กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเพิ่มกิจกรรมทางกายในชุมชน ลดโรค ลดพุง หุ่นดี ด้วย DPAC ประจำปี 2565
รหัสโครงการ 65-L3325-2-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มอสม.รพ.สต.บ้านดอนศาลา
วันที่อนุมัติ 1 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2565 - 31 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 49,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวลักษิกา เที่ยงธรรม
พี่เลี้ยงโครงการ นางสมทรง ประยูรวงศ์
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
50.51
2 เพื่อให้คนในชุมชนมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในช่วงโควิด-19ได้เพิ่มขึ้น
23.33
3 ร้อยละของประชาชนที่มีค่าดัชนีมวลกาย เกิน
39.53
4 ร้อยละของคนในชุมชนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัดเป็นประจำ
42.22

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พฤติกรรมและวิถีชีวิตมีผลอย่างมากต่อสุขภาวะของมนุษย์พฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ของแต่ละบุคคลเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเจ็บป่วยของบุคคลนั้นๆจากสถานการณ์ของคนไทยในปัจจุบันพบว่าโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเจ็บป่วยและการตายในลำดับต้นๆ ปัจจุบันคนไทยมีภาวะอ้วนและอ้วนลงพุงมากขึ้นจากพฤติกรรมบริโภคที่ไม่เหมาะสม โดยหันมาบริโภคอาหารรสหวานมันเค็ม และอาหารแปรรูปมากขึ้น รับประทานผักผลไม้น้อยลงและขาดการออกกำลังกาย ในปี2551ผลการสำรวจภาวะอ้วนลงพุงในประชาชนอายุ15 ปีขึ้นไปทั่วประเทศของกรมอนามัยพบว่าเพศชายมีรอบเอวเกิน90เซนติเมตรร้อยละ34 และเพศหญิงมีรอบเอวเกิน 80เซนติเมตรร้อยละ 58 จากผลการคัดกรองสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลา ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2564 พบว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคอ้วนจำนวน 360, 278, 279 , 343 ,270 ราย ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 52.71 ,40.70 ,40.84,56.23,39.53 ในปี พ.ศ. 2563 เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 170 รายคิดเป็นร้อยละ 20.43 และเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 97 รายคิดเป็นร้อยละ 57.06 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (COVID-19) การออกกำลังกายอย่างถูกต้อง เหมาะสมและต่อเนื่อง จะเป็นปัจจัยปกป้องที่สำคัญในการป้องกันโรค แต่เนื่องจากสถานการณ์ระยะนี้การที่ประชาชนจะออกกำลังกายในรูปแบบการรวมกลุ่มกันออกกำลังกาย หรือการออกำลังกายตามที่สาธารณะที่มีผู้คนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด 19 (COVID-19) และเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่กระจายโรคได้มากขึ้นซึ่งการปรับพฤติกรรมสุขภาพต้องใช้เวลานานพอสมควรจึงสำเร็จ ด้วยความตระหนักถึงความรุนแรงของโรคอ้วน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดที่คุกคามวิถีชีวิตและสุขภาวะของผู้ประกันตนในสถานประกอบการ ประชาชนในชุมชนและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลา ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลา นอกจากจะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนออกกำลังกายเพื่อมีสุขภาพที่แข็งแรง ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด 19 (COVID-19) แล้วโครงการนี้ยังการปลุกกระแสการสร้างสุขภาพโดยไม่จำเป็นต้องให้ประชาชนมารวมกลุ่มกันเพื่อทำกิจกรรม ซึ่งตอบโจทย์ของประเทศในการสร้างสุขภาพของคนไทยให้แข็งแรงมีภูมิต้านทานต่อโรค อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของโรค ทำให้การควบคุมการระบาดของโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ประเทศไทยผ่านพ้นภาวะวิกฤตินี้ไปในเร็ววันได้ด้วยความร่วมมือ และความสามัคคีของทุกคนในชาติ จึงได้ทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องภายใต้โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ลดพุงหุ่นดีด้วย DPAC โดยได้รับการสนับสนุนเงินงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทั้งนี้ได้นำแนวคิดพฤติกรรมสุขภาพ3 อ 2 ส มาใช้เป็นหลักในการวางแผนการดำเนินกิจกรรมโดยการเพิ่มพลังอำนาจในตนเองให้เกิดความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถตัดสินใจเลือกวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองและมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมได้อย่างเหมาะสมเพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดความมั่นใจในการแก้ปัญหาพฤติกรรมที่ทำให้เกิดความมั่นใจในการเริ่มต้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสูงขึ้นซึ่งจะส่งผลให้ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพก่อนที่จะเกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องและมีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนรวมทั้งมีแนวทางและเกิดทักษะในการดูแลสุขภาพตนเองจะช่วยลดการพึ่งพิงการรักษาและค่าใช้จ่ายในระดับทุติยภูมิและตติยภูมิซึ่งจะเสริมให้ทรัพยากรบุคลเป็นทุนมนุษย์ที่แข็งแรงของหน่วยงานและสังคมและประเทศชาติต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

50.51 65.00
2 เพื่อให้คนในชุมชนมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในช่วงโควิด-19 เพิ่มขึ้น

เพิ่มจำนวนคนในชุมชนมีกิจกรรมทางกายเพียงพอในช่วงโควิด -19

23.33 33.55
3 เพื่อลดค่าดัชนีมวลกายของกