กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาสาสมัครสาธารณสุข ร่วมใจขจัดโรคโควิด-19 หมู่ที่ 8

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ

อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 8

1. นางสีตีมือแยอีแมดอสะ
2. นางพารีด๊ะอาแวเลาะ
3. นางรอกีเยาะปะเงาะห์
4. นายอุสมานมะเซ็ง
5. นายสมานปะเงาะห์

พื้นที่ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ของ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ปัตตานี ยะลา นราธิวาสและสงขลา ที่ร้ายแรงไม่แพ้กรุงเทพฯและปริมณฑล กระทั่งรัฐบาลต้องประกาศมาตรการพิเศษเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด ทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบพื้นที่เริ่มขยับทำโครงการเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 ซึ่งตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส และหน่วยงานต่างๆในพื้นที่จึงจัดหาวัคซีน เพื่อนำมาฉีดคนในพื้นที่ตำบลจวบ มาตรการสำคัญ คือ การขจัดภัยโรคโควิด-19 เป็นโรคระบาดร้ายแรง และต้องเร่งจัดหาวัคซีนโควิด-19 ให้กับกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ ผู้ติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในพื้นที่ตำบลจวบ
ดังนั้นกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่8 เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดโครงการอาสาสมัครสาธารณสุข ร่วมใจขจัดโรคโควิด-19 เพื่อส่งเสริมการป้องกันโรคโควิด-19ในพื้นที่ตำบลจวบ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 เชิงรุก 2. เพื่อให้ประชาชนได้รับการป้องกันได้ครอบคลุม 3. เพื่อให้อาสาสมัครในเครือข่ายได้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของครอบครัว และชุมชน
  1. ร้อยละของ ปชช.ในตำบลสามารถเข้าถึงบริการฉีดวัคซีน
  2. ประชาชนในพื้นที่ได้รับการรักษาป้องกันได้ทั่วถึง
  3. อาสาสมัครสามารถติดตาม และได้มีการเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยงอย่างทั่วถึง
1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/09/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การจัดบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 เชิงรุก

ชื่อกิจกรรม
การจัดบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 เชิงรุก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประสานการจัดบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 เชิงรุก โดย เจ้าหน้าที่ รพ.สต.และโรงพยาบาลเจาะไอร้องแบบเคลื่อนที่
ค่าใช้จ่าย
1. ค่าเครื่องดื่มสำหรับประชาชน จำนวน 200คน x 25บาท เป็นเงิน 5,000.-บาท
2. ค่าเช่าเต้นท์พร้อมเก้าอี้สำหรับการฉีดวัคซีนโควิด 500บาท x 3เต้นท์ เป็นเงิน 1,500.-บาท
3. ค่าเหมารถรับส่ง กรณี ผู้ป่วยสูงอายุหรือไม่สามารถเข้าถึงได้เป็นเงิน 1,000.-บาท
4. ค่าเบี้ยเลี้ยง สำหรับ อสม.มาช่วยงาน เป็นเงิน 2,400.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีการบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19
  2. ประชาชนได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค
  3. เกิดการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพประชาชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9900.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ตำบลจวบ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ตำบลจวบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าเบี้ยเลี้ยง สำหรับ อสม.มาช่วยงาน จำนวน 3,600.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีการบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19
  2. ประชาชนได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค
  3. เกิดการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพประชาชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีการบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19
2. ประชาชนได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค
3. เกิดการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพประชาชน


>