กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำสินธุ์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารและพัฒนาศักยภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลลำสินธุ์ ปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำสินธุ์

เทศบาลตำบลลำสินธุ์

น.ส.พัชรีเกตุแดง

ตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่นับเป็นนวัตกรรมที่สำคัญในระบบสุขภาพ ของประเทศไทยในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการประสานหน่วยงานองค์กรและภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้ามาร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผน และส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพโดยสามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดอย่างเป็นรูปธรรมกับประชาชนมีเจตนารมณ์ในการสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีบทบาท ในการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่และสนับสนุนให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ ส่งเสริมให้บุคลากรด้านสาธารณสุขในพื้นที่ได้แสดงบทบาทในการสนับสนุนประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเอง ทั้งนี้ยังส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเองและการสร้างกลไกในสังคมที่จะต้องเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพให้ลุล่วง
เทศบาลตำบลลำสินธุ์ได้มีการดำเนินการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นและพื้นที่กับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยมีผลตั้งแต่ พ.ศ. 2553 เป็นกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลลำสินธุ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข หน่วยงานอื่น องค์กรหรือกลุ่มประชาชน เพื่อให้บุคคลสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อให้การดำเนินงานบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลลำสินธุ์ ดังนั้น เทศบาลตำบลลำสินธุ์ จึงได้จัดทำโครงการบริหารและพัฒนาศักยภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลลำสินธุ์ ปีงบประมาณ 2565 ขึ้น ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 ข้อ 10 (4) เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้งบประมาณที่ใช้ต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของค่ารายรับทั้งหมดของกองทุนฯ ในรอบปีงบประมาณนั้น และหากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการดำเนินงานในส่วนของค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง อาจสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้อีกไม่เกินร้อยละ 5

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพิจารณาอนุมัติแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพ

ร้อยละ 100 ของแผนงาน โครงการที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน

99.00 100.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลลำสินธุ์

ร้อยละ 90 ของคณะกรรมการกองทุนได้รับการพัฒนาศักยภาพ

80.00 90.00
3 เพื่อสร้างประสบการณ์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพกับหน่วยงานอื่น

กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลลำสินธุ์ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพกับหน่วยงานอื่น อย่างน้อย 1 ครั้ง

0.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 54

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อจัดทำแผนการเงิน อนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม พิจารณาเห็นชอบรายงานการเงิน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อจัดทำแผนการเงิน อนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม พิจารณาเห็นชอบรายงานการเงิน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1) ค่าตอบแทนการประชุมสำหรับกรรมการ/ที่ปรึกษากองทุน จำนวน19 คน × 300 บาท ×7 ครั้ง เป็นเงิน 39,900บาท

2) ค่าตอบแทนการประชุมสำหรับอนุกรรมการ/คณะทำงาน จำนวน5 คน × 200 บาท × 7 ครั้งเป็นเงิน 7,000บาท
3) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับกรรมการ อนุกรรมการ จำนวน 24 คน × 25 บาท ×7ครั้ง เป็นเงิน4,200 บาท

4) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม(นำเสนอแผนงานโครงการ ) จำนวน 20 คน × 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • มีการจัดทำแผนงานการเงิน ประจำปี 2565
  • มีแผนงาน โครงการที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติ อย่างน้อย จำนวน 20 โครงการ
  • คณะกรรมการกองทุนฯ เห็นชอบรายงานการเงินทุกไตรมาส
  • คณะกรรมการกองทุนฯ และที่ปรึกษา 19 คน -อนุกรรมการกองทุนฯ 5 คน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
51600.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมประชุม อนุกรรมการ LTC

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุม อนุกรรมการ LTC
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1) ค่าตอบแทนการประชุมสำหรับอนุกรรมการ LTC จำนวน10 คน × 300 บาท × 2 ครั้งเป็นเงิน 6,000บาท

2) ค่าตอบแทนการประชุมสำหรับอนุกรรมการ/คณะทำงาน จำนวน5 คน × 200 บาท × 2 ครั้ง เป็นเงิน 2,000บาท

3) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับอนุกรรมการLTC และอนุกรรมการกองทุนฯ จำนวน 15 คน × 25บาท ×2ครั้ง เป็นเงิน750บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • อนุกรรมการ LTC อนุมัติแผนการดูแลรายบุคคล (Care Plan) ครอบคลุมจำนวนผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง อย่างน้อยร้อยละ 90
  • อนุกรรมการ LTC เห็นชอบรายงานการเงิน
  • อนุกรรมการ LTC 10 คน -อนุกรรมการกองทุนฯ 5 คน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8750.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมตรวจรับการนิเทศ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจรับการนิเทศ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม  จำนวน 25 คน × 70  บาท ×  1  ครั้ง    เป็นเงิน    1,750  บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม    จำนวน 25 คน X 25  บาท X  1  ครั้ง        เป็นเงิน       625  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลลำสินธุ์ ได้รับการติดตามนิเทศ
  • คณะกรรมการกองทุนฯ คณะนิเทศ จำนวน 25 คน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2375.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานกองทุน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานกองทุน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายแก่ กรรมการ/อนุกรรมการ กองทุนฯ
    ได้แก่ ค่าอาหารกลางวัน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าพาหนะค่าไวนิลโครงการ
    ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก ค่าวิทยากร ค่าของที่ระลึก  ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
    เป็นเงิน  15,000   บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ร้อยละ 90 ของคณะกรรมการกองทุนได้รับการพัฒนาศักยภาพ
  • คณะกรรมการกองทุนฯ จำนวน 16 คน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

กิจกรรมที่ 5 ค่าวัสดุ/ ครุภัณฑ์

ชื่อกิจกรรม
ค่าวัสดุ/ ครุภัณฑ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวัสดุ/ ครุภัณฑ์                                                         เป็นเงิน  6,475   บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-กองทุนมีวัสดุ ครุภัณฑ์ ที่เพียงพอต่อการบริหารจัดการกองทุนฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6475.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 84,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน มีศักยภาพในการดำเนินงานบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลลำสินธุ์ เพิ่มขึ้น
2. คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลลำสินธุ์ มีความรู้ความเข้าใจเรื่องบทบาทหน้าที่ของ ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพิ่มขึ้น
3. การพิจารณาอนุมัติแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพ
4. กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลลำสินธุ์ มีการปฏิบัติงานที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง
5. หน่วยงาน องค์กร และกลุ่มประชาชนในพื้นที่มีความรู้ ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลลำสินธุ์
6. กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลลำสินธุ์ได้มีประสบการณ์ในการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ด้านการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพกับหน่วยงานอื่น


>