กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองม่วงงาม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมป้องกันโรคติดต่อโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลม่วงงาม ประจำปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองม่วงงาม

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงงาม

ตำบลม่วงงาม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคติดต่อเป็นโรคที่เกิดจากความไม่สมดุลของปัจจัยสามทางระบาดวิทยาคือ คน (Host)สิ่งก่อโรค(Agent) และสิ่งแวดล้อม (Environment) สามารถถ่ายทอด หรือติดต่อจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปยังอีกสิ่งมีชีวิตหนึ่งได้ โดยไม่จำกัดว่าสิ่งมีชีวิตนั้นจะเป็นมนุษย์หรือไม่ก็ตาม โรคติดต่ออาจ สามารถแพร่ไปสู่สิ่งมีชีวิตอื่นได้โดยการสัมผัสโดยตรง การสูดดมหายใจเอาเชื้อโรคที่แพร่จากผู้ป่วย การรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีเชื้อปนอยู่ หรือแม้แต่ผ่านตัวกลางที่เรียกว่าพาหะ หากโรคติดต่อนั้นๆมีการแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว สู่ชุมชนที่มีประชากรจำนวนมาก โรคดังกล่าวก็กลายเป็นโรคระบาด เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในระดับประเทศ ทั้งโรคติดต่ออุบัติใหม่อุบัติซ้ำ ที่คุกคามสุขภาพของคนทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม มีผลกระทบทางเศรษฐกิจ การเมือง ได้เป็นอย่างมาก นับวันจะทวีความรุนแรงและมีความยุ่งยากในการแก้ปัญหา เนื่องจากการความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคติดต่อหลายชนิด เชื้อโรคมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์และมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้น เจริญเติบโต ได้รวดเร็ว สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและเร็ว
ตำบลม่วงงาม พบโรคติดต่อที่เป็นปัญหาในพื้นที่ได้แก่โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะคือโรคไข้เลือดออก โรคติดต่อทางระบบหายใจ ได้แก่ โรคไข้หวัดใหญ่โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙และโรคติดต่ออื่นๆ ได้แก่ โรคมือเท้าปาก จากข้อมูลการเฝ้าระวังโรค (R๕๐๖) ตำบลม่วงงาม ย้อนหลัง ๓ ปี (ปี ๒๕๖๑-๒๕๖๓) พบ ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก๓๖๔.๔๕, ๑๑๙.๘๐ และ ๑๑๓.๗๗ ต่อแสนประชากรตามลำดับ โรคไข้หวัดใหญ่ ๗๔.๗๖ , ๑๖๗.๗๒ และ ๑๘.๙๖ ต่อแสนประชากรตามลำดับ และ โรคมือเท้าปาก ๗๔.๗๖, ๗๙.๘๓ และ ๑๑๓.๗๗ ต่อแสนประชากรตามลำดับ ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพแต่ยังส่งผลกระทบต่อจิตใจ และวิถีชีวิตความเป็นอยู่แก่ประชาชนไม่น้อย
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงงาม เล็งเห็นถึงความสำคัญในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อในพื้นที่ตำบลม่วงงาม เชื่อว่าหากประชาชนมีความรู้ ทราบถึงสาเหตุผลกระทบและแนวทางป้องกันโรคที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เพื่อให้ระมัดระวังและป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อโรค โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว และ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประชาชนในพื้นที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ จะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อสุขภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วมจากภาคท้องถิ่น และภาคประชาชน วางแผนป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่ โดยการดำเนินงานในลักษณะ “ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมประเมินผล และร่วมรับผิดชอบ” ในทุกระดับ จะสามารถแก้ไขต้นตอของปัญหาการเกิดโรค ประชาชนจะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทและ สภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ภายใต้ศักยภาพพื้นที่ของตนเอง หน่วยงานเกี่ยวข้องทุกระดับให้ความสำคัญกับ ปัญหาสุขภาพที่แท้จริงของพื้นที่เป็นหลัก สามารถเชื่อมโยงผสมผสานแนวคิด องค์ความรู้ เข้ากับบริบทของ พื้นที่ จึงจะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไปในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ ๑ เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจในการเฝ้าระวัง ควบคุมป้องกันโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชน

ข้อที่ ๑ กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจในการเฝ้าระวัง ควบคุมป้องกันโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชน ไม่น้อยกว่า ร้อยละ  ๘๐

