กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย รหัส กปท. L3351

อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ชุมชนตำบลโคกชะงาย ปี 2565
2.
ชื่อ
check_box
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย
กลุ่มคน
นางปานิมาส รุยัน ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย
3.
หลักการและเหตุผล

โรคไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) เกิดการระบาดทั่วโลก ติดต่อโดยการไอ จาม สัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย เป็นโรคที่ติดต่อจากคนสู่คน เกิดการแพร่ระบาดได้รวดเร็วมาก ระยะฟักตัวของโรค 7-14 วัน อาการไข้ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ไอ เจ็บคอ หายใจหอบเหนื่อย ปวดเมื่อยตามร่างกาย โรคนี้เป็นโรคอุบัติใหม่ที่ทุกประเทศเฝ้าระวังและดำเนินการป้องกันประชาชนไม่ให้เกิดการเสียชีวิตที่เพิ่มมากขึ้น ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้แจ้งสถานการณ์ทั่วโลก พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจำนวน254,050,592 ราย เสียชีวิต5,115,804 ราย สำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อสะสม 2,024,753 ราย เสียชีวิต 20,081 ราย อัตราป่วยตาย 991.78 ต่อแสนประชากร (ข้อมูลจากรายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ศูนย์ปฏิบัติการด้านข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019(COVID-19) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2564) สำหรับจังหวัดพัทลุงจากรายงานสถานการณ์ COVID-19ตั้งแต่มีการระบาดระลอกเมษายน 2564 มีผู้ป่วยยืนยันสะสม จำนวน 11,532 ราย เสียชีวิตสะสม จำนวน 92 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตาย 797.78 ต่อแสนประชากร จากการติดตามสถานการณ์ผู้ป่วยรายวัน พบว่าผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เกิดการระบาดภายในครัวเรือน กิจกรรมในชุมชน เช่น งานศพ งานแต่งงาน เป็นต้น
สถานการณ์การระบาด COVID-19 ในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต. บ้านโคกชะงาย จากข้อมูลงานระบาดวิทยา รพ.สต. บ้านโคกชะงาย ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยยืนยันสะสม จำนวน 13 ราย อัตราป่วย 418.01 ต่อแสนประชากร ยังไม่มีผู้เสียชีวิต มีกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด 53 ราย มีครัวเรือนที่กักตัว 29 ครัวเรือน มาตรการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคในพื้นที่ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายในชุมชนเป็นอย่างดีและดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง คือ 1) การค้นหาผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง 2) การรายงานผู้เดินทางเข้า ออกหมู่บ้าน 3) การตั้งจุดคัดกรองร้านค้า หน่วยงาน สถานที่ราชการ สถานที่สาธารณะ และกิจกรรมต่างๆในชุมชน 4) การรณรงค์การฉีดวัคซีนในประชากรอายุ 18 ปีขึ้นไปและให้ความรู้กับประชาชน 5)การกักตัวกลุ่มเสี่ยงสูง จำนวน 14 วัน และส่งตรวจหาเชื้อโควิด-19 ที่ รพ.พัทลุง จำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน 6) การให้บริการการเข้าถึงชุดตรวจ ATK แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงายจึงจัดโครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ชุมชนตำบลโคกชะงาย ปี 2565 ขึ้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19)ซึ่งจำเป็นต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย ดังนั้นจึงต้องมีการกระตุ้นเตือนประชาชนเรื่องความรู้ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชน และหน่วยงานต่างๆในเขตพื้นที่ รวมทั้งการพัฒนาแกนนำ อสม. ให้มีความรู้ความสามารถในการใช้ชุดตรวจ ATK เพื่อเป็นพี่เลี้ยงให้กับประชาชนและค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในชุมชน รวมทั้งการควบคุมโรคในพื้นที่กรณีมีผู้ป่วยหรือกลุ่มสัมผัสผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยงสูง กลุ่มเสี่ยงต่ำ ให้ได้รับการตรวจอย่างรวดเร็ว ป้องกันการแพร่ระบาดในครอบครัวและชุมชนและเพื่อลดอัตราป่วยและป้องกันไม่ให้มีผู้เสียชีวิตในพื้นที่

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อให้ อสม มึความรู้โรคโควิด-19 และเป็นแกนนำการเฝ้าระวัง ป้องกันโรคในชุมชน
    ตัวชี้วัด : อสม มึความรู้โรคโควิด-19 และเป็นแกนนำการเฝ้าระวัง ป้องกันโรคในชุมชน ร้อยละ 80
    ขนาดปัญหา 45.00 เป้าหมาย 80.00
  • 2. เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยง และควบคุมโรคในชุมชนได้อย่างรวดเร็ว
    ตัวชี้วัด : ร้อยละค้นหากลุ่มเสี่ยงและควบคุมโรคในชุมชนได้อย่างรวดเร็ว ภายใน 24 ชั่วโมง(กรณีที่มีผู้ป่วย)
    ขนาดปัญหา 100.00 เป้าหมาย 100.00
  • 3. ส่งต่อกลุ่มเสี่ยงสูงและผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลแม่ข่าย
    ตัวชี้วัด : ส่งต่อกลุ่มเสี่ยงสูงและผู้ป่วยทุกรายได้รับการไปยังโรงพยาบาลแม่ข่าย
    ขนาดปัญหา 100.00 เป้าหมาย 100.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. พัฒนาศักยภาพ อสม. แกนนำ เฝ้าระวัง ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
    รายละเอียด
    • ค่าวิทยากร จำนวน 2 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดืม จำนวน 52 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,600 บาท
    • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 52 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,600 บาท
    • ค่าชุดตรวจโควิด จำนวน 52 ชุด ๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน 13,000 บาท
    งบประมาณ 21,800.00 บาท
  • 2. เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
    รายละเอียด
    • เครื่องวัดอุณหภูมิแบบขาตั้ง จำนวน 6 ตัว ๆ ละ 2,500 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท
    • เจลล้างมือ จำนวน 100 ขวด ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท
    • หน้ากากอนามัย จำนวน 100 กล่องละ 150 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท
    • ไฮเตอร์ทำความสะอาดฆ่าเชื้อ จำนวน 50 ขวด ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
    • ค่าจ้างเหมารถประชาสัมพันธ์ จำนวน 4 วัน ๆ ละ 1,500 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท
    • ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ ขนาด 1.8 x 1.5 เมตร ตรม.ละ 180 บาท จำนวน 8 ป้าย เป็นเงิน 3,888 บาท
    งบประมาณ 50,888.00 บาท
  • 3. ส่งต่อ/ติดตาม กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยในชุมชน
    รายละเอียด
    • ส่งต่อ และติดตาม กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยในชุมชน (ไม่ใช้งบประมาณ)
    งบประมาณ 0.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565

8.
สถานที่ดำเนินการ

หมู่ที่ 2, 3, 4 , 5 ,6 และ 8 ตำบลโคกชะงาย

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 72,688.00 บาท

หมายเหตุ : - งบประมาณทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • อสม. ทุกคนผ่านการอบรม เป็นแกนนำ เฝ้าระวัง ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และมีทักษะตรวจหาโควิดด้วยชุดตรวจ ATK
  • ประชาชนในชุมชนที่เป็นกลุ่่มเสี่ยงสูง เสี่ยงต่ำ ได้รับการค้นหาเชื้อโรคได้รวดเร็ว
  • กลุ่มเสี่ยงสูง และผู้ป่วยได้รับการส่งต่อ ติดตามอาการเพื่อลดป้องกันการเสียชีวิต
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย รหัส กปท. L3351

อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2565
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย รหัส กปท. L3351

อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 72,688.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................