กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนุ้ย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนุ้ย

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนุ้ย

ตำบลทุ่งนุ้ย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))เป็นโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่เกิดจากไวรัสโคโรนา โดยมีการระบาดครั้งแรกที่เมืองอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2019 และมีการระบาดไปทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบันมีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ และขยายไปในวงกว้างทั่วทุกภูมิภาคอย่างรวดเร็ว โดยจังหวัดสตูล เป็นหนึ่งในพื้นที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-2019) อย่างรวดเร็ว ข้อมูลจาก กระทรวงสาธารณสุขจังหวัดสตูล ณ วันที่ 22 กรกฎาคม 2564 รายงานว่าจังหวัดสตูล มีผู้ป่วยยืนยันสะสมจำนวน 448 ราย ซึ่งมาตรการลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างหนึ่ง คือ การกักกันผู้ที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยงหรือผู้สัมผัสเสี่ยงสูง โดยการกักตัวเพื่อสังเกตอาการจนกว่าจะพ้นระยะติดต่อโรคและปัจจุบันพบว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19)เกิดขึ้นภายในครอบครัวเป็นส่วนมาก เนื่องจากผู้สัมผัสเสี่ยงสูงอาจมีข้อจำกัดเกี่ยวกับสถานที่กักตัว
จากสถานการณ์ดังกล่าว กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนุ้ย รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข จึงต้องมีมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019 (COVID-19)ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลายภายใต้หลักเกณฑ์เงื่อนไขและเงื่อนเวลาและจังหวัดสตูล ได้มอบหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดตั้งสถานที่กักกัน (LQ) เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการจัดหา วัสดุ ครุภัณฑ์และอุปกรณ์จำเป็นอื่นๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ประจำสถานที่ที่กักกัน และให้บริการผู้ถูกกักกัน รวมทั้งการเบิกจ่ายค่าอาหารได้วันละไม่เกิน 3 มื้อๆ ละไม่เกิน 50 บาทต่อคน
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงจัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019 (COVID-19) ขึ้น ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 2 พ.ศ. 2549 มาตรา 16 (19) และพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 6 พ.ศ. 2552 มาตรา 67 (3)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดสถานที่กักตัวและสังเกตอาการบุคคลที่กลับมาจากพื้นที่เสี่ยงหรือบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง

 

0.00
2 เพื่อเฝ้าระวังควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

 

0.00
3 เพื่อให้ผู้ถูกกักกันมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 27/07/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เฝ้าระวังประชาชนตำบลทุ่งนุ้ยที่เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงหรือบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง

ชื่อกิจกรรม
เฝ้าระวังประชาชนตำบลทุ่งนุ้ยที่เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงหรือบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันและควบคุมโรค เช่น ปรอทวัดไข้ เจลล้างมือ
       ถุงมือฯลฯ  เป็นเงิน 20,000 บาท
  2. ค่าของใช้ที่จำเป็นสำหรับผู้ถูกกักกันเพื่อสังเกตอาการ เช่น ที่นอน สบู่ ยาสีฟัน
        ถังน้ำ ฯลฯ    เป็นเงิน 18,000 บาท
  3. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ  เช่น ป้ายกองอำนวยการ ป้ายพื้นที่ปฐมพยาบาล ฯลฯ  เป็นเงิน 2,000 บาท
  4. ค่าอาหารสำหรับผู้ถูกกักตัวเพื่อสังเกตอาการ
        จำนวน 3 มื้อๆ ละไม่เกิน 50 บาท /คน/14 วัน เป็นเงิน 20,000 บาท
  5. ค่าน้ำดื่มสำหรับผู้ถูกกักตัวฯ    เป็นเงิน 5,000 บาท
  6. ค่าอาหารสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
        จำนวน 3 มื้อๆ ละไม่เกิน 50 บาท/คน เป็นเงิน 20,000 บาท
  7. ค่าวัสดุไฟฟ้าสำหรับปรับปรุงสถานที่  เป็นเงิน 5,000 บาท
  8. เหมาจ่ายสนับสนุนค่าน้ำค่าไฟสำหรับสถานที่เพื่อควบคุมสังเกตอาการฯ
         วันละ 100 บาท/แห่ง  เป็นเงิน 10,000 บาท รวม 100,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 100,000 บาท (เงินหนึ่งแสนบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
27 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
100000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 100,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีสถานที่กักตัวเพื่อสังเกตอาการบุคคลที่กลับมาจากพื้นที่เสี่ยงหรือบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง
2. มีการเฝ้าระวังควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
3. ผู้ถูกกักกันมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(COVID-19)


>