กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเพิ่มกิจกรรมทางกายในชุมชน ลดโรค ลดพุง หุ่นดี ด้วย DPAC ประจำปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

กลุ่มอสม.รพ.สต.บ้านดอนศาลา

1.นางสาวลักษิกา เที่ยงธรรม 0928546168
2.นางสาวอารีย์ พูลสมบัติ
3.นางเพลินพิศ ขุนเศรษฐ์
4.นางยุพิน ชิตสุข
5.นางจรงค์ รักหนู

หมู่ที่ 4 ,ุ6 ,8,9, เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

50.51
2 ร้อยละของประชาชนที่มีค่าดัชนีมวลกาย เกิน

 

39.53
3 ร้อยละของคนในชุมชนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัดเป็นประจำ

 

42.22
4 ร้อยละของประชาชนที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง

 

23.00

พฤติกรรมและวิถีชีวิตมีผลอย่างมากต่อสุขภาวะของมนุษย์พฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ของแต่ละบุคคลเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเจ็บป่วยของบุคคลนั้นๆจากสถานการณ์ของคนไทยในปัจจุบันพบว่าโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเจ็บป่วยและการตายในลำดับต้นๆ ปัจจุบันคนไทยมีภาวะอ้วนและอ้วนลงพุงมากขึ้นจากพฤติกรรมบริโภคที่ไม่เหมาะสม โดยหันมาบริโภคอาหารรสหวานมันเค็ม และอาหารแปรรูปมากขึ้น รับประทานผักผลไม้น้อยลงและขาดการออกกำลังกาย ในปี2551ผลการสำรวจภาวะอ้วนลงพุงในประชาชนอายุ15 ปีขึ้นไปทั่วประเทศของกรมอนามัยพบว่าเพศชายมีรอบเอวเกิน90เซนติเมตรร้อยละ34 และเพศหญิงมีรอบเอวเกิน 80เซนติเมตรร้อยละ 58
จากผลการคัดกรองสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลา ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2564 พบว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคอ้วนจำนวน 360, 278, 279 , 343 ,270 ราย ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 52.71 ,40.70 ,40.84,56.23,39.53 ในปี พ.ศ. 2563 เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 170 รายคิดเป็นร้อยละ 20.43 และเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 97 รายคิดเป็นร้อยละ 57.06 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (COVID-19) การออกกำลังกายอย่างถูกต้อง เหมาะสมและต่อเนื่อง จะเป็นปัจจัยปกป้องที่สำคัญในการป้องกันโรค แต่เนื่องจากสถานการณ์ระยะนี้การที่ประชาชนจะออกกำลังกายในรูปแบบการรวมกลุ่มกันออกกำลังกาย หรือการออกำลังกายตามที่สาธารณะที่มีผู้คนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด 19 (COVID-19) และเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่กระจายโรคได้มากขึ้นซึ่งการปรับพฤติกรรมสุขภาพต้องใช้เวลานานพอสมควรจึงสำเร็จ ด้วยความตระหนักถึงความรุนแรงของโรคอ้วน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดที่คุกคามวิถีชีวิตและสุขภาวะของผู้ประกันตนในสถานประกอบการ ประชาชนในชุมชนและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลา ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลา นอกจากจะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนออกกำลังกายเพื่อมีสุขภาพที่แข็งแรง ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด 19 (COVID-19) แล้วโครงการนี้ยังการปลุกกระแสการสร้างสุขภาพโดยไม่จำเป็นต้องให้ประชาชนมารวมกลุ่มกันเพื่อทำกิจกรรม ซึ่งตอบโจทย์ของประเทศในการสร้างสุขภาพของคนไทยให้แข็งแรงมีภูมิต้านทานต่อโรค อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของโรค ทำให้การควบคุมการระบาดของโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ประเทศไทยผ่านพ้นภาวะวิกฤตินี้ไปในเร็ววันได้ด้วยความร่วมมือ และความสามัคคีของทุกคนในชาติ จึงได้ทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องภายใต้โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ลดพุงหุ่นดีด้วย DPAC โดยได้รับการสนับสนุนเงินงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทั้งนี้ได้นำแนวคิดพฤติกรรมสุขภาพ3 อ 2 ส มาใช้เป็นหลักในการวางแผนการดำเนินกิจกรรมโดยการเพิ่มพลังอำนาจในตนเองให้เกิดความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถตัดสินใจเลือกวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองและมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมได้อย่างเหมาะสมเพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดความมั่นใจในการแก้ปัญหาพฤติกรรมที่ทำให้เกิดความมั่นใจในการเริ่มต้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสูงขึ้นซึ่งจะส่งผลให้ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพก่อนที่จะเกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องและมีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนรวมทั้งมีแนวทางและเกิดทักษะในการดูแลสุขภาพตนเองจะช่วยลดการพึ่งพิงการรักษาและค่าใช้จ่ายในระดับทุติยภูมิและตติยภูมิซึ่งจะเสริมให้ทรัพยากรบุคลเป็นทุนมนุษย์ที่แข็งแรงของหน่วยงานและสังคมและประเทศชาติต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

50.51 55.00
2 เพื่อลดค่าดัชนีมวลกายของกลุ่มเสี่ยงที่มีค่าดัชนีมวลกายเกินให้มีค่าลดลง

ร้อยละของกลุ่มเสี่ยงที่มีค่าดัชนีมวลกายเกินมี่ค่าดัชนีมวลกายลดลง

39.53 30.00
3 เพื่อให้กลุ่มเสี่่ยงมีพฤติกรรมการบริโภคที่ดีขึ้นลดการดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัด

ร้อยละของกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมการบริโภคที่ดีขึ้น สามารถลดการดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัด

44.20 33.50

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมและแนวทางการดำเนินการ แก่แกนนำ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่รพสต. 2 คนอสมจำนวน 10คนรวม12 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 1 กุมภาพันธ์ 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้แกนนำโครงการและจำนวนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมชี้แจงประชาสัมพันธ์โครงการ อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการมีกิจกรรมทางกายและการบริโภคอาหารอาหารที่ปลอดภัยและคัดกรองผู้เข้าร่วมโครงการ และอบรมแกนนำในการออกกำลังกาย

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงประชาสัมพันธ์โครงการ อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการมีกิจกรรมทางกายและการบริโภคอาหารอาหารที่ปลอดภัยและคัดกรองผู้เข้าร่วมโครงการ และอบรมแกนนำในการออกกำลังกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินสุขภาพก่อนการเข้าร่วมโครงการ ประเมิน น้ำหนัก/ส่วนสูง/ดัชนีมวลกาย/รอบเอว/ความดันโลหิตและเจาะเลือดหาค่าระดับไขมันในเลือด กลุ่มเป้าหมาย 50 คน ประชุมชี้แจงประชาสัมพันธ์โครงการและอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการออกกำลังกาย สร้างความตระหนักและทัศนคติที่ดีในการออกกำลังกาย - ฝึกการใช้สมุดบันทึกและตั้งเป้าหมายวางแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม - ฝึกกิจกรรมเรื่องอาหาร - ฝึกทักษะการออกกำลังกาย 1.ค่าตอบแทน วิทยากรบรรยายวิชาการ ชั่วโมงละ600 บาท จำนวน 6 ชั่วโมง รวมเป็นเงิน 3600 บาท
2.ค่าตรวจหาระดับไขมันในเลือด จำนวน 50 คนๆ ละ 220 บาท รวมเป็นเงิน 11,000 บาท
3. ค่าอาหาร ครั้งที่ 1 3.1อาหารกลางวันจำนวน 50 คนๆละ 50 บาท รวมเป็นเงิน 2,500 บาท 3.2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน 50 คน ๆ ละ 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท รวมเป็น เงิน 2,500 บาท
4. ค่าจ้างจัดทำสมุดบันทึกสุขภาพ 50 เล่มๆ ละ 80 บาท รวมเป็นเงิน 4,000 บาท
5.ค่าจัดทำไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการฯ จำนวน 1 ป้าย ขนาด 1.2 x 2.8 เมตรเป็นเงิน 500 บาท 6.ค่าวัสดุสำนักงานและอุปกรณ์ในการออกกำลังกายจำนวน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 31 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • จำนวนกลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมกิจกรรม 50 คน
  • จำนวนกลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในกิจกรรมการใช้สมุดบันทึกและการตั้งเป้าหมาย / เรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ คิดเป็น ร้อยละ 100
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25600.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามประเมินผล ครั้งที่ 1

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผล ครั้งที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประเมินภาวะสุขภาพ โดยการติดตามสมุดบันทึกสุขภาพรายคน เดือนละ 1 ครั้ง
  • ทำกิจกรรมตั้งเป้าหมายในชีวิต / เทคนิคการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  • ฝึกออกกำลังกาย
  • ติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองและร่วมปรับวิธีการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  • แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  • ฝึกทักษะการเลือกและ จำกัดปริมาณอาหาร ค่าวิทยากรบรรยายวิชาการ ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 5 ชั่วโมง รวมเป็นเงิน 3,000บาท
    ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน 50 คน ๆ ละ 1 มื้อ มื้อละ 25 บาท รวมเป็นเงิน1,250 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ค่า BMI , เส้นรอบเอวเปลี่ยนแปลงดีขึ้นร้อยละ20 ของผู้เข้าร่วมโครงการ
  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ดีขึ้นวัดจากแบบประเมิน ร้อยละ 20
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4250.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามประเมินผล ครั้งที่ 2 พร้อมสรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผล ครั้งที่ 2 พร้อมสรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประเมินภาวะสุขภาพ หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 เดือน
  • ทำกิจกรรมการมองโลกในแง่ดี
  • แบ่งกลุ่มนำเสนอความภาคภูมิใจจากการเข้าร่วมโครงการ
  • ประกาศรายชื่อผู้ที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ดีเยี่ยม
  • แลกเปลี่ยนประสบการณ์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  • ฝึกทักษะการเลือกและจำกัดปริมาณอาหาร
  • ฝึกทักษะการออกกำลังกาย
  • ค่าตรวจหาระดับไขมันในเลือดหลังเข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 คนๆ ละ 220 บาทรวมเป็นเงิน 11,000 บาท
  • ค่าตอบแทน วิทยากรบรรยายวิชาการ ชั่วโมงละ600 บาท จำนวน 6 ชั่วโมง รวมเป็นเงิน 3,600บาท
  • อาหารกลางวันจำนวน 50 คนๆละ 50 บาทรวมเป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน 50 คน ๆ ละ 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท รวมเป็น เงิน 2,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 27 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ค่า BMI , เส้นรอบเอวเปลี่ยนแปลงดีขึ้นร้อยละ20 - ประชากรอายุ 18-64 ปีมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ร้อยละ 55

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 49,450.00 บาท

หมายเหตุ :
ถั่วเฉลี่ยกันได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการ
- มีความพึงพอใจต่อโครงการ
- มีความต้องการเข้าร่วมกิจกรรมต่อไป
- ให้คำแนะนำผู้อื่นต่อในด้านสุขภาพ
- ได้เครือข่ายในการดูแลสุขภาพตนเอง
- มีสุขภาพที่ดีขึ้น สามารถลดปริมาณการเจ็บป่วย และค่าใช้จ่ายในการรักษาและใช้ยาที่ไม่จำเป็นลง
-เกิดแกนนำในการออกกำลังกายในชุมชน


>