กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวังสถานการณ์ ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญ ปีงบประมาณ 2564 (ระลอกใหม่)-2

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อุใดเจริญ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังสถานการณ์ ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญ ปีงบประมาณ 2564 (ระลอกใหม่)-2

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อุใดเจริญ

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญ

- สถานที่กักกันตัวเพื่อสังเกตอาการป่วย(LQ) ไร่สาธิต- ชุมชนในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 การสนับสนุนมาตรการในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัโคโรนา 2019 (ในสถานที่กักกันตัว LQ)

 

100.00

หลักการและเหตุผล
สืบเนื่องจากโครงการเฝ้าระวังสถานการณ์ ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญ ปีงบประมาณ 2564 (ระลอกใหม่) - 1 ที่จัดให้มีการสนับสนุนมาตรการการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ ในสถานที่กลางในตำบลเพื่อกักกันตัวกลุ่มเสี่ยงและผู้สัมผัสใกล้ชิด ณ จุดกักกันตัว สวนเฉลิมพระเกียรติฯ บ้านไร่สาธิต หมู่ที่ ๙ ตำบลอุใดเจริญ อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล และอ้างอิงข้อมูลเบื้องต้นสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จากศูนย์ข้อมูลโควิด - 19ของรัฐบาลและศูนย์ EOC กระทรวงสาธารณสุขศูนย์ข้อมูลโควิด -19 จังหวัดสตูล และข้อมูลการเข้ารับการกักกันตัวเพื่อสังเกตอาการป่วย(LQ) ขององค์การบริหารส่วนำบลอุใดเจริญ ดังนี้ ข้อมูลเบื้องต้น ศูนย์ข้อมูลโควิด -19ของรัฐบาลและศูนย์ EOC กระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2564 พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ รวม 9,186 ราย จำแนกเป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่ 9,107 ราย ติดเชื้อภายในเรือนจำ 79 ราย ผู้ป่วยสะสม 343352 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน 2564) หายป่วยกลับบ้าน 5,543 ราย หายป่วยสะสม 238,701 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน 2564) และเสียชีวิตเพิ่ม 98 ราย ผู้ป่วยยืนยัยสะสม 363,029 ราย และมีผู้เสียชีวิตสะสม รวม 3,032 ราย เปรียบเทียบกับข้อมูล ณ วันที่ 17 กรกฎาคม 2564 พบผู้ป่วยรายใหม่ 10,082 ราย จำแนกเป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่ 9,955 ราย ติดเชื้อภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 128 ราย ผู้ป่วยยืนยัยสะสม 363,126 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน 2564) หายป่วยกลับบ้าน 6,327 ราย หายป่วยสะสม 250,758 ราย(ตั้งแต่ 1 เมษายน 24564) เสียชีวิต 141 ราย มีผู้เสียชีวิต สะสมรวม 3,146 รายจากการเปรียบเทียบ สถานการณโควิด - 19ประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สถานการณ์โควิด - 19 จังหวัดสตูล ข้อมูลเบื้องต้นจาก ศบค. จังหวัดสตูล วันที่ 13 กรกฎาคม 2564 พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 20 ราย จำแนกเป็นผุ้ติดเชื้อจังหวัดสตูล 5 ราย ติดเชื้อในผู้ต้องขัง 15 รายรวมผุู้ป่วยยืนยัย 231 ราย เปรียบเทียบ กับวันที่ 17 กรกฎาคม 2564 พบผู้ติดเชื้อจังหวัดสตูล 46 ราย รวมผู้ป่วยยืนยัย 305 ราย จากการเปรียบเทียบข้อมูลสถานการณ์โควิด-19 จังหวัดสตูลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สำหรับข้อมูลในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญ ยังไม่พบผู้ติดเชื้อ แต่มีผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงสูง และผู้สัมผัสเสี่ยงสูง เข้ากักกันตัวเพื่อสังเกตอาการป่วยก่อนกลับบ้าน (LQ) จำนวน 32 คน (ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน- 17 กรกฎาคม 2564) ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงสูงหรือสัมผัสเสี่ยงสูง เข้ารับการกักกันตัวที่มีแนวโน้มมากขึ้น จากข้อมูลสถานการณ์ข้างต้นกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญคาดการณืถึงงบประมาณจากโครงการเฝ้าระวังสถานการณ์ ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญ ปีงบประมาณ 2564 (ระลอกใหม่) - 1 เพื่อใช้สนับสนุนในการเข้ารับการกักกันตัวเพื่อสังเกตอาการป่วยก่อนกลับบ้าน (LQ) ไม่เพียงพอในการรองรับบุคคลดังกล่าว
ในการนี้กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญ จึงขอเสนอโครงการเฝ้าระวังสถานการณ์ ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญ ปีงบประมาณ 2564 (ระลอกใหม่) - 2 เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จากกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญ เพิ่มเติมเพื่อเสริมสร้างมาตรการการคัดกรอง เฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

เพื่อการสนับสนุนมาตรการในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัโคโรนา 2019 (ในสถานที่กักกันตัว LQ)

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 45
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 19/07/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สร้างความรู้ ความเข้าใจ รณรงค์ประชาสัมพันธืในสถานการณ์โควิด-19

ชื่อกิจกรรม
สร้างความรู้ ความเข้าใจ รณรงค์ประชาสัมพันธืในสถานการณ์โควิด-19
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนรับรู้และมีความเข้าใจในสุานการณ์โควิด-19 มีความตระหนักในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 สนับสนุนมาตรการการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ ในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญ (ในสถานที่กักกันตัว (LQ))

ชื่อกิจกรรม
สนับสนุนมาตรการการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ ในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญ (ในสถานที่กักกันตัว (LQ))
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สนับสนุนมาตรการการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในสถานที่กักกันตัว LQ
- ค่าอาหารสำหรับผู้กักกันตัว จำนวน 45 คนๆละ 50 บาท จำนวน 3 มื้อ/วัน x 14 วัน เป็นเงิน 94,500 บาท - ค่าซักผ้า จำนวน 45 ชุดๆละ 100 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท - ค่าอื่นๆ อาทิ ขวดสเปย์ นำ้ยาฆ่าเชื้อ ฯลฯ เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สนับสนุนมาตรการการเข้ารับการกักกันตัว ( LQ) อย่างมีประสิทธิภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
100000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 100,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

พื้นที่กักกันตัวเพื่อสังเกตอาการป่วยก่อนกลับบ้าน (LQ) ณ สวนเฉลิมพระเกียรติฯ บ้านไร่สาธิต มีความพร้อมในการรองรับมาตรการการเฝ้าระว้ง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019


>