แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะรัง รหัส กปท. L3032
อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ภาคีเครือข่ายการจัดการระบบอาหารตำบลยะรัง
1. นายอิมรอน หะยีสามะ
2. นางรุสนี หะยีเต๊ะ
3. นายอัลวาดลล่าเต๊ะ
4. นายมูฮัมหมัดอุสมาน ยือแร
5. นายไบตุลมาลย์ อาแด
ระบบอาหาร ประกอบด้วย ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยและโภชนาการสมวัย ซึ่งสามารถอธิบายความหมายดังต่อไปนี้ ความมั่นคงทางอาหาร หมายถึง คนทุกคนมีความสามารถในการเข้าถึงอาหารที่เพียงพอ ปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการได้ตลอดเวลา (พรรณภัทร ปลั่งศรีเจริญสุข, 2560) อาหารปลอดภัย คือ อาหารที่ครัวเรือนผลิตได้หรือซื้อมาจากภายนอกจะต้องปลอดสารพิษ ย่าฆ่าแมลง และสารปนเปื้อน ทั้งที่อยู่ในรูปของเชื้อโรค และสารเคมีที่เป็นพิษต่าง ๆ รวมทั้งสามารถถนอมอาหารไว้บริโภคไว้ในเมื่อยามจำเป็น (อภิญญา ตันทวีวงศ์, 2556)โภชนาการสมวัย หมายถึง อาหารที่เข้าสู่ร่างกายมนุษย์แล้วร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเจริญเติบโตการค้ำจุน และซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนั้น การได้รับประทานอาหารที่เพียงพอและถูกสัดส่วน จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดสำหรับมนุษย์ เพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรง (สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557) องค์การบริหารส่วนตำบลยะรังมีพื้นที่ความรับผิดชอบทั้งหมด 6.46 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 6 หมู่ มีประชากรทั้งหมด 6,560 คน แบ่งเป็นเพศชาย 3,298 คน เพศหญิง 3,262 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตร รองลงมาอาชีพรับจ้าง จากอาชีพหลักของประชากรในพื้นที่ตำบลยะรัง จะเห็นได้ว่า วิถีชีวิตแบบชาวเกษตรกร ยังเป็นวิถีชีวิตหลักของคนในพื้นที่ ซึ่งสามารถต่อยอดกระบวนปลูก การผลิต รวมถึงการจัดจำหน่ายที่มีคุณภาพ แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต และการประกอบอาชีพประจำวันของชาวเกษตรกรในพื้นที่ ในด้านการส่งออกผลผลิตทางการเกษตร การใช้วัตถุดิบทางการเกษตร เช่น ปุ๋ยเคมี สารกำจัดศัตรูพืช อาหารสัตว์สำเร็จรูปแบบอัดเม็ดซึ่งมีส่วนผสมของยาหรือสารเคมีอื่นๆ จากสถานการณ์ภาวะโภชนาการ ในเด็กอายุ 0-12 ปี ในพื้นที่ตำบลยะรัง มีจำนวนเด็กประมาณ 1,585 คน ซึ่งมีภาวะสูงดีสมส่วน 713 คน คิดเป็นร้อยละ 44.98 (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยะรัง,2564) ซึ่งจะเห็นได้ว่ายังมีเด็กที่ขาดภาวะโภชนาการที่สมส่วนอีกมากมาย ทั้งนี้จึงจำเป็นที่จะดำเนินการจัดกระบวนการเกี่ยวกับเรื่องอาหาร ที่ต้นน้ำ (การปลูกพืชผักที่ปลอดภัย การเลี้ยงสัตว์ ไร้สารเคมี ยาฆ่าแมลง ฯลฯ ) กลางน้ำ (การนำพืชผัก ไปปรุงให้ครบหลักโภชนาการ 5 หมู่) ปลายน้ำ (การเลือกบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ) จึงจะเกิดการจัดการระบบอาหารที่ครอบคลุม ทั้ง ความมั่นคงทางอาหารอาหารปลอดภัยและโภชนาการสมวัย จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนเด็กนักเรียน ในเรื่องระบบอาหาร ประกอบด้วย ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัยจึงได้จัดโครงการขับเคลื่อนระบบอาหาร ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยและโภชนาการสมวัยตำบลยะรัง (UNDP)
- 1. ทำข้อมูลแผนที่เกษตรและครอบครัวต้นแบบรายละเอียด
- ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลการทำเกษตรปลอดสารพิษในแต่ละหมู่บ้าน จำนวน 6 หมู่บ้าน
ค่าอาหารเที่ยง จำนวน 10 คนๆละ 80 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 1,600 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 10 คนๆละ จำนวน 2 มื้อๆละ 35 บาทเป็นเงิน1,400 บาท - จัดทำแผนที่เกษตรกรต้นแบบ เกษตรปลอดสารพิษ
ค่ากระดาษบรูฟ จำนวน 10 แผ่น ๆละ 5 บาท เป็นเงิน 50 บาท
ค่าปากกาเคมีจำนวน 10 ด้ามๆละ 25บาท เป็นเงิน 250 บาท - นำเสนอแผนที่เกษตรกรต้นแบบ เพื่อประชาสัมพันธ์คนในพื้นที่ในการเลือกซื้อพืชผักปลอดสารพิษ
งบประมาณ 3,300.00 บาท - ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลการทำเกษตรปลอดสารพิษในแต่ละหมู่บ้าน จำนวน 6 หมู่บ้าน
- 2. เรียนรู้ครอบครัวต้นแบบอาหารปลอดภัยในสถานศึกษาและชุมชนรายละเอียด
- ส่งเสริมเรียนรู้การปลูกพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษในชุมชน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้ร่วมกับปราช์ญชาวบ้านที่มีความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์
- ค่าอุปกรณ์และวัสดุเพื่อเตรียมน้ำหมักชีวภาพ (ถัง 20 ลิตร กากน้ำตาล ผงจุลินทรีย์) เป็นเงิน 1,500 บาท
- ค่าวิทยากรสอนการเตรียมดิน ทำน้ำหมักชีวภาพ จำนวน 2 คนๆละ 600 บาทจำนวน 4 ชม. เป็นเงิน 4,800 บาท
- ค่าป้ายโครงการ 13250 บาทต่อ ตร.ม.เป็นเงิน 750 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 3 รุ่นๆละ 20 คนๆละ 35บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน4,200 บาท
- ค่าเมล็ดพันธ์ุพืช เป็นเงิน 2,000 บาท
- ค่าอาหารเที่ยงและเครื่องดื่ม จำนวน 3 รุ่นๆละ 20 คนๆละ 80 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
งบประมาณ 18,000.00 บาท - ส่งเสริมเรียนรู้การปลูกพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษในชุมชน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้ร่วมกับปราช์ญชาวบ้านที่มีความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์
- 3. ส่งเสริมระบบอาหาร (ความมั่นคงทาอาหาร, อาหารปลอดภัย, โภชนการสมวัย)ในสถานศึกษาและชุมชนรายละเอียด
โรงเรียนและคณะครู ดำเนินการปลูกพืช ผักสวนครัวรั้วกินได้ โดยอาศัยความรู้ที่ได้จากลงพื้นที่เรียนรู้ในพื้นที่จริง
1. จัดทำปฏิทินอาหารกลางวัน ตำบลยะรัง
2. เกิดร่างห่วงโซ่ระบบอาหารตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ
3. ค่าอาหารเที่ยงและเครื่องดื่มจำนวน 10 คนๆละ 80 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน800 บาท 4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 10 คนๆละ 35 บาทจำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 700 บาทงบประมาณ 1,500.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
รวมงบประมาณโครงการ 22,800.00 บาท
- กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการระบบอาหารในพื้นที่
- เด็กนักเรียนมีการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย ไร้สารพิษตกค้าง
- เด็กนักเรียนสามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดให้กับคนในครอบครัวต่อไป
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะรัง รหัส กปท. L3032
อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะรัง รหัส กปท. L3032
อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................