กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการขับเคลื่อนระบบอาหาร ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยและโภชนาการสมวัยตำบลยะรัง (UNDP)

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะรัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการขับเคลื่อนระบบอาหาร ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยและโภชนาการสมวัยตำบลยะรัง (UNDP)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะรัง

ภาคีเครือข่ายการจัดการระบบอาหารตำบลยะรัง

ภาคีเครือข่ายการจัดการระบบอาหารตำบลยะรัง
1. นายอิมรอน หะยีสามะ
2. นางรุสนี หะยีเต๊ะ
3. นายอัลวาดลล่าเต๊ะ
4. นายมูฮัมหมัดอุสมาน ยือแร
5. นายไบตุลมาลย์ อาแด

ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6 ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร

 

20.00
2 ร้อยละครัวเรือนที่ทำการเกษตรแบบปลอดภัย/อินทรีย์

 

20.00
3 ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) ครบ 3 มื้อ

 

67.50
4 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ที่มีภาวะผอม

 

30.00

ระบบอาหาร ประกอบด้วย ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยและโภชนาการสมวัย ซึ่งสามารถอธิบายความหมายดังต่อไปนี้ ความมั่นคงทางอาหาร หมายถึง คนทุกคนมีความสามารถในการเข้าถึงอาหารที่เพียงพอ ปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการได้ตลอดเวลา (พรรณภัทร ปลั่งศรีเจริญสุข, 2560) อาหารปลอดภัย คือ อาหารที่ครัวเรือนผลิตได้หรือซื้อมาจากภายนอกจะต้องปลอดสารพิษ ย่าฆ่าแมลง และสารปนเปื้อน ทั้งที่อยู่ในรูปของเชื้อโรค และสารเคมีที่เป็นพิษต่าง ๆ รวมทั้งสามารถถนอมอาหารไว้บริโภคไว้ในเมื่อยามจำเป็น (อภิญญา ตันทวีวงศ์, 2556)โภชนาการสมวัย หมายถึง อาหารที่เข้าสู่ร่างกายมนุษย์แล้วร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเจริญเติบโตการค้ำจุน และซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนั้น การได้รับประทานอาหารที่เพียงพอและถูกสัดส่วน จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดสำหรับมนุษย์ เพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรง (สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557)
องค์การบริหารส่วนตำบลยะรังมีพื้นที่ความรับผิดชอบทั้งหมด 6.46 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 6 หมู่ มีประชากรทั้งหมด 6,560 คน แบ่งเป็นเพศชาย 3,298 คน เพศหญิง 3,262 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตร รองลงมาอาชีพรับจ้าง จากอาชีพหลักของประชากรในพื้นที่ตำบลยะรัง จะเห็นได้ว่า วิถีชีวิตแบบชาวเกษตรกร ยังเป็นวิถีชีวิตหลักของคนในพื้นที่ ซึ่งสามารถต่อยอดกระบวนปลูก การผลิต รวมถึงการจัดจำหน่ายที่มีคุณภาพ แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต และการประกอบอาชีพประจำวันของชาวเกษตรกรในพื้นที่ ในด้านการส่งออกผลผลิตทางการเกษตร การใช้วัตถุดิบทางการเกษตร เช่น ปุ๋ยเคมี สารกำจัดศัตรูพืช อาหารสัตว์สำเร็จรูปแบบอัดเม็ดซึ่งมีส่วนผสมของยาหรือสารเคมีอื่นๆ
จากสถานการณ์ภาวะโภชนาการ ในเด็กอายุ 0-12 ปี ในพื้นที่ตำบลยะรัง มีจำนวนเด็กประมาณ 1,585 คน ซึ่งมีภาวะสูงดีสมส่วน 713 คน คิดเป็นร้อยละ 44.98 (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยะรัง,2564) ซึ่งจะเห็นได้ว่ายังมีเด็กที่ขาดภาวะโภชนาการที่สมส่วนอีกมากมาย ทั้งนี้จึงจำเป็นที่จะดำเนินการจัดกระบวนการเกี่ยวกับเรื่องอาหาร ที่ต้นน้ำ (การปลูกพืชผักที่ปลอดภัย การเลี้ยงสัตว์ ไร้สารเคมี ยาฆ่าแมลง ฯลฯ ) กลางน้ำ (การนำพืชผัก ไปปรุงให้ครบหลักโภชนาการ 5 หมู่) ปลายน้ำ (การเลือกบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ) จึงจะเกิดการจัดการระบบอาหารที่ครอบคลุม ทั้ง ความมั่นคงทางอาหารอาหารปลอดภัยและโภชนาการสมวัย จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนเด็กนักเรียน ในเรื่องระบบอาหาร ประกอบด้วย ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัยจึงได้จัดโครงการขับเคลื่อนระบบอาหาร ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยและโภชนาการสมวัยตำบลยะรัง (UNDP)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/02/2023

