กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวัง ควบคุม และสังเกตอาการกลุ่มเสี่ยง เพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลทุ่งลาน ปีงบประมาณ 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งลาน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวัง ควบคุม และสังเกตอาการกลุ่มเสี่ยง เพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลทุ่งลาน ปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งลาน

เทศบาลตำบลทุ่งลาน

นายประสิทธิ์แก้วมรกต นายกเทศมนตรีตำบลทุ่งลาน
นายชนะแก้วสุวรรณ์ รองนายกเทศมนตรีตำบลทุ่งลาน
นางปาริมา จันทร์แก้ว หัวหน้าสำนักปลัดเทศบาล
นางเพ็ชร์นภา บุญรัตน์ หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ
นางสาวจุฑารัตน์ คงเมฆ เจ้าพนักงานสาธารณสุข

ตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (coronavirus disease 2019 (COVID-19))เป็นโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่เกิดจากไวรัสโคโรนา โดยมีการระบาดครั้งแรกที่เมืองอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อธันวาคม ปี 2019 มีการระบาดไปทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบันมีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ และขยายไปในวงกว้างทั่วทุกภูมิภาคอย่างรวดเร็วอาการทั่วไป ได้แก่ อาการระบบทางเดินหายใจ มีไข้ ไอ หายใจถี่ หายใจลำบาก ในกรณีที่อาการรุนแรงมาก อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม ปอดอักเสบ ไตวาย หรืออาจเสียชีวิตได้
สำหรับในประเทศไทย สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) พบยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม 2564 รวม 11,305 ราย จำแนกเป็น ติดเชื้อใหม่ 10,710 ราย ติดเชื้อภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 595 ราย ผู้ป่วยสะสม 397,612 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) หายป่วยกลับบ้าน 6,557 ราย หายป่วยสะสม 268,782 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) เสียชีวิต 80 ราย (ข้อมูลจาก : ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19) โดยจังหวัดสงขลา เป็นในพื้นที่ที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างรวดเร็ว ข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา วันจันทร์ ที่ 19 กรกฎาคม 2564 รายงานว่าจังหวัดสงขลามีผู้ป่วยยืนยันสะสมจำนวน 9,330 ราย เสียชีวิตสะสม 41 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) (ข้อมูลจาก : สาธารณสุขจังหวัดสงขลา) และจากสาธารณสุขอำเภอคลองหอยโข่ง วันจันทร์ ที่ 19 กรกฎาคม 2564 มีผู้ป่วยยืนยันสะสมจำนวน 42 ราย โดยในพื้นที่ตำบลทุ่งลานพบผู้ป่วยยืนยันสะสมจำนวน 23 ราย และมีกลุ่มเสี่ยงสะสมทั้งหมด 120 ราย ซึ่งมาตรการลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างหนึ่ง คือ การแยกกัก กักกัน ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ณHomeQuarantine หรือ Local Quarantine โดยการแยกกัก กักกัน หรือคุมไว้สังเกตจนกว่าพ้นระยะติดต่อโรค และปัจจุบันพบว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาเกิดขึ้นภายในครอบครัวเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้สัมผัสเสี่ยงสูงอาจมีข้อจำกัดเกี่ยวกับสถานที่กักตัว
เทศบาลตำบลทุ่งลานจึงอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 50 ภายใต้บังคับของกฎหมาย เทศบาลตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล (4) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ ประกอบพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 หมวด 2 การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะมาตรา 16 ให้เทศบาลฯ มีอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้ (19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล(29) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19)ที่ 3 / 2564 หนังสือจังหวัดสงขลา ด่วนที่สุด ที่ สข 0018.1 / ว. 2621 ลงวันที่ 15 เมษายน 2564เรื่อง มาตรการเร่งด่วนในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) คำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสงขลา ที่ 1 – 55 / 2564 เพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) หนังสือจังหวัดสงขลา ด่วนที่สุด ที่ สข 0023.3/ ว. 409 ลงวันที่3 พฤษภาคม 2564 เรื่อง การจัดตั้งศูนย์กักกันหรือสังเกตอาการกลุ่มผู้ป่วยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Quaratine) และหนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ด่วนที่สุด ที่ มท 0808.2/ ว. 1562 ลงวันที่21 กรกฎาคม 2564 เรื่อง ซักซ้อมแนวทางการใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) ในพื้นที่อย่างเร่งด่วน แก่ประชาชน ผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยยืนยันที่มีความเสี่ยงสูง ผู้ที่ต้องเฝ้าระวัง สังเกตอาการ หรือผู้มีปัญหาในการทำ Home Quarantine เทศบาลตำบลทุ่งลาน จึงจัดทำโครงการเฝ้าระวัง ควบคุม และสังเกตอาการกลุ่มเสี่ยง เพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลทุ่งลาน ปีงบประมาณ 2564 นี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลทุ่งลาน อย่างเร่งด่วน

สามารถป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลทุ่งลานได้ทันท่วงที

0.00
2 เพื่อเตรียมความพร้อมการแยกกัก กักกัน ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ณ Home Quarantine หรือ Local Quarantine ในพื้นที่ตำบลทุ่งลาน

สถานที่กักกันโรค Local  Quarantine หรือ Home Quarantine ในพื้นที่ตำบลทุ่งลานมีความพร้อม สามารถรองรับผู้สัมผัสเสี่ยงสูงได้

0.00
3 เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของตำบลทุ่งลาน ในช่วงระยะเวลาการกักตัว 14 วัน

ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของตำบลทุ่งลานได้รับความช่วยเหลือในช่วงระยะเวลาการกักตัว 14 วัน

0.00
4 เพื่อให้อัตราของผู้ป่วยยืนยัน และผู้สัมผัสเสี่ยงสูงในพื้นที่ตำบลทุ่งลานลดลงเป็นศูนย์

อัตราของผู้ป่วยยืนยัน และผู้สัมผัสเสี่ยงสูงในพื้นที่ตำบลทุ่งลานลดลงและเป็นศูนย์

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 7,395
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 29/07/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมจัดตั้งศูนย์กักกันหรือสังเกตอาการกลุ่มผู้ป่วย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดตั้งศูนย์กักกันหรือสังเกตอาการกลุ่มผู้ป่วย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม 1. ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนการดำเนินงาน 2. รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือสั่งการและแนวทางการเบิกจ่าย ฯลฯ 3. เขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติโครงการฯ จากผู้บริหาร 4. แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะทำงานและประสารหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5. จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สำหรับกลุ่มสังเกตอาการที่บ้าน (Home Quarantine)
6. ดำเนินกิจกรรมจัดตั้งศูนย์กักกันหรือสังเกตอาการกลุ่มผู้ป่วย (Local Quarantine) ตำบลทุ่งลาน 7. จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์สำหรับผู้ถูกกักกันและเจ้าที่ผู้ปฏิบัติงาน 8. ตรวจสอบผู้สัมผัสเสี่ยงสูงและคัดเลือกเข้าสถานที่กักกันโรค (Local Quarantine) 9. จัดเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ณ สถานที่กักกันโรค (Local Quarantine) เพื่อติดตามอาการและรักษาความปลอดภัย 10. ติดตามการดำเนินงาน 11. สรุปและรายงานผลการดำเนินงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ

งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับที่กักกันโรค จำนวน 100,000.00 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต - ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลทุ่งลานได้ทันท่วงที ผลลัพธ์ - อัตราของผู้ป่วยยืนยัน และผู้สัมผัสเสี่ยงสูงในพื้นที่ตำบลทุ่งลานลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
100000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 100,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลทุ่งลานได้ทันท่วงที
2. สถานที่กักกันโรค LocalQuarantine หรือ Home Quarantine ในพื้นที่ตำบลทุ่งลานมีความพร้อม สามารถรองรับผู้สัมผัสเสี่ยงสูงได้
3. ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของตำบลทุ่งลานได้รับความช่วยเหลือในช่วงระยะเวลาการกักตัว 14 วัน
4. อัตราของผู้ป่วยยืนยัน และผู้สัมผัสเสี่ยงสูงในพื้นที่ตำบลทุ่งลานลดลง


>