กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับพฤติกรรม เปลี่ยนชีวิตพิชิตความดัน ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L3330-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลอน
วันที่อนุมัติ 12 กรกฎาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 สิงหาคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 36,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอุมา รินชะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อโดยเฉพาะภาวะความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและเร่งด่วนของประเทศ ผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงหากไม่ได้รับการดูแลหรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมอาจพัฒนาเป็นโรคเบาหวานและโรคแทรกซ้อนอื่นได้ในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาทำให้เป็นภาระต่อสังคมเศรษฐกิจและครอบครัวที่ต้องทำหน้าที่ดูแล ส่วนปัจจัยด้านอื่นๆที่อาจมีความเกี่ยวเนื่องกันได้ก็คือพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมซึ่งพบว่าคนที่มีบิดา มารดามีภาวะความดันโลหิตสูงก็มักจะมีโอกาสเสี่ยงมาก ส่วนในเรื่องปัจจัยแวดล้อมเช่น มีน้ำหนักตัวมาก สูบบุหรี่จัดดื่มสุราจัด ชอบรับประทานอาหาร มัน เค็ม มีระดับไขมันในเลือดสูง และมีความเครียดก็มีผลทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง คนที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่มักไม่ค่อยรู้ตัว ซึ่งโอกาสจะเกิดโรคแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงก็มีมากตามไปด้วย โดยทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อหัวใจ ไต และสมองซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้ ดังนั้นจึงเปรียบภาวะความดันโลหิตสูงว่าเป็น “ภัยเงียบ” จากข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลอน พบว่ามีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันได้ดี ในปี พ.ศ.2562 และ 2563 คิดเป็นร้อยละ 66.32 และ 68.18 ตามลำดับ การคัดกรองโรคความดันลิตสูงประจำปี 2564 พบกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงจำนวน 101 คน กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงจำนวน 337 คน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำในการดูแลกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง

แกนนำในการดูแลกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการพัฒนาศักยภาพตามเกณฑ์

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถดูแลตนเองไม่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง

กลุ่มเสี่ยงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติไม่เกิน ๑๒๐/๘๐ mmHg

0.00
3 เพื่อให้กลุ่มป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้

กลุ่มป่วยสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60

0.00
4 เพื่อส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโรคเรื้อรัง

ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโรคเรื้อรัง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 36,400.00 0 0.00
6 ส.ค. 64 อบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำเครือข่ายสุขภาพในชุมชน เพื่อดูแลกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง 0 13,200.00 -
9 ส.ค. 64 พบกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย 0 11,600.00 -
31 ส.ค. 64 อบรมให้ความรู้กลุ่มป่วย 0 11,600.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แกนนำในการดูแลกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการพัฒนาศักยภาพตามเกณฑ์
  2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถดูแลตนเองไม่ป่วยด้วยโรคความดัน โลหิตสูง
  3. กลุ่มป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้
  4. ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโรคเรื้อรัง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ก.ค. 2564 18:02 น.