กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันหิตสูง ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

รพ.สต.บ้านนาโหนด

1.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโหนด ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง 2. ศาลาหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ หมู่ที่ 1, 3 , 6 และ 10 ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง (คน)

 

1,724.00
2 จำนวนประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป กลุ่มตรวจพบเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (คน)

 

1,140.00

จากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ปี 2564 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโหนด ตำบลนาโหนด ประชากรกลุ่มเป้าหมาย 1,526 คน ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานจำนวน 1,430 คน คิดเป็นร้อยละ 93.70 พบมีภาวะเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน (ค่าน้ำตาลในเลือด มากกว่า 100 mg% ขึ้นไป) จำนวน 587 คนและได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 1,409 คน คิดเป็นร้อยละ 92.33 พบมีภาวะเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูง (ค่าความดันโลหิตมากกว่า 140/90 mmHg จำนวน 553 คน จากการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถดูแลตนเองในการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองขึ้นทะเบียน โรคเบาหวานรายใหม่ 18คน โรคความดันโลหิตสูง รายใหม่ 43 คน และรับการรักษาต่อเนื่องตามระบบ
ปัจจุบัน ประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไปในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโหนดมีทั้งสิ้นจำนวน1,724คน ขึ้นทะเบียนโรคเบาหวาน จำนวน 177 คน และโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 471 คนรวมจำนวนผู้ป่วย 648 คน รับยาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโหนด จำนวน 219 คนผู้ป่วยที่เหลือรับยาคลินิกเติมยาจากโรงพยาบาลพัทลุงและจากหน่วยบริการศูนย์สุขภาพชุมชนแม่ข่าย เพื่อการรักษาที่ต่อเนื่อง ลดอัตราป่วยและลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวมได้แก่ไตวายเรื้อรัง โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคหัวใจและหลอดเลือด และการถูกตัดขา/ตัดนิ้วได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโหนดตำบลนาโหนดจึงได้จัดทำโครงการคัดกรองโรคเบาหวาน/โรคความดันหิตสูง ปี 2565 ขึ้น เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในระยะเริ่มแรก กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เพื่อให้สามารถดูแลตนเองในการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ลดอัตราป่วยและลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และมีคุณภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง

ประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 95

1724.00 1637.00
2 เพื่อให้ประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปกลุ่มตรวจพบเป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปกลุ่มตรวจพบเป็นกลุ่่มเสี่ยงได้รับการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (คน)

1140.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป 1,724
ประชาชนอายุ35 ปีขึ้นไปทีมีความเสี่ยงเป็นโรค DM HT 1,140

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในระยะเริ่มแรก

ชื่อกิจกรรม
ค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในระยะเริ่มแรก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ทำแผนการออกปฏิบัติงานและประชาสัมพันธ์แผนการดำเนินงานในเขตรับผิดชอบผ่านทาง อสม.ผู้นำชุมชน และแกนนำกลุ่มต่าง ๆ
  2. เจาะโลหิตโดยเครื่อง DTX เพื่อวัดค่าน้ำตาลในเลือด และวัดความดันโลหิตในกลุ่มเป้าหมายพร้อมลงบันทึกและประเมินผล
  3. ผู้ป่วยที่ระดับน้ำตาลมากกว่าหรือเท่ากับ 100 mg% นัดเจาะซ้ำห่างจากครั้งแรก 4 สัปดาห์ ถ้าระดับน้ำตาลมากกว่าหรือเท่ากับ 126 mg% นัดเจาะซ้ำห่างจากครั้งที่ 2-4 สัปดาห์ ถ้าระดับน้ำตาลมากกว่าหรือเท่ากับ 126 mg % ส่งต่อโรงพยาบาลพัทลุงเพื่อรับการรักษาจากแพทย์ 4.ผู้ป่วยที่ระดับความดันโลหิตมากกว่าหรือเท่ากับ 120/80 mmHg นัดวัดความดันโลหิตซ้ำห่างจาก
    ครั้งแรก 4 สัปดาห์ ถ้าระดับความดันโลหิตมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 mmHg ส่งต่อโรงพยาบาลพัทลุงเพื่อรับการรักษาจากแพทย์ 5.แนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยให้สุขศึกษารายกลุ่ม
  4. ขึ้นทะเบียนผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่เพื่อการดูแลและรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
  5. ติดตามประเมินผลโดยการเยี่ยมบ้านเพื่อให้คำแนะนำผู้ป่วยและครอบครัว
  6. ประเมินผลกิจกรรม โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
    (1)กระดาษตรวจน้ำตาลในเลือด 50 กล่องๆ ละ 690 บาทเป็นเงิน34,500บาท
    (2)เครื่องเจาะน้ำตาลในเลือด 4เครื่องๆ 1,800 บาทเป็นเงิน7,200บาท
    (3) เข็มเจาะเลือด12 กล่องๆ ละ 1,200 บาทเป็นเงิน14,400บาท
    รวมเป็นเงิน 56,100บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2564 ถึง 31 มกราคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน คิดเป็นร้อยละ 95
  2. ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง คิดเป็นร้อยละ 95
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
56100.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.สำรวจกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในพื้นที่
2.จัดเตรียมเอกสาร เครื่องมือตรวจวัดต่าง ๆ
3.วันอบรมรับลงทะเบียนและเจาะเลือดปลายนิ้วเพื่อตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และให้ผู้เข้ารับการ อบรมนั่งพักก่อนวัดความดันโลหิตอย่างน้อย 15 นาที ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว หาดัชนีมวลกายแจ้งผลให้ทราบทันทีจะทำให้ผู้เข้ารับการอบรมสนใจที่จะเรียนรู้ต่อไปและตรวจสอบประวัติการรักษา เพื่อใช้เปรียบเทียบประเมินผลหลังการอบรม
4.ให้ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน สาเหตุของโรคปัจจัยเสริม อันตรายจากภาวะแทรกซ้อนและการปฏิบัติตน/การดูแลผู้ป่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนและควบคุมโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
5.ระดมความคิดในการหาวิธีเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ได้ผลและยั่งยืนเหมาะสมกับสภาพผู้เข้ารับการอบรมและสภาพพื้นที่ความเป็นอยู่

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชน กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้รับคำแนะนำ และได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 100 คน 2.ประชาชน กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง (ผู้ป่วยรายใหม่) ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่เกิดโรคแทรกซ้อน ร้อยละ 100 3.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง เกิดความตระหนักและสนใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเพิ่มขึ้นทำให้ทราบอันตรายที่อาจเกิดขึ้นและพฤติกรรมที่ควรปรับปรุง
  2. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูงที่ป่วยเป็นโรคได้รับการดูแลรักษาตามมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรค ได้รับการส่งต่อตามระบบ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 56,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน 1637 คน
2.ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 1637 คน
3.ประชาชน กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้รับคำแนะนำ และได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จำนวน 100 คน
4.ประชาชน กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง (ผู้ป่วยรายใหม่) ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่เกิดโรคแทรกซ้อน ร้อยละ 100
5.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง เกิดความตระหนักและสนใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเพิ่มขึ้นทำให้ทราบอันตรายที่อาจเกิดขึ้นและพฤติกรรมที่ควรปรับปรุง
6.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูงที่ป่วยเป็นโรคได้รับการดูแลรักษาตามมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรค ได้รับการส่งต่อตามระบบ ร้อยละ 100


>