กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โนนรัง รหัส กปท. L6599

อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการขยับกายไร้พุง
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
รพ.สต.โนนรัง
กลุ่มคน
นายณรงค์ บุญถูก
นางลักษณาภรณ์บุญโกศล
นางขัติยาภรณ์เหนือเกาะหวาย
นางสาวนงค์ลักษณ์ทับทิมหิน
นางอุไร หาสุข
3.
หลักการและเหตุผล

ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในด้านต่างๆที่มีความทันสมัยสะดวกสบายมากขึ้น ทำให้วิถีชีวิตของคนในปัจจุบันเปลี่ยนไป ประชาชนมีการออกกำลังกายน้อยลงทำให้ร่างกายอ่อนแอและปัจจุบันนี้ปัญหาโรคไม่ติดต่อได้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุขพบว่าโรคที่เป็นปัญหาในชุมชน ๕ อันดับแรกในกลุ่มโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โดยระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างและไขมันอุดตันในเส้นเลือด ผู้ป่วยที่พบส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงานและกลุ่มผู้สูงอายุ จากการสอบถามพบว่าผู้ป่วยขาดการออกกำลังกายและบริโภคอาหารไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน ซึ่งถ้าประชาชนได้บริโภคอาหารอย่างถูกสุขลักษณะและมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็จะสามารถลดปัญหาดังกล่าวลงได้ ปัจจุบันระบบสุขภาพของไทยที่เน้นการ "สร้าง " มากว่าการซ่อม สุขภาพ ซึ่งเป็นการเน้นระบบสุขภาพเชิงรุกและการสร้างสุขภาพ การอกกำลังกาย จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนเรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง การออกกำลังกายมีหลายวิธีตามแต่ความเหมาะสมและความต้องการของแต่ละบุคคล แต่ที่เหมาะสมที่ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ คือการออกกำลังด้วยการเดินและวิ่ง ซึ่งจะทำให้เป็นผลดีต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนรัง จัดทำโครงการขึ้นมาโดยเห็นว่า การออกกำลังด้วยการเดิน - วิ่งสามารถทำได้ทุกกลุ่มวัย เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยได้มีการออกกำลังกาย และ การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์แล้วยังช่วยเสริมสร้างให้ร่างกาย แข็งแรง ผ่อนคลายอารมณ์ เสริมสร้างความสามัคคี และมีความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเอง ลดความเสี่ยงต่อการ เกิดโรคดังกล่าวด้วย กลุ่มโรค NCDs (Non-Communicable diseases) คือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อหรือเกิดจากเชื้อโรค หากแต่เกิดจากปัจจัยต่างๆ ภายในร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากวิถีชีวิต หรือวิธีการใช้ชีวิตที่มีพฤติกรรมเสี่ยงจากการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารหวานมันเค็มจัด และมีความเครียดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมักจะค่อยๆ มีอาการและรุนแรงขึ้นทีละน้อยหากไม่ได้มีการรักษาควบคุมโดยเฉพาะโรคเบาหวาน จะนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นสาเหตุความพิการ การสูญเสียคุณภาพชีวิต และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรองค์การอนามัยโลก(WHO) ระบุว่ากลุ่มโรค NCDs นั้น ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จาก สถิติผู้เสียชีวิตจากกลุ่มโรค NCDs ในปี พ.ศ. 2552 พบว่าจำนวนการเสียชีวิตทั่วโลกไม่น้อยกว่า 35 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 63 และร้อยละ80 ของผู้เสียชีวิตเป็นประชากรของประเทศที่กำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทย ที่กลุ่มโรค NCDs เป็นฆาตกรฆ่าคนไทยเสียชีวิตเป็นอันดับหนึ่งคือ 300,000 คนต่อปี คิดเป็น 73% ของการเสียชีวิตซึ่งมากกว่าสาเหตุการเสียชีวิตอื่นๆ ทุกสาเหตุรวมกันถึง 3 เท่า ทั้งสถิติการเสียชีวิตดังกล่าวยังแสดงว่าประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตมากกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งโลกและมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ )ซึ่งจะส่งผลกระทบเป็นปัญหาสุขภาพขนาดใหญ่ของประเทศก่อปัญหาภาระกับคนรอบข้างผู้ป่วยทำลายคุณภาพประชากร และก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาล โดยรัฐต้องแบกรับต้นทุนที่เกิดจากโรคNCDs ถึง 200,000ล้านบาทต่อปี คิดเป็นต้นทุนที่คนไทยต้องแบกรับมูลค่าถึง 3,182 บาทต่อปี ทุกๆ ปี จะมีคนเสียชีวิตเพิ่มขึ้นปีละ 8,000 คน ซึ่งการแก้ปัญหานี้ จำเป็นต้องขอความร่วมมือจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่เฉพาะหน่วยงานด้านสาธารณสุข” (ทักษพล,2557) แนวโน้มคนไทยเป็นโรคเบาหวานมากขึ้น โดยสหพันธ์เบาหวานนานาชาติได้คาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ. 2583 ประเทศไทยจะมีผู้ป่วยเบาหวานสูงถึง 5.3 ล้านคน และคาดการณ์ว่าจะมีผู้สูงอายุ 1 คนในทุกๆ 5 คนเป็นโรคเบาหวานซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประมาณการณ์ว่า ปัจจุบันประเทศไทยจะต้องจัดสรรงบประมาณ ร้อยละ 11 ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพทั้งหมดสำหรับการดูแลรักษาโรคเบาหวานและคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 41 ภายในปี พ.ศ.2573 ซึ่งหากคนไทยป่วยด้วยโรคเบาหวาน รวม 3 ล้านคน/ปี จะต้องเสียค่ารักษาพยาบาลทั้งสิ้นประมาณ 47,596 ล้านบาท/ปี ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศและประชากร(สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, พ.ศ.2551) 3 ปีย้อนหลัง( ปี 2561-2563 ) อำเภอเขื่องในมีผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 5,609 ,5,814 และ 6,141 คน ตามลำดับ ในกลุ่มนี้เป็นผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 556 ,374 และ 535คนตามลำดับซึ่งมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆและเป็นอันดับหนึ่งของTop5ของผู้ป่วยที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มนี้หากไม่ได้รับการดูแลตนเองที่เหมาะสมจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นโรคที่ต้องรักษาต่อเนื่องมีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาสูงสาเหตุการเกิดภาวะแทรกซ้อนเกิดจากผู้ป่วยขาดความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ มีข้อแนะนำการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ที่แตกต่างกัน ได้แก่ เด็กปฐมวัย (0 - 5 ปี) ควรมีกิจกรรมทางกายที่หลากหลาย อย่างน้อย 180 นาทีต่อวัน เด็กและวัยรุ่น (6 - 17 ปี) ควรมีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางถึงหนัก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน ผู้ใหญ่ (18 - 59 ปี) ควรมีกิจกรรม ทางกายระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือกิจกรรมทางกายระดับหนัก อย่างน้อย 75 นาที ต่อสัปดาห์และกิจกรรมพัฒนาความแข็งแรงและความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อ อย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ผู้สูงวัย (60 ปีขึ้นไป) ควรมีกิจกรรมทางกายเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ แต่เพิ่มกิจกรรมพัฒนาสมดุลร่างกาย และป้องกันการหกล้ม อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ ปัจจุบันคนมีวิถีชีวิตเปลี่ยนไปขาดการมีกิจกรรมทางกาย มีกิจกรรมที่ใช้พลังงานต่ำ ที่เรียกว่า “พฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary Behaviour)” เช่น การนั่งเล่นโทรศัพท์มือถือ การใช้คอมพิวเตอร์ การนั่งคุยกับเพื่อน การนั่ง หรือนอนดูโทรทัศน์ ที่ไม่รวมการนอนหลับ มีแนวโน้มที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่งมากขึ้น โดยควร ลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง ด้วยการลุกขึ้นเดินไปมาหรือยืดเหยียดร่างกาย ทุก 1 ชั่วโมง ตลอดจนปัญหาเรื่องของปัญหาพฤติกรรมการกิน และรูปแบบการใช้ชีวิตที่เร่งรีบอันนำมาสู่โรคอ้วนและโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆจึงทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง และมีน้ำหนักตัวมากเกินไป ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ตลอดเวลา มีภาวะเสี่ยงต่อโรคอ้วน ตลอดจนโรคไข้หวัดเรื้อรังซึ่งมีผลต่อสุขภาพร่างกาย

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่
    ตัวชี้วัด : ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์) จำนวนผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ทั้งหมดในตำบล 2776 คน มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ 1721 คน มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ 1055 คน เป้าหมาย 1 ปี อย่างน้อยผู้มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอมีการปรับเปลี่ยนมีกิจกรรมทางกายเพียงพอ 844 คน
    ขนาดปัญหา 40.00 เป้าหมาย 80.00
  • 2. เพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน
    ตัวชี้วัด : ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชนเพิ่มขึ้นผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย 1934 คน มีการปรับพฤติกรรมออกกำลังกายเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1547 คน (จำนวนประชากรทั้งตำบล 4309 คน มีการออกกำลังกาย 2374 คน ไม่ออกกำลังกาย 1934 คน)
    ขนาดปัญหา 40.00 เป้าหมาย 80.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. ประชุมวางแผนและกำหนดกลุ่มเป้าหมาย
    รายละเอียด

    คณะกรรมการกองทุนตำบลร่วมกันประชุมวางแผนและกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ แต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน จัดทำโครงการ

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 2. สร้างความรู้ ความเข้าใจการมีกิจกรรมทางกาย
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม 1.สร้างการสื่อสารเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และรณรงค์เรื่องกิจกรรมทางกาย และการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งของคนในชุมชน เช่น การประชุมชี้แจงในเวทีระดับหน่วยงาน ตำบล หมู่บ้าน การจัดนิทรรศการ หอกระจายข่าวหมู่บ้าน
    2.รวบรวมและกระจายสื่อ สื่อเอกสารคลิปสั้น เพื่อการเรียนรู้ เชิญชวนให้คนมีกิจกรรมทางกาย ลดพฤติกรรมเนือยนิ่งด้านกิจกรรมทางกาย เ

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 3. การขับเคลื่อนกระบวน การนโยบายสาธารณะในพื้นที่เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกาย
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม
    1. นำเข้าสู่เวทีระดับตำบลเพื่อสร้างนโยบายของหน่วยงาน สถานประกอบการ ชุมชน ในการจัดสรรเวลา สถานที่ และส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย
    2. สร้างข้อตกลงชุมชน/ธรรมนูญตำบลในการใช้พื้นที่สาธารณะ การใช้เส้นทางสัญจร (เดิน/จักรยาน) ที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 4. การพัฒนาขีดความ สามารถเครือข่าย
    รายละเอียด

    จัดอบรมพัฒนาแกนนำในสถานประกอบการ แกนนำในชุมชน เพื่อถ่ายทอดและเป็นผู้นำเรื่องกิจกรรมทางกาย การลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง

    งบประมาณ 15,000.00 บาท
  • 5. จัดกิจกรรมทางกาย
    รายละเอียด

    จัดกิจกรรมทางกายในสถานประกอบการ ในชุมชน
    - ในชุมชน จัดให้มีการรวมกลุ่มออกกำลังกายทุกเย็นวันจันทร์ พุธ ศุกร์ วันละ 30 นาที โดยมีแกนนำออกกำลังกายในชุมชนเป็นผู้นำ - ในชุมชน ผู้ที่ไม่พร้อมการรวมกลุ่มออกกำลังกายในชุมชน ให้มีการทำกิจกรรมทางกายที่ครัวเรือน กำหนดทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ วันละ 30 นาที โดยมี ผู้นำออกำลังกาย และอสม. ออกเยี่ยมแนะนำการมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมในแต่ละบุคคล และติดตามสำรวจการปฏิบัติตามข้อตกลงเดือนละ 1 ครั้ง - ในหน่วยงาน สถานประกอบการ มีการจัดกิจกรรมทางกายก่อนทำงานและก่อนเลิกงานทุกวัน ครั้งละ 15 นาที

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 6. เยี่ยมเสริมพลังและการติดตามประเมินผล
    รายละเอียด
    1. ผู้นำกิจกรรมทางกาย ร่วมกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลออกเยี่ยมเสริมพลังผู้มีอายุ 18-64 ปี แนะนำกิจกรรมทางกาย รูปแบบต่างๆที่เหมาะสมตามบุคคล
    2. อสม. จัดเก็บข้อมูลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้มีอายุ 18-64 ปี
    3. จัดกิจกรรมประเมินภาวะสุขภาพ ดัชนีมวลกาย รอบเอว ความดันโลหิต
    4. รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล คืนข้อมูลหน่วยงาน สถานประกอบการ หมู่บ้าน
    งบประมาณ 0.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 3 มกราคม 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2565

8.
สถานที่ดำเนินการ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลโนนรัง

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 15,000.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

ประชาชนอายุ 18-64 ปี มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีกิจกรรมทางกายเพียงพอ

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โนนรัง รหัส กปท. L6599

อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2565
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.โนนรัง
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โนนรัง รหัส กปท. L6599

อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 15,000.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................