กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมป้องกันโรคติดต่อโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลม่วงงาม ประจำปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65-L5268-1-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงงาม
วันที่อนุมัติ 21 กันยายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 49,162.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมมาศ วิไลประสงค์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อเป็นโรคที่เกิดจากความไม่สมดุลของปัจจัยสามทางระบาดวิทยาคือ คน (Host)สิ่งก่อโรค(Agent) และสิ่งแวดล้อม (Environment) สามารถถ่ายทอด หรือติดต่อจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปยังอีกสิ่งมีชีวิตหนึ่งได้ โดยไม่จำกัดว่าสิ่งมีชีวิตนั้นจะเป็นมนุษย์หรือไม่ก็ตาม โรคติดต่ออาจ สามารถแพร่ไปสู่สิ่งมีชีวิตอื่นได้โดยการสัมผัสโดยตรง การสูดดมหายใจเอาเชื้อโรคที่แพร่จากผู้ป่วย การรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีเชื้อปนอยู่ หรือแม้แต่ผ่านตัวกลางที่เรียกว่าพาหะ หากโรคติดต่อนั้นๆมีการแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว สู่ชุมชนที่มีประชากรจำนวนมาก โรคดังกล่าวก็กลายเป็นโรคระบาด เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในระดับประเทศ ทั้งโรคติดต่ออุบัติใหม่อุบัติซ้ำ ที่คุกคามสุขภาพของคนทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม มีผลกระทบทางเศรษฐกิจ การเมือง ได้เป็นอย่างมาก นับวันจะทวีความรุนแรงและมีความยุ่งยากในการแก้ปัญหา เนื่องจากการความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคติดต่อหลายชนิด เชื้อโรคมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์และมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้น เจริญเติบโต ได้รวดเร็ว สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและเร็ว
ตำบลม่วงงาม พบโรคติดต่อที่เป็นปัญหาในพื้นที่ได้แก่โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะคือโรคไข้เลือดออก โรคติดต่อทางระบบหายใจ ได้แก่ โรคไข้หวัดใหญ่โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙และโรคติดต่ออื่นๆ ได้แก่ โรคมือเท้าปาก จากข้อมูลการเฝ้าระวังโรค (R๕๐๖) ตำบลม่วงงาม ย้อนหลัง ๓ ปี (ปี ๒๕๖๑-๒๕๖๓) พบ ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก๓๖๔.๔๕, ๑๑๙.๘๐ และ ๑๑๓.๗๗ ต่อแสนประชากรตามลำดับ โรคไข้หวัดใหญ่ ๗๔.๗๖ , ๑๖๗.๗๒ และ ๑๘.๙๖ ต่อแสนประชากรตามลำดับ และ โรคมือเท้าปาก ๗๔.๗๖, ๗๙.๘๓ และ ๑๑๓.๗๗ ต่อแสนประชากรตามลำดับ ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพแต่ยังส่งผลกระทบต่อจิตใจ และวิถีชีวิตความเป็นอยู่แก่ประชาชนไม่น้อย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงงาม เล็งเห็นถึงความสำคัญในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อในพื้นที่ตำบลม่วงงาม เชื่อว่าหากประชาชนมีความรู้ ทราบถึงสาเหตุผลกระทบและแนวทางป้องกันโรคที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เพื่อให้ระมัดระวังและป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อโรค โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว และ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประชาชนในพื้นที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ จะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อสุขภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วมจากภาคท้องถิ่น และภาคประชาชน วางแผนป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่ โดยการดำเนินงานในลักษณะ “ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมประเมินผล และร่วมรับผิดชอบ” ในทุกระดับ จะสามารถแก้ไขต้นตอของปัญหาการเกิดโรค ประชาชนจะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทและ สภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ภายใต้ศักยภาพพื้นที่ของตนเอง หน่วยงานเกี่ยวข้องทุกระดับให้ความสำคัญกับ ปัญหาสุขภาพที่แท้จริงของพื้นที่เป็นหลัก สามารถเชื่อมโยงผสมผสานแนวคิด องค์ความรู้ เข้ากับบริบทของ พื้นที่ จึงจะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไปในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ ๑ เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจในการเฝ้าระวัง ควบคุมป้องกันโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชน

ข้อที่ ๑ กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจในการเฝ้าระวัง ควบคุมป้องกันโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชน ไม่น้อยกว่า ร้อยละ  ๘๐

0.00
2 ข้อที่ ๒ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ควบคุมป้องกันโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชน

ข้อที่ ๒ เกิดทีม  SRRT (ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว) ระดับตำบล

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 49,162.00 0 0.00
5 - 31 ต.ค. 64 กิจกรรมประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการ 0 0.00 -
5 ต.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 ประชาสัมพันธ์โครงการ เชิญชวนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 0 432.00 -
5 ต.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมควบคุมป้องกันโรคติดต่อ 0 48,730.00 -

๑. ประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ ๒. ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน ๓. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองม่วงงาม ๔. ประชาสัมพันธ์โครงการ เชิญชวนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม ๕. กิจกรรมควบคุมป้องกันโรคติดต่อ ดังนี้   ๕.๑ กิจกรรมควบคุมป้องกันโรคติดต่อในสถานศึกษา
      ๕.๑.๑ อบรมให้ความรู้การควบคุมป้องกันโรคติดต่อเกี่ยวกับโรคติดต่อที่มักเกิดกับกลุ่มวัยเรียน สถานการณ์โรค สุขวิทยาส่วนบุคคล  การมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อ แก่ครู นักเรียนและผู้ปกครองใน ศพด.ทั้ง ๓ แห่ง แห่งละ ๓๐ คน และในโรงเรียนประศึกษาใช้วิธีการให้ความรู้แก่นักเรียนหน้าเสาธง       ๕.๑.๒ ส่งเสริมการใช้แนวทางปฏิบัตินิเวศวิทยาเพื่อป้องกันโรคติดต่อในสถานศึกษา
  ๕.๒ กิจกรรมควบคุมป้องกันโรคติดต่อในชุมชน
      ๕.๒.๑ อบรมให้ความรู้การควบคุมป้องกันโรคติดต่อ เกี่ยวกับ สถานการณ์โรคติดต่อ การแลสุขภาพเบื้องต้น การเสริมพลังและสร้างการมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อ การควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดเมื่อเกิดโรคติดต่อ การสอดส่องค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ ตลอดจนการค้นหาและทำลายแหล่งรังโรคแก่ อสม. ผู้นำชุมชน ประชาชนทั่วไป ทุกหมู่บ้าน หมู่บ้านละ ๓๐ คน       ๕.๒.๒ จัดตั้งทีม SRRT (ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว) ระดับตำบลโดยมีการประชุมทีมอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง เพื่อชี้แจงสถานการณ์โรคติดต่อ พร้อมทั้งวิเคราะห์ถอดบทเรียนแนวทางการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อในพื้นที่       ๕.๒.๓ กิจกรรมรณรงค์ทำความสะอาดครั้งใหญ่ในชุมชน สถานที่สาธารณะ โรงเรียน ศาสนสถาน เป็นต้น
        ๕.๓ กิจกรรมควบคุมป้องกันโรคติดต่อในหน่วยบริการ (รพ.สต.)             ๕.๓.๑ จัดตั้งคลินิก ARI รักษาโรคระบบทางเดินหายใจ และจุดคัดกรองโรคในหน่วยบริการ (รพ.สต.)
๖. วิเคราะห์ สรุปผล/ ประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนมีความรู้ในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อและเกิดการมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อในพื้นที่ สามารถลดอัตราการป่วยด้วยโรคติดต่อในชุมชนได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2564 00:00 น.