กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันหิตสูง ปี 2565
รหัสโครงการ 65-3357-003
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านนาโหนด
วันที่อนุมัติ 19 ตุลาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 56,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศิริรัตน์ ด้วงคง
พี่เลี้ยงโครงการ นางกชกานต์ คงชู
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1724 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง (คน)
1,724.00
2 จำนวนประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป กลุ่มตรวจพบเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (คน)
1,140.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ปี 2564 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโหนด ตำบลนาโหนด ประชากรกลุ่มเป้าหมาย 1,526 คน ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานจำนวน 1,430 คน คิดเป็นร้อยละ 93.70 พบมีภาวะเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน (ค่าน้ำตาลในเลือด มากกว่า 100 mg% ขึ้นไป) จำนวน 587 คนและได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 1,409 คน คิดเป็นร้อยละ 92.33 พบมีภาวะเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูง (ค่าความดันโลหิตมากกว่า 140/90 mmHg จำนวน 553 คน จากการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถดูแลตนเองในการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองขึ้นทะเบียน โรคเบาหวานรายใหม่ 18คน โรคความดันโลหิตสูง รายใหม่ 43 คน และรับการรักษาต่อเนื่องตามระบบ ปัจจุบัน ประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไปในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโหนดมีทั้งสิ้นจำนวน1,724คน ขึ้นทะเบียนโรคเบาหวาน จำนวน 177 คน และโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 471 คนรวมจำนวนผู้ป่วย 648 คน รับยาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโหนด จำนวน 219 คนผู้ป่วยที่เหลือรับยาคลินิกเติมยาจากโรงพยาบาลพัทลุงและจากหน่วยบริการศูนย์สุขภาพชุมชนแม่ข่าย เพื่อการรักษาที่ต่อเนื่อง ลดอัตราป่วยและลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวมได้แก่ไตวายเรื้อรัง โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคหัวใจและหลอดเลือด และการถูกตัดขา/ตัดนิ้วได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโหนดตำบลนาโหนดจึงได้จัดทำโครงการคัดกรองโรคเบาหวาน/โรคความดันหิตสูง ปี 2565 ขึ้น เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในระยะเริ่มแรก กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เพื่อให้สามารถดูแลตนเองในการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ลดอัตราป่วยและลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และมีคุณภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง

ประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 95

1724.00 1637.00
2 เพื่อให้ประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปกลุ่มตรวจพบเป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปกลุ่มตรวจพบเป็นกลุ่่มเสี่ยงได้รับการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (คน)

1140.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 56,100.00 0 0.00
1 ธ.ค. 64 - 31 ม.ค. 65 ค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในระยะเริ่มแรก 0 56,100.00 -
1 ก.พ. 65 - 31 ส.ค. 65 อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน 1637 คน
2.ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 1637 คน
3.ประชาชน กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้รับคำแนะนำ และได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จำนวน 100 คน
4.ประชาชน กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง (ผู้ป่วยรายใหม่) ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่เกิดโรคแทรกซ้อน ร้อยละ 100
5.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง เกิดความตระหนักและสนใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเพิ่มขึ้นทำให้ทราบอันตรายที่อาจเกิดขึ้นและพฤติกรรมที่ควรปรับปรุง
6.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูงที่ป่วยเป็นโรคได้รับการดูแลรักษาตามมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรค ได้รับการส่งต่อตามระบบ ร้อยละ 100

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ต.ค. 2564 00:00 น.