กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตะโหมด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะโหมด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตะโหมด

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะโหมด

1. นางสาวเพ็ญพิชชานวลสนอง
2. นางปราณีศรีนวลเอียด
3. นางวรลักษณ์สังขรัตนพันธ์
4. นางนุจรินทร์หละดำ
5. นางสาวจิราภารุ่งเรือง

เทศบาลตำบลตะโหมด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาของเด็กปฐมวัยประกอบด้วยปัญหาทางด้านสุขภาพและความปลอดภัยมีสาเหตุมาจากตัวเด็กเองและสภาพแวดล้อมตลอดจนปัจจัยในการเลี้ยงดูและพัฒนาการของเด็กแต่ละคน ปัญหาอาจเกิดขึ้นกับเด็กได้ทั้งที่บ้านและโรงเรียนผู้ปกครองและครูจึงต้องรู้เท่าทันภูมิหลังด้านสุขภาพของเด็กและมีความรอบคอบในการเตรียมรับมือกรณีที่เกิดปัญหาด้านสุขภาพและความปลอดภัยของเด็กแต่ละคนโดยเฉพาะการระมัดระวังการแพร่เชื้อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งหรือการเตรียมการซักซ้อมก่อนการเกิดอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันและเกิดความปลอดภัยแก่เด็กมากที่สุดอาจกล่าวได้ว่าสุขภาพและความปลอดภัยเมื่อนำมาพิจารณากันแล้วย่อมหมายถึง “ทั้งชีวิตของเด็ก”ปัญหาสุขภาพและความปลอดภัยของเด็กเกิดได้จากหลายสาเหตุซึ่งอาจจำแนกออกได้เป็น2ประเภทคือสาเหตุอันเกิดจากปัจจัยภายในและจากปัจจัยภายนอกซึ่งมักเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้
1. สาเหตุจากปัจจัยภายในซึ่งเกิดจากความผิดปกติในตัวเด็กเองโดยปัญหาของเด็กมักเกิดจากปัญหาดังต่อไปนี้-เด็กมีภูมิคุ้มกันต่ำซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะระบบภูมิคุ้มกันของเด็กยังไม่พัฒนาโดยสมบูรณ์นอกจากนี้อาจเกิดจากความผิดปกติทางร่างกายของเด็กเอง-โรคภูมิแพ้หรืออาการแพ้ประเภทต่างๆเช่นแพ้อาหารแพ้ยาแพ้สัตว์ปีกซึ่งอาจทำให้เด็กต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนในบางกรณี
2. สาเหตุจากปัจจัยภายนอกสำหรับปัจจัยภายนอกสิ่งแวดล้อมมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพและความปลอดภัยของเด็กซึ่งปัญหาที่เกิดกับเด็กส่วนใหญ่มักเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้-การติดเชื้อการติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดจากสิ่งมีชีวิตจำพวกแบคทีเรียหรือไวรัสซึ่งสามารถแพร่จากคนสู่คนได้อย่างง่ายได้ผ่านการสัมผัส (Cross-infection)-การเลี้ยงดูจากผู้ปกครองตั้งแต่หลังคลอดซึ่งครอบคลุมทั้งเรื่องของอาหารการกินไปจนถึงการดูแลเรื่องความปลอดภัยในชีวิตประจำวันของลูก-เด็กขาดประสบการณ์หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์-อุบัติเหตุประเภทต่างๆซึ่งอาจเกิดจากการหกล้มเพียงเล็กน้อยหรืออาจรุนแรงถึงอุบัติเหตุที่อาจนำไปสู่การสูญเสียอวัยวะหรือชีวิต-การได้รับสารพิษ-การรักษาความสะอาดที่ไม่ดีพอ
ดังนั้นหากเกิดปัญหาขึ้นกับสุขภาพและความปลอดภัยย่อมเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตประจำวันหรือการเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัวนอกจากนี้ยังขัดขวางต่อพัฒนาการของเด็กในทุกๆด้านอีกด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กปฐมวัยปัญหาที่เกิดกับสุขภาพและความปลอดภัยของเด็กยังรวมถึงความผิดปกติที่อาจติดตัวเด็กไปได้ตลอดชีวิตอาทิเช่นเด็กที่เป็นโรคขาดสารอาหารมักมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงหรืออาจมีร่างกายแคร่แกรนไม่เจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่ไม่สมวัยการช่วยเหลือป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพและความปลอดภัยในเด็กย่อมมีความสำคัญต่อชีวิตและอนาคตของเด็กและที่สำคัญคือครอบครัวของเด็กจะต้องเข้ามามีบทบาทและมีส่วนสำคัญในการดูแลให้เด็กทุกคนได้กินดีอยู่ดีมีที่อยู่ที่หลับนอนที่ปลอดภัยแต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีอีกหลายครอบครัวที่รายได้ไม่เพียงพอจุนเจือสมาชิกใหม่ในครอบครัวผู้ปกครองมีการศึกษาน้อยหรือมีถิ่นที่อยู่อาศัยในสภาวะแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของเด็กครอบครัวเหล่านี้จึงมีข้อจำกัดในการเลี้ยงดูเด็กให้เติบโตขึ้นมาได้อย่างเหมาะสมทั้งทางด้านร่างกายอารมณ์และสังคมยิ่งไปกว่านั้นเมื่อเด็กโตขึ้นนอกจากจะมีปัญหาสุขภาพแล้วพวกเขาเหล่านั้นยังอาจถ่ายทอดการเลี้ยงดูในแบบที่ตนเองได้รับไปสู่ลูกหลานเป็นวงจรที่สร้างปัญหาสุขภาพและความปลอดภัยไม่สิ้นสุดและไม่อาจได้รับการแก้ไขได้จนกว่าชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัวเหล่านั้นจะดีขึ้น
ด้วยเหตุนี้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะโหมดจึงต้องการมุ่งเน้นให้เห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมการออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพของเด็กรวมทั้งการดำเนินการเตรียมความพร้อมตามมาตรการการป้องกันควบคุมโรคมือเท้าปากอย่างเข้มข้นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและชุมชนจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำปีการศึกษา2565ขึ้นเพื่อส่งเสริมสุขภาพและสร้างการมีส่วนร่วมของเด็กปฐมวัยครูผู้ดูแลเด็กผู้ปกครองผู้ประกอบอาหารและผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบถึงความสำคัญของสุขภาพอนามัยและการรู้จักการดูแลสุขภาพร่างกายได้ด้วยตนเอง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ประกอบอาหาร และผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและสุขอนามัยของเด็กปฐมวัยที่ดี

 

0.00
2 เพื่อลดอัตราการป่วย จากโรคติดต่อจากการติดเชื้อ จากคนสู่คนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

 

0.00
3 เพื่อให้เด็กปฐมวัยรู้จักวิธีการออกกำลังกายอย่างง่ายๆ โดยการเล่นฟุตบอล และกีฬาตามความเหมาะสมและส่งเสริมพัฒนาการแห่งวัยของเด็ก

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากร  จำนวน 6  ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน  3,600 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน เป็นเงิน 5,700 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม(114 คน×2 มื้อ×25 บาท)  =  5,700  บาท   รวมเป็น เงิน 15,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ครูผู้ดูแลเด็กผู้ปกครองและผู้ประกอบอาหารมีความเข้าใจหลักโภชนาการของเด็กปฐมวัยและสุขภาพอนามัยที่ดี
2. ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยเด็ก
3. เด็กปฐมวัยรู้จักวิธีการออกกำลังกายอย่างง่ายๆ โดยการเล่นฟุตบอลและกีฬาตามความเหมาะสมและส่งเสริมพัฒนาการแห่งวัยของเด็ก
4. เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการตรวจสุขภาพอนามัยทุกคน


>