กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดตั้งศูนย์พักคอยเตียงสำหรับคนในชุมชน (Community Isolation)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลนาปะขอ

อาคารอเนกประสงค์ตลาดน้ำบ้านปากพล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)

 

80.00

สถานการณ์ติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ โควิด -๑๙ ระลอกที่สามตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา พบว่ามีแนวโน้มทวีความรุนแรงและพบการระบาดในวงกว้างมากขึ้น จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่มากกว่า ๑๐,๐๐๐ รายต่อวัน ส่งผลให้ระบบสาธารณสุขปกติอาจมีจำนวนเตียงไม่เพียงพอสำหรับการรักษาตัวผู้ป่วย ประกอบกับในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ได้มีมาตรการส่งผู้ติดเชื้อกลับไปรักษาที่ภูมิลำเนา ทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดพัทลุง เริ่มเดินทางกลับมารักษาตัวที่บ้าน
ดังนั้น เพื่อเป็นการฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ โควิด -๑๙ องค์การบริหารส่วนตำบลนาปะขอ จึงจัดทำโครงการจัดตั้งศูนย์พักคอยเตียงสำหรับคนในชุมชน (Community Isolation) เพื่อให้ประชาชนผู้ติดเชื้อที่มีอาการไม่รุนแรงได้มีที่พักอาศัย ลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ โควิด -๑๙ ในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมการแพร่ระบาดและติดเชื้อโควิด ๑๙ อย่างเป็นระบบ

ไม่มีการแพร่ระบาดและติดเชื้อโควิด -๑๙

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนผู้ติดเชื้อได้รับการคัดแยกอาการแลดูแลรักษาตามแนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขในการป้องกันการแพร่ระบาดและติดเชื้อโควิด -๑๙

ประชาชนผู้ติดเชื้อได้รับการคัดแยกอาการแลดูแลรักษาตามแนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขในการป้องกันการแพร่ระบาดและติดเชื้อโควิด -๑๙

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 15
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/08/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดตั้งศูนย์พักคอย เตียงสำหรับคนในชุมชน (Community Isolation)

ชื่อกิจกรรม
จัดตั้งศูนย์พักคอย เตียงสำหรับคนในชุมชน (Community Isolation)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าวัสดุเครื่องมือแพทย์และค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลเจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้อง 1.1 น้ำยาฆ่าเชื้อ ขนาด 3.8 ลิตร จำนวน ๓ แกลลอน ๆ       ละ 600 บาท               เป็นเงิน 1,800 บาท 1.2 ถังขยะมีฝาปิด ขาเหยียบ  ขนาด 10 ลิตร จำนวน       15 ใบ ๆ ละ 2๗0 บาท      เป็นเงิน 4,050 บาท 1.3 ถุงขยะแดง ขนาด 18 x 20 นิ้ว
          จำนวน 15 แพ็คๆ ละ 140 บาท
                                            เป็นเงิน 2,100  บาท 1.4 ถุงขยะแดง ขนาด 36 x 45 นิ้ว
          จำนวน 15 แพ็ค ๆ ละ ๑2๐ บาท
                                            เป็นเงิน 1,8๐๐ บาท 1.5 หมวกตัวหนอน (แพ็ค 100 ชิ้น)  จำนวน 2 แพ็ค ๆ ละ       220 บาท                     เป็นเงิน 440 บาท 1.6 ถุงมือยาง จำนวน ๕ กล่อง ๆ ละ 280
                                           เป็นเงิน ๑,400 บาท 1.7 สเปร์ยล้างมือแอลกอฮอล์ 100 ml จำนวน  20 ขวด ๆ ละ8๐ บาท                    เป็นเงิน 1,600 บาท 1.8 ถังขยะติดเชื้อ ขนาด 60 ลิตร 1 ถัง ๆ ละ 750 บาท                                        เป็นเงิน 750 บาท 1.9 เครื่องวัดความดันโลหิตดิจิตอล จำนวน 2 เครื่อง ๆ ละ 1,500 บาท                 เป็นเงิน ๓,๐00 บาท 1.9 หน้ากากอนามัย N95  จำนวน 60 ชิ้นๆละ 40 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
  2. อุปกรณ์ใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับผู้ป่วย 2.1 ที่นอนปิ๊กนิค ขนาด 3.5 ฟุต จำนวน ๑๕ ชุด ๆ ละ       ๗0๐ บาท                   เป็นเงิน ๑๐,5๐๐ บาท 2.2 ผ้าห่มนาโน ขนาด 3.5 ฟุต จำนวน ๑๕ ชุด ๆ ละ       10๐ บาท                   เป็นเงิน 1,5๐๐ บาท 2.3 มุ้ง ขนาด 4 ฟุต จำนวน ๑๕ หลัง ๆ ละ 300 บาท                                       เป็นเงิน 4,500 บาท 2.4 ถุงหูหิ้วขนาด 18x30 นิ้ว จำนวน 2 แพ็ค ๆ ละ 6๐       บาท                          เป็นเงิน 12๐ บาท 2.5 อุปกรณ์ ของใช้ส่วนบุคคลที่จำเป็นต่อการกักตัว      จำนวน ๑๕ ชุด ๆ ละ ๕๐๐ บาท                                       เป็นเงิน ๗,๕๐๐ บาท 2.6 พัดลม จำนวน ๑๕ ตัว ๆ ละ 300 บาท
                                         เป็นเงิน ๔,500 บาท 2.7 กระติกน้ำร้อน จำนวน ๑๕ ใบ ๆ ละ ๔๕๐ บาท
                                         เป็นเงิน ๖,๗๕๐ บาท 2.8 ราวตากผ้า จำนวน 15 อัน ๆ ละ 120 บาท                                      เป็นเงิน 1,800 บาท

  3. น้ำดื่มสำหรับเจ้าหน้าที่ 3.1 น้ำดื่ม ขนาด 600 ml  (12 ขวด/แพ็ค) จำนวน ๒๓       แพ็ค ๆ ละ ๔๖ บาท      เป็นเงิน ๑,๐๕๘ บาท

  4. ป้ายไวนิล 4.1 ป้ายไวนิลศูนย์พักคอย (Community Isolation) ขนาด          (8.4x 2.4ม.) จำนวน ๑ ป้าย ๆ ละ ๔,๐๓๒ บาท                                     เป็นเงิน ๔,๐๓๒ บาท
  5. ค่าเบี้ยเลี้ยงเจ้าหน้าที่/อาสาสมัครสาธารณสุข/อปพร.   ที่มาปฏิบัติงาน ณ ศูนย์พักคอย 5.1 ค่าเบี้ยเลี้ยงสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 40  วัน  ๒ คน ๆ ละ ๒๔๐ บาท เป็นเงิน ๑๙,๒๐๐ บาท 5.2 ค่าตอบแทน อปพร. จำนวน 40 วัน ๒ คน ๆ ละ   ๒๔๐ บาท                      เป็นเงิน ๑๙,๒๐๐ บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
20 สิงหาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
100000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 100,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑) เกิดการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมการแพร่ระบาดและติดเชื้อโควิด ๑๙ ส่งผลให้ไม่มีการระบาดในพื้นที่
๒) ประชาชนผู้ติดเชื้อได้มีที่พัก ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม ตามแนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุข


>