กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองม่วงงาม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกรตำบลม่วงงาม ประจำปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองม่วงงาม

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงงาม

ตำบลม่วงงาม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สังคมไทยส่วนใหญ่เป็นสังคมแห่งเกษตรกรรม ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงจากเกษตรกรรมเพื่อการบริโภคสู่เกษตรกรรมเศรษฐกิจมากขึ้นที่มีการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมกลุ่มเกษตรกรมีการใช้สารเคมีในการเพิ่มผลผลิตและกำจัดศัตรูพืชมากขึ้น เช่น สารเคมีกลุ่มออร์กาโนคลอไรน์ กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต กลุ่มคาร์บาเมต และกลุ่มสารสังเคราะห์ไพรีทอย เป็นต้นมีเกษตรกรจำนวนมากที่ยังขาดความรู้ความตระหนักถึงการถูกคุกคามจากสารเคมีทางการเกษตร ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพตามมา ทั้งแบบเฉียบพลัน ซึ่งจะแสดงอาการทันทีหลังได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกาย เช่น เกิดผดผื่นที่ผิวหนัง อาการวิงเวียนศีรษะ มึนงงคลื่นไส้อาเจียน แน่นหน้าอกเป็นต้นและแบบเรื้อรังซึ่งเป็นภัยเงียบ ที่เรียกว่า“ตายผ่อนส่ง” เกิดจากการได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายต่อเนื่องเป็นเวลานาน ส่งผลต่อระบบประสาท การเป็นอัมพฤตอัมพาต ระบบสืบพันธุ์ หรือก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ซึ่งอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตนอกจากสารเคมีจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเกษตรกรหรือผู้บริโภคแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์สิ่งแวดล้อมในชุมชนสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติแหล่งน้ำและอาหาร
ตำบลม่วงงามเป็นตำบลหนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำสวนทำนาทำไร่ และจากการดำเนินกิจกรรมโครงการตรวจคัดกรองหาสารพิษตกค้างในร่างกายเกษตรตำบลม่วงงาม ประจำปีงบประมาณ๒๕๖๒ มีกลุ่มเกษตรกรที่เข้ารับการคัดกรอง จำนวน๑๓๘ คน พบมีความเสี่ยงจำนวน๔๑ คน (ร้อยละ ๒๙.๗๑) และไม่ปลอดภัยจำนวน๒๗ คน (ร้อยละ๑๙.๕๗) แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงและความไม่ปลอดภัยจากสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในร่างกาย
ในปี2565โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงงาม เล็งเห็นถึงความสำคัญในการตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรเสริมความรู้ สร้างความตระหนักถึงพิษภัยของสารเคมีตกค้างในเลือด จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกรตำบลม่วงงาม ประจำปีงบประมาณ2565 ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เกิด”เกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย”

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ ๑ เพื่อตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกรที่มีผลต่อสุขภาพ

ข้อที่ ๑ กลุ่มเกษตรกรเข้ารับการตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือด อย่างน้อย  ๒๐๐ คน

0.00
2 ข้อที่ ๒ เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับพิษภัยจากสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในเลือด

ข้อที่ ๒ กลุ่มเกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับพิษภัยจากสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในเลือด ไม่น้อยกว่า ร้อยละ  ๘๐

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 05/10/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสำรวจกลุ่มเกษตรกรพร้อมจัดทำทะเบียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสำรวจกลุ่มเกษตรกรพร้อมจัดทำทะเบียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าตอบแทนผู้สำรวจกลุ่มเป้าหมาย หมู่ละ  ๑ คน x ๑๐ หมู่บ้าน x ๑๐๐ บาท เป็นเงิน  ๑,๐๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชาสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ใชงบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 ตุลาคม 2564 ถึง 31 ตุลาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมบริการตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกร ๒ ครั้ง ครั้งละ ๑๐๐ คน รวมทั้งหมด ๒๐๐ คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมบริการตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกร ๒ ครั้ง ครั้งละ ๑๐๐ คน รวมทั้งหมด ๒๐๐ คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  ๒๕ บาท  x ๒ ครั้ง x ครั้งละ๑๐๐ คน x ๑ มื้อ เป็นเงิน  ๕,๐๐๐ บาท
  • ค่าป้ายโครงการ ขนาด ๑.๒ ม. x ๒.๔ ม. จำนวน ๑ ป้าย เป็นเงิน  ๔๓๒ บาท
  • ค่าถ่ายเอกสารชุดแบบประเมินความเสี่ยงในการทำงานของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช จำนวน  ๒๐๐ ชุด x ชุดละ ๓ บาท  เป็นเงิน  ๖๐๐ บาท -ค่าชุดทดสอบ จำนวน  ๒ ชุด x ชุดละ  ๖๒๔  บาท เป็นเงิน  ๑,๒๔๘ บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7280.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมคืนข้อมูลผลการตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือด และอบรมให้ความรู้ โดยแบ่งเป็น ๕ รุ่น รุ่นละ ๔๐ คน รวมทั้งหมด ๒๐๐ คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคืนข้อมูลผลการตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือด และอบรมให้ความรู้ โดยแบ่งเป็น ๕ รุ่น รุ่นละ ๔๐ คน รวมทั้งหมด ๒๐๐ คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  ๒๕ บาท x ๕ รุ่น x รุ่นละ ๔๐ คน x ๒ มื้อ เป็นเงิน  ๑๐,๐๐๐ บาท

  • ค่าอาหารกลางวัน ๕๐ บาท x ๕ รุ่น x รุ่นละ ๔๐ คน x ๑ มื้อ  เป็นเงิน  ๑๐,๐๐๐ บาท

  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ (กระดาษฟลิปชาร์ท /ปากกาเคมี/ปากกาลูกรื่น) เป็นเงิน ๑,๒๓๕ บาท -แผ่นพับความรู้สารพิษตกค้าง  จำนวน  ๒๐๐ แผ่น x แผ่นละ ๒ บาท เป็นเงิน  ๔๐๐  บาท
  • ค่าถ่ายเอกสารแบบทดสอบความรู้ ก่อน-หลัง จำนวน ๒๐๐ ชุด x ๒ ครั้ง (ก่อน-หลัง) x ชุดละ ๑ บาท  เป็นเงิน  ๔๐๐ บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร  จำนวน ๒ คน x คนละ ๓ ชม. x ชม.ละ ๖๐๐ บาท เป็นเงิน  ๓,๖๐๐ บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25635.00

กิจกรรมที่ 6 ติดตามตรวจคัดกรองซ้ำกลุ่มเกษตรกรที่มีผลการตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดมีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
ติดตามตรวจคัดกรองซ้ำกลุ่มเกษตรกรที่มีผลการตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดมีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าชุดทดสอบ จำนวน  ๑ ชุด x ชุดละ  ๖๒๔  บาท เป็นเงิน  ๖๒๔ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
624.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 34,539.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

กลุ่มเกษตรกรมีความรู้และตระหนักถึงเรื่องพิษภัยจากสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในเลือด มีการลดการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสามารถลดสารเคมีตกค้างในเลือดได้ ส่งผลให้เกิด”เกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย”


>