โครงการเฝ้าระวัง ควบคุม และสังเกตอาการกลุ่มเสี่ยง เพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลทุ่งลาน ปีงบประมาณ 2564
ชื่อโครงการ | โครงการเฝ้าระวัง ควบคุม และสังเกตอาการกลุ่มเสี่ยง เพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลทุ่งลาน ปีงบประมาณ 2564 |
รหัสโครงการ | 64-L5169-5-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | เทศบาลตำบลทุ่งลาน |
วันที่อนุมัติ | 29 กรกฎาคม 2564 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 29 กรกฎาคม 2564 - 30 กันยายน 2564 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2564 |
งบประมาณ | 100,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายประสิทธิ์ แก้วมรกต นายกเทศมนตรีตำบลทุ่งลาน |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ส.ค. 2564 | 30 ก.ย. 2564 | 100,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 100,000.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ | 177 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ : |
||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 7395 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : ระบุ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (coronavirus disease 2019 (COVID-19))เป็นโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่เกิดจากไวรัสโคโรนา โดยมีการระบาดครั้งแรกที่เมืองอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อธันวาคม ปี 2019 มีการระบาดไปทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบันมีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ และขยายไปในวงกว้างทั่วทุกภูมิภาคอย่างรวดเร็วอาการทั่วไป ได้แก่ อาการระบบทางเดินหายใจ มีไข้ ไอ หายใจถี่ หายใจลำบาก ในกรณีที่อาการรุนแรงมาก อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม ปอดอักเสบ ไตวาย หรืออาจเสียชีวิตได้
สำหรับในประเทศไทย สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) พบยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม 2564 รวม 11,305 ราย จำแนกเป็น ติดเชื้อใหม่ 10,710 ราย ติดเชื้อภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 595 ราย ผู้ป่วยสะสม 397,612 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) หายป่วยกลับบ้าน 6,557 ราย หายป่วยสะสม 268,782 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) เสียชีวิต 80 ราย (ข้อมูลจาก : ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19) โดยจังหวัดสงขลา เป็นในพื้นที่ที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างรวดเร็ว ข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา วันจันทร์ ที่ 19 กรกฎาคม 2564 รายงานว่าจังหวัดสงขลามีผู้ป่วยยืนยันสะสมจำนวน 9,330 ราย เสียชีวิตสะสม 41 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) (ข้อมูลจาก : สาธารณสุขจังหวัดสงขลา) และจากสาธารณสุขอำเภอคลองหอยโข่ง วันจันทร์ ที่ 19 กรกฎาคม 2564 มีผู้ป่วยยืนยันสะสมจำนวน 42 ราย โดยในพื้นที่ตำบลทุ่งลานพบผู้ป่วยยืนยันสะสมจำนวน 23 ราย และมีกลุ่มเสี่ยงสะสมทั้งหมด 120 ราย ซึ่งมาตรการลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างหนึ่ง คือ การแยกกัก กักกัน ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ณHomeQuarantine หรือ Local Quarantine โดยการแยกกัก กักกัน หรือคุมไว้สังเกตจนกว่าพ้นระยะติดต่อโรค และปัจจุบันพบว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาเกิดขึ้นภายในครอบครัวเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้สัมผัสเสี่ยงสูงอาจมีข้อจำกัดเกี่ยวกับสถานที่กักตัว
เทศบาลตำบลทุ่งลานจึงอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 50 ภายใต้บังคับของกฎหมาย เทศบาลตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล (4) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ ประกอบพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 หมวด 2 การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะมาตรา 16 ให้เทศบาลฯ มีอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้ (19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล(29) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19)ที่ 3 / 2564 หนังสือจังหวัดสงขลา ด่วนที่สุด ที่ สข 0018.1 / ว. 2621 ลงวันที่ 15 เมษายน 2564เรื่อง มาตรการเร่งด่วนในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) คำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสงขลา ที่ 1 – 55 / 2564 เพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) หนังสือจังหวัดสงขลา ด่วนที่สุด ที่ สข 0023.3/ ว. 409 ลงวันที่3 พฤษภาคม 2564 เรื่อง การจัดตั้งศูนย์กักกันหรือสังเกตอาการกลุ่มผู้ป่วยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Quaratine) และหนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ด่วนที่สุด ที่ มท 0808.2/ ว. 1562 ลงวันที่21 กรกฎาคม 2564 เรื่อง ซักซ้อมแนวทางการใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) ในพื้นที่อย่างเร่งด่วน แก่ประชาชน ผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยยืนยันที่มีความเสี่ยงสูง ผู้ที่ต้องเฝ้าระวัง สังเกตอาการ หรือผู้มีปัญหาในการทำ Home Quarantine เทศบาลตำบลทุ่งลาน จึงจัดทำโครงการเฝ้าระวัง ควบคุม และสังเกตอาการกลุ่มเสี่ยง เพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลทุ่งลาน ปีงบประมาณ 2564 นี้ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลทุ่งลาน อย่างเร่งด่วน สามารถป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลทุ่งลานได้ทันท่วงที |
80.00 | |
2 | เพื่อเตรียมความพร้อมการแยกกัก กักกัน ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ณ Home Quarantine หรือ Local Quarantine ในพื้นที่ตำบลทุ่งลาน สถานที่กักกันโรค Local Quarantine หรือ Home Quarantine ในพื้นที่ตำบลทุ่งลานมีความพร้อม สามารถรองรับผู้สัมผัสเสี่ยงสูงได้ |
100.00 | |
3 | เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของตำบลทุ่งลาน ในช่วงระยะเวลาการกักตัว 14 วัน ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของตำบลทุ่งลานได้รับความช่วยเหลือในช่วงระยะเวลาการกักตัว 14 วัน |
100.00 | |
4 | เพื่อให้อัตราของผู้ป่วยยืนยัน และผู้สัมผัสเสี่ยงสูงในพื้นที่ตำบลทุ่งลานลดลง อัตราของผู้ป่วยยืนยัน และผู้สัมผัสเสี่ยงสูงในพื้นที่ตำบลทุ่งลานลดลง |
70.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 100,000.00 | 1 | 100,000.00 | |
1 ส.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 | กิจกรรมจัดตั้งศูนย์กักกันหรือสังเกตอาการกลุ่มผู้ป่วย | 0 | 100,000.00 | ✔ | 100,000.00 |
- ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนการดำเนินงาน
- รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือสั่งการและเเนวทางการเบิกจ่าย ฯลฯ
- เขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติโครงการฯ จากผู้บริหาร
- แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะทำงานและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สำหรับกลุ่มสังเกตอาการที่บ้าน (Home Quarantine)
- ดำเนินกิจกรรมจัดตั้งศูนย์กักกันหรือสังเกตอาการกลุ่มผู้ป่วย (Local Quarantine) ตำบลทุ่งลาน
- จัดเตรียมวุสดุ อุปกรณ์สำหรับผู้ถูกกักกัน และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
- ตรวจสอบผู้สัมผัสเสี่ยงสูงและคัดเลือกเข้าสถานที่กักกันโรค (Local Quarantine)
- จัดเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ณ สถานที่กักกันโรค (Local Quarantine) เพื่อติดตามอาการและรักษาความปลอดภัย
- ติดตามการดำเนินงาน
- สรุปและรายงานผลการดำเนินงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ
- สามารถป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลทุ่งลานได้ทันท่วงที
- สถานที่กักกันโรค LocalQuarantine หรือ Home Quarantine ในพื้นที่ตำบลทุ่งลานมีความพร้อม สามารถรองรับผู้สัมผัสเสี่ยงสูงได้
- ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของตำบลทุ่งลานได้รับความช่วยเหลือในช่วงระยะเวลาการกักตัว 14 วัน
- อัตราของผู้ป่วยยืนยัน และผู้สัมผัสเสี่ยงสูงในพื้นที่ตำบลทุ่งลานลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ก.ค. 2564 00:00 น.