กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ชุมชนตำบลโคกชะงาย ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย

นางปานิมาส รุยัน ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย

หมู่ที่ 2, 3, 4 , 5 ,6 และ 8 ตำบลโคกชะงาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราป่วยด้วยโรคโควิด-19 (ต่อแสนประชากร)

 

418.01
2 ร้อยละของครัวเรือนที่สัมผัสผู้ป่วยยืนยันและต้องกักตัว

 

3.42

โรคไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) เกิดการระบาดทั่วโลก ติดต่อโดยการไอ จาม สัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย เป็นโรคที่ติดต่อจากคนสู่คน เกิดการแพร่ระบาดได้รวดเร็วมาก ระยะฟักตัวของโรค 7-14 วัน อาการไข้ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ไอ เจ็บคอ หายใจหอบเหนื่อย ปวดเมื่อยตามร่างกาย โรคนี้เป็นโรคอุบัติใหม่ที่ทุกประเทศเฝ้าระวังและดำเนินการป้องกันประชาชนไม่ให้เกิดการเสียชีวิตที่เพิ่มมากขึ้น ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้แจ้งสถานการณ์ทั่วโลก พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจำนวน254,050,592 ราย เสียชีวิต5,115,804 ราย สำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อสะสม 2,024,753 ราย เสียชีวิต 20,081 ราย อัตราป่วยตาย 991.78 ต่อแสนประชากร (ข้อมูลจากรายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ศูนย์ปฏิบัติการด้านข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019(COVID-19) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2564) สำหรับจังหวัดพัทลุงจากรายงานสถานการณ์ COVID-19ตั้งแต่มีการระบาดระลอกเมษายน 2564 มีผู้ป่วยยืนยันสะสม จำนวน 11,532 ราย เสียชีวิตสะสม จำนวน 92 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตาย 797.78 ต่อแสนประชากร จากการติดตามสถานการณ์ผู้ป่วยรายวัน พบว่าผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เกิดการระบาดภายในครัวเรือน กิจกรรมในชุมชน เช่น งานศพ งานแต่งงาน เป็นต้น
สถานการณ์การระบาด COVID-19 ในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต. บ้านโคกชะงาย จากข้อมูลงานระบาดวิทยา รพ.สต. บ้านโคกชะงาย ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยยืนยันสะสม จำนวน 13 ราย อัตราป่วย 418.01 ต่อแสนประชากร ยังไม่มีผู้เสียชีวิต มีกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด 53 ราย มีครัวเรือนที่กักตัว 29 ครัวเรือน มาตรการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคในพื้นที่ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายในชุมชนเป็นอย่างดีและดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง คือ 1) การค้นหาผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง 2) การรายงานผู้เดินทางเข้า ออกหมู่บ้าน 3) การตั้งจุดคัดกรองร้านค้า หน่วยงาน สถานที่ราชการ สถานที่สาธารณะ และกิจกรรมต่างๆในชุมชน 4) การรณรงค์การฉีดวัคซีนในประชากรอายุ 18 ปีขึ้นไปและให้ความรู้กับประชาชน 5)การกักตัวกลุ่มเสี่ยงสูง จำนวน 14 วัน และส่งตรวจหาเชื้อโควิด-19 ที่ รพ.พัทลุง จำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน 6) การให้บริการการเข้าถึงชุดตรวจ ATK แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงายจึงจัดโครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ชุมชนตำบลโคกชะงาย ปี 2565 ขึ้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19)ซึ่งจำเป็นต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย ดังนั้นจึงต้องมีการกระตุ้นเตือนประชาชนเรื่องความรู้ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชน และหน่วยงานต่างๆในเขตพื้นที่ รวมทั้งการพัฒนาแกนนำ อสม. ให้มีความรู้ความสามารถในการใช้ชุดตรวจ ATK เพื่อเป็นพี่เลี้ยงให้กับประชาชนและค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในชุมชน รวมทั้งการควบคุมโรคในพื้นที่กรณีมีผู้ป่วยหรือกลุ่มสัมผัสผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยงสูง กลุ่มเสี่ยงต่ำ ให้ได้รับการตรวจอย่างรวดเร็ว ป้องกันการแพร่ระบาดในครอบครัวและชุมชนและเพื่อลดอัตราป่วยและป้องกันไม่ให้มีผู้เสียชีวิตในพื้นที่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ อสม มึความรู้โรคโควิด-19 และเป็นแกนนำการเฝ้าระวัง ป้องกันโรคในชุมชน

อสม มึความรู้โรคโควิด-19 และเป็นแกนนำการเฝ้าระวัง ป้องกันโรคในชุมชน ร้อยละ 80

45.00 80.00
2 เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยง และควบคุมโรคในชุมชนได้อย่างรวดเร็ว

ร้อยละค้นหากลุ่มเสี่ยงและควบคุมโรคในชุมชนได้อย่างรวดเร็ว ภายใน 24 ชั่วโมง(กรณีที่มีผู้ป่วย)

100.00 100.00
3 ส่งต่อกลุ่มเสี่ยงสูงและผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลแม่ข่าย

ส่งต่อกลุ่มเสี่ยงสูงและผู้ป่วยทุกรายได้รับการไปยังโรงพยาบาลแม่ข่าย

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3,110
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) 52

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2022

กำหนดเสร็จ 31/07/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาศักยภาพ อสม. แกนนำ เฝ้าระวัง ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพ อสม. แกนนำ เฝ้าระวัง ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร จำนวน 2 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดืม จำนวน 52 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,600 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 52 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,600 บาท
  • ค่าชุดตรวจโควิด จำนวน 52 ชุด ๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน 13,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 30 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • อสม. ทุกคนผ่านการอบรม เป็นแกนนำ เฝ้าระวัง ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21800.00

กิจกรรมที่ 2 เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ชื่อกิจกรรม
เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • เครื่องวัดอุณหภูมิแบบขาตั้ง จำนวน 6 ตัว ๆ ละ 2,500 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท
  • เจลล้างมือ จำนวน 100 ขวด ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท
  • หน้ากากอนามัย จำนวน 100 กล่องละ 150 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท
  • ไฮเตอร์ทำความสะอาดฆ่าเชื้อ จำนวน 50 ขวด ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าจ้างเหมารถประชาสัมพันธ์ จำนวน 4 วัน ๆ ละ 1,500 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท
  • ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ ขนาด 1.8 x 1.5 เมตร ตรม.ละ 180 บาท จำนวน 8 ป้าย เป็นเงิน 3,888 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง เสี่ยงต่ำ และผู้ป่วยทุกราย ได้รับการตรวจและควบคุมการแพร่ระบาดโรคภายใน 24 ชั่วโมง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
50888.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งต่อ/ติดตาม กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ส่งต่อ/ติดตาม กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ส่งต่อ และติดตาม กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยในชุมชน (ไม่ใช้งบประมาณ)
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยในชุมชนทุกรายได้รับการส่งต่อและติดตาม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 72,688.00 บาท

หมายเหตุ :
- งบประมาณทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- อสม. ทุกคนผ่านการอบรม เป็นแกนนำ เฝ้าระวัง ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และมีทักษะตรวจหาโควิดด้วยชุดตรวจ ATK
- ประชาชนในชุมชนที่เป็นกลุ่่มเสี่ยงสูง เสี่ยงต่ำ ได้รับการค้นหาเชื้อโรคได้รวดเร็ว
- กลุ่มเสี่ยงสูง และผู้ป่วยได้รับการส่งต่อ ติดตามอาการเพื่อลดป้องกันการเสียชีวิต


>