กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสุขภาพดีห่างไกลมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

รพ.สต.บ้านเกาะเคียน

รพ.สต.บ้านเกาะเคียน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย คือ โรคมะเร็งตับ รองลงมาคือมะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมตามลำดับ ในประเทศไทย โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งในสตรีไทยจากข้อมูลสถิติสาธารณสุขปี พ.ศ.๒๕๕๗ มีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ ๖,๓๐๐ ราย พบมากที่สุดอายุระหว่างอายุ ๔๕-๕๐ ปี ของโรคมะเร็งทุกชนิด นอกจากนี้ยังพบว่าการตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาผู้ที่มีความผิดปกติของปากมดลูกตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็งตามขั้นตอนที่ถูกต้องเหมาะสมสามารถลดอุบัติการณ์และอัตราการตายของโรคมะเร็งปากมดลูกได้เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่เซลล์เริ่ม ผิดปกติโดยการทำ Pap smear ประกอบกับการดำเนินโรคเป็น แบบค่อยเป็นค่อยไปและสามารถรักษาให้หายขาดได้โดยการรักษาตามระบบ และการจี้เย็น (Cryotherapy) และมะเร็งเต้านมสามารถตรวจพบได้ด้วยตนเอง หากสามารถตรวจด้วยตนเองได้ ดังนั้น การค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุด การให้ความรู้ การสร้างความตระหนักและการกระตุ้นให้เกิดการดูแลและป้องกันตัวเองในระยะแรกเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ตลอดจนลดอัตราป่วยและตายของสตรีจากโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านเกาะเคียน มีผลงานสะสม 5ปี เป้าหมาย........ คน ได้รับการตรวจคัดกรอง... คนคิดเป็นร้อยละ 93.80 ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด พบผลผิดปกติ 4 รายแต่เมื่อส่งไปตรวจซ้ำ รพ.พัทลุง ผลปกติ ในปี 2563 มีเป้าหมาย …. คน ได้รับการตรวจคัดกรอง..... คน คิดเป็นร้อยละ 60.76 ซึ่งยังไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด และจะดำเนินการต่อในปี 2564 ต่อไป
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเคียนตระหนักถึงปัญหาและเล็งเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม เนื่องจากสามารถรักษาได้หากตรวจพบในระยะแรกจึงได้จัดทำโครงการสุขภาพดีห่างไกลมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม รพ.สต.บ้านเกาะเคียน ปี ๒๕๖๔โดยดึงพลังแกนนำ ของประชาชนทุกภาคส่วนเช่น อสม. กลุ่มสตรี แกนนำหมู่บ้าน มาร่วมดำเนินงาน โดยมุ่งหวังความสำเร็จให้สุขภาพของประชาชนดีขึ้น พ้นภัยจากโรคมะเร็งเต้านมและ มะเร็งปากมดลูก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายตามกลุ่มอายุ ๓๐ ถึง ๖๐ ปี ในพื้นที่ หมู่ที่ ๖, ๘ และหมู่ที่๑๓ ตำบลนาปะขอ ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ และตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมร้อยละ ๙๐

สตรีกลุ่มเป้าหมายซึ่งมีอายุ ๓๐- ๖๐  ปี ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสถานบริการร้อยละ ๖๐ (๑๕๐ คน) และรับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมโดยเจ้าหน้าที่ร้อยละ ๙๐ (๒๗๙  คน)

0.00
2 เพื่อให้ อสม. กลุ่มสตรี แกนนำชุมชน มีความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม สามารถถ่ายทอดความรู้แก่สตรีกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบได้ถูกต้อง

อสม.และแกนนำชุมชนมีความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก  สามารถถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับให้กลุ่มเป้าหมาย  และสามารถนำกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม ร้อยละ ๙๐

0.00
3 เพื่อค้นหากลุ่มป่วยโรคมะเร็งปากมดลูก/มะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรก ระยะก่อนเป็นมะเร็งโดยมีการส่งต่อเพื่อวินิจฉัยโรค และรักษาที่เหมาะสม ทันเวลา

สตรีกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ ๓๐- ๖๐  ปีที่ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูกและพบภาวะผิดปกติทุกชนิด ได้รับการรักษาโดยแพทย์ ร้อยละ ๑๐๐

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/09/2021

กำหนดเสร็จ 25/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก/มะเร็งเต้านม จำนวน ๓ รุ่น/จำนวน ๑๕๐ คน

ชื่อกิจกรรม
การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก/มะเร็งเต้านม จำนวน ๓ รุ่น/จำนวน ๑๕๐ คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.ค่าวิทยากร๖๐๐บ.X๕ ชม X๓ รุ่น = ๙,๐๐๐ บาท ๒.ค่าป้ายโครงการ  ๑ ม.X๓  เมตร   =    ๖๐๐ บาท ๔.ค่าอาหารว่าง/เครื่องดื่ม              =  ๗,๕๐๐ บาท (๕๐ คน X๒๕บ.X ๒ มื้อX ๓ รุ่น  ) ๕.ค่าอาหารกลางวัน                     = ๙,๐๐๐ บาท (๕๐ คน X๖๐บ.X๑ มื้อX ๓ รุ่น)

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 กันยายน 2564 ถึง 25 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.สตรีกลุ่มเป้าหมายซึ่งมีอายุ ๓๐- ๖๐ปี ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและรับการตรวจมะเร็งปากมดลูกในสถานบริการร้อยละ ๖๐ (๑๕๐ คน) และรับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมโดยเจ้าหน้าที่ร้อยละ ๙๐ (๒๗๙ คน)
๒.สตรีกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ ๓๐- ๖๐ ปีที่ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูกและพบภาวะผิดปกติทุกชนิด ได้รับการรักษาโดยแพทย์ ร้อยละ ๑๐๐
๓.อสม.และแกนนำชุมชนมีความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูกสามารถถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับให้กลุ่มเป้าหมายและสามารถนำกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม ร้อยละ ๙๐ ตรวจมะเร็งปากมดลูกได้ครบตาม


>