0.00
2 ข้อที่ ๒ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ควบคุมป้องกันโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชน

ข้อที่ ๒ เกิดทีม  SRRT (ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว) ระดับตำบล

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 05/10/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 ตุลาคม 2564 ถึง 31 ตุลาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ประชาสัมพันธ์โครงการ เชิญชวนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์โครงการ เชิญชวนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าป้ายโครงการ ขนาด ๑.๒ ม. x ๒.๔ ม. จำนวน ๑ ป้าย เป็นเงิน  ๔๓๒ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
432.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมควบคุมป้องกันโรคติดต่อ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมควบคุมป้องกันโรคติดต่อ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๓.๑ กิจกรรมควบคุมป้องกันโรคติดต่อในสถานศึกษา
    ๓.๑.๑ อบรมให้ความรู้การควบคุมป้องกันโรคติดต่อแก่ครู  และผู้ปกครอง
     - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  ๒๕ บาท  x ๓ ศพด. x  ศพด.ละ ๓๐ คน x ๒ มื้อ เป็นเงิน  ๔,๕๐๐ บาท      - ค่าอาหารกลางวัน  ๕๐ บาท x ๓ ศพด. x  ศพด.ละ ๓๐ คน x ๑ มื้อ เป็นเงิน  ๔,๕๐๐ บาท     - ค่าแบบทดสอบความรู้ (ก่อน-หลัง) จำนวน ๓๐ แผ่นx แผ่นละ ๑ บาท x ๒ ครั้ง x ๓ ศพด. เป็นเงิน ๑๘๐ บาท                                                           รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  ๙,๑๘๐ บาท ๓.๒ กิจกรรมควบคุมป้องกันโรคติดต่อในชุมชน       ๓.๒.๑ อบรมให้ความรู้การควบคุมป้องกันโรคติดต่อ แก่ อสม. ผู้นำชุมชน ประชาชนทั่วไป
        - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  ๒๕ บาท x  ๓๐ คน x ๒ มื้อ x ๑๐ หมู่บ้าน     เป็นเงิน  ๑๕,๐๐๐ บาท       - ค่าอาหารกลางวัน ๕๐ บาท x  ๓๐ คน x ๑ มื้อ x ๑๐ หมู่บ้าน เป็นเงิน  ๑๕,๐๐๐ บาท       - ค่าวัสดุอุปกรณ์ (กระดาษฟลิปชาร์ท /ปากกาเคมี/ปากกา) เป็นเงิน ๑,๒๓๕ บาท       - ค่าแบบทดสอบความรู้ (ก่อน-หลัง) จำนวน ๓๐ แผ่นx แผ่นละ ๑ บาท x ๒ ครั้ง x ๑๐ หมู่บ้าน  เป็นเงิน ๖๐๐ บาท                                                           รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  ๓๑,๘๓๕ บาท   ๓.๒.๒ จัดตั้งทีม  SRRT (ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว) ระดับตำบล โดยมีการประชุมทีมอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง        -  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  ๒๕ บาท x  ๑๕ คน x ๑ มื้อ x ๓ ครั้ง เป็นเงิน  ๑,๑๒๕ บาท                                                           รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  ๑,๑๒๕  บาท ๓.๓ กิจกรรมควบคุมป้องกันโรคติดต่อในสถานบริการ ๓.๓.๑ จัดตั้งคลินิก ARI รักษาโรคระบบทางเดินหายใจ และจุดคัดกรองโรคในหน่วยบริการ (รพ.สต.)           - ค่าเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายอินฟาเรตพร้อมขาตั้ง จำนวน  ๑ เครื่อง x ๑,๙๙๐ บาท  เป็นเงิน ๑,๙๙๐ บาท
          - ค่าเครื่องจ่ายแอลกอฮอล์อัตโนมัติพร้อมชุดติดตั้ง จำนวน ๑ เครื่อง x ๓,๕๐๐  บาท  เป็นเงิน ๓,๕๐๐  บาท           -ค่าฉากกั้นอะคริลิค ป้องกันละออง จำนวน  ๑ ชิ้น x ๑,๑๐๐ บาท  เป็นเงิน ๑,๑๐๐ บาท
                                                                        รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  ๖,๕๙๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
48730.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 49,162.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนมีความรู้ในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อและเกิดการมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อในพื้นที่ สามารถลดอัตราการป่วยด้วยโรคติดต่อในชุมชนได้


>