กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปันรักผู้พิการ เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ประจำปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

กลุ่มผู้พิการ เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. นายไสว เวทมาหะ ประธานกลุ่มผู้พิการ เบอร์โทร 087-2852145
2. นายทวีวัฒน์ เสาวิไล
3. นางสาวพิมใจ แซ่ติ้ว

ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันตำบลสุไหงโก-ลก มีผู้พิการทุกประเภทที่ขึ้นทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพผู้พิการ จำนวน 739 คน คิดเป็นร้อยละ 1.82 ของประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก การให้ความรู้อบรมพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้พิการให้กับผู้พิการและผู้ดูแลผู้พิการเป็นเรื่องสำคัญ นอกจากสุขภาพกายแล้วการพัฒนาสุขภาพใจของผู้พิการก็เป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญเช่นกัน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด – 19) ทำให้ผู้พิการผู้ซึ่งมีสภาพทางอารมณ์และจิตใจที่เปลี่ยนแปลงได้ง่ายต่อสิ่งเร้ารอบๆข้าง เกิดความเครียด ความกลัว ความวิตกกังวลมากขึ้น คนพิการจึงควรได้รับการส่งเสริมด้านจิตใจให้มากขึ้น การได้ร่วมทำกิจกรรมกับกลุ่มเพื่อน จะช่วยให้คนพิการไม่กลับไปหมกมุ่นอยู่กับภาพลักษณ์ของตนเอง รู้จักตนเอง รู้สึกมีคุณค่า มีกำลังใจที่จะสู้กับสภาพความเป็นจริง นำไปสู่การอยู่ร่วมกับครอบครัว ชุมชน และสังคมได้อย่างมีความสุข

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้พิการและผู้ดูแลผู้พิการได้รับการดูแลสุขภาพทั้งทางกาย จิตใจ สังคม และอารมณ์

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความพึงพอใจร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อให้ผู้พิการมีสภาพจิตใจที่ดีขึ้น พร้อมที่จะดำเนินชีวิตได้ปกติสุขทางสังคม

ร้อยละ 80 ของผู้พิการและผู้ดูแลผู้พิการได้รับการคัดกรองประเมินสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจโดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจ

0.00
3 เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจทั้งทางด้านการส่งเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสุขภาพจิตผู้พิการ

ร้อยละ 100 ของผู้พิการกลุ่มเสี่ยงได้รับการพัฒนาทางด้านกายและจิตใจ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้พิการและผู้ดูแลคนพิการ 20

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 18/07/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 นันทนาการบำบัดฟื้นฟูสุขภาพจิต

ชื่อกิจกรรม
นันทนาการบำบัดฟื้นฟูสุขภาพจิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้พิการ 20 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1. ประชุมปรึกษารูปแบบของโครงการ
2. นำเสนอโครงการเพื่ออนุมัติโครงการและงบประมาณ
3. ประสานวิทยากรมาอบรมให้ความรู้
4. ดำเนินการตามกำหนดการโครงการ ดังนี้
08.00 - 08.30 น. ลงทะเบียน
08.30 - 08.45 น. เปิดพิธี
08.45 - 12.00 น. อบรมกิจกรรมนันทนาการบำบัด
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 16.00 น. อบรมกิจกรรมนันทนาการบำบัด (ต่อ)
5. ทำแบบประเมินความรู้หลังการอบรม
งบประมาณ ดังนี้
- ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท X 20 คน เป็นเงิน 1,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท X 20 คน X 2 มื้อเป็นเงิน 1,000 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท x 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่าป้ายโครงการ เป็นเงิน 1,200 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรมเป็นเงิน 3,000 บาท สถานที่ดำเนินงาน : ห้องประชุมมหาราช เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความสุข ส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตผู้พิการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9800.00

กิจกรรมที่ 2 ปลูกผักปลอดสารพิษ (ปลูกผักในภาชนะ)

ชื่อกิจกรรม
ปลูกผักปลอดสารพิษ (ปลูกผักในภาชนะ)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ผู้พิการ 20 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1. ประชุมปรึกษารูปแบบของโครงการ
2. นำเสนอโครงการเพื่ออนุมัติโครงการและงบประมาณ
3. ประสานวิทยากรมาอบรมให้ความรู้
4. ดำเนินการตามกำหนดการโครงการ ดังนี้
08.00 - 08.30 น. ลงทะเบียน
08.30 - 08.45 น. เปิดพิธี
08.45 - 12.00 น. อบรมกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 - 16.00 น. อบรมกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ (ต่อ)
5. ทำแบบประเมินความรู้หลังการอบรม
งบประมาณ ดังนี้
- ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท X 20 คนเป็นเงิน 1,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท X 20 คน X 2 มื้อ เป็นเงิน 1,000 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท x 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน 2,000 บาท สถานที่ดำเนินการ : สวนสุขเกษตร สานฝันด้วยมือเรา กลุ่มผู้พิการ เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก (สวนรื่นอรุณ)

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้บริโภคผักปลอดสารพิษ ลดเสี่ยง ลดโรค ส่งผลต่อสุขภาพกายที่ดี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,400.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้พิการได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่อง
2. ผู้พิการมีสุขภาพกาย และสุขภาพใจที่ดีเสริมศักยภาพในการประกอบกิจวัตรประจำวันที่สำคัญในการดำรงชีวิตของคนพิการ
3. ผู้พิการและผู้ดูแลคนพิการมีกำลังใจ ตระหนักถึงคุณค่าของตัวเอง และแสดงศักยภาพที่ตนมีออกมาได้อย่างเต็มที่


>