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ทำข้อมูลแผนที่เกษตรและครอบครัวต้นแบบ

ชื่อกิจกรรม
ทำข้อมูลแผนที่เกษตรและครอบครัวต้นแบบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลการทำเกษตรปลอดสารพิษในแต่ละหมู่บ้าน จำนวน 6 หมู่บ้าน
    ค่าอาหารเที่ยง จำนวน 10 คนๆละ 80 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 1,600 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 10 คนๆละ จำนวน 2 มื้อๆละ 35 บาทเป็นเงิน1,400 บาท
  2. จัดทำแผนที่เกษตรกรต้นแบบ เกษตรปลอดสารพิษ
    ค่ากระดาษบรูฟ จำนวน 10 แผ่น ๆละ 5 บาท เป็นเงิน 50 บาท
    ค่าปากกาเคมีจำนวน 10 ด้ามๆละ 25บาท เป็นเงิน 250 บาท
  3. นำเสนอแผนที่เกษตรกรต้นแบบ เพื่อประชาสัมพันธ์คนในพื้นที่ในการเลือกซื้อพืชผักปลอดสารพิษ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2564 ถึง 14 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ได้แผนที่เกษตรปลอดสารพิษในตำบลยะรัง เพื่อเชื่อมโยงแหล่งเกษตรปลอดสารพิษในการจัดทำแหล่งเรียนรู้ให้กับเด็กนักเรียน
  2. เกิดฐษนข้อมูลเกษตรปลอดสารพิษตำบลยะรัง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3300.00

กิจกรรมที่ 2 เรียนรู้ครอบครัวต้นแบบอาหารปลอดภัยในสถานศึกษาและชุมชน

ชื่อกิจกรรม
เรียนรู้ครอบครัวต้นแบบอาหารปลอดภัยในสถานศึกษาและชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ส่งเสริมเรียนรู้การปลูกพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษในชุมชน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้ร่วมกับปราช์ญชาวบ้านที่มีความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์
  1. ค่าอุปกรณ์และวัสดุเพื่อเตรียมน้ำหมักชีวภาพ (ถัง 20 ลิตร กากน้ำตาล ผงจุลินทรีย์) เป็นเงิน 1,500 บาท
  2. ค่าวิทยากรสอนการเตรียมดิน ทำน้ำหมักชีวภาพ จำนวน 2 คนๆละ 600 บาทจำนวน 4 ชม. เป็นเงิน 4,800 บาท
  3. ค่าป้ายโครงการ 13250 บาทต่อ ตร.ม.เป็นเงิน 750 บาท
  4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 3 รุ่นๆละ 20 คนๆละ 35บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน4,200 บาท
  5. ค่าเมล็ดพันธ์ุพืช เป็นเงิน 2,000 บาท
  6. ค่าอาหารเที่ยงและเครื่องดื่ม จำนวน 3 รุ่นๆละ 20 คนๆละ 80 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2564 ถึง 31 มกราคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็กนักเรียนและครู มีความรู้ในการจัดการอาหารปลอดภัย
  2. เด็กนักเรียนและครู มีความรู้การทำปุ๋ยหมักชีวภาพและการนำสิ่งของมีประโยชน์มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18000.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมระบบอาหาร (ความมั่นคงทาอาหาร, อาหารปลอดภัย, โภชนการสมวัย)ในสถานศึกษาและชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมระบบอาหาร (ความมั่นคงทาอาหาร, อาหารปลอดภัย, โภชนการสมวัย)ในสถานศึกษาและชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

โรงเรียนและคณะครู ดำเนินการปลูกพืช ผักสวนครัวรั้วกินได้ โดยอาศัยความรู้ที่ได้จากลงพื้นที่เรียนรู้ในพื้นที่จริง
1. จัดทำปฏิทินอาหารกลางวัน ตำบลยะรัง
2. เกิดร่างห่วงโซ่ระบบอาหารตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ
3. ค่าอาหารเที่ยงและเครื่องดื่มจำนวน 10 คนๆละ 80 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน800 บาท 4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 10 คนๆละ 35 บาทจำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กนักเรียนมีการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย จากรั้วโรงเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการระบบอาหารในพื้นที่
2. เด็กนักเรียนมีการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย ไร้สารพิษตกค้าง
3. เด็กนักเรียนสามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดให้กับคนในครอบครัวต่อไป


>