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 36,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แกนนำในการดูแลกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการพัฒนาศักยภาพตามเกณฑ์
2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถดูแลตนเองไม่ป่วยด้วยโรคความดัน โลหิตสูง
3. กลุ่มป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้
4. ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโรคเรื้อรัง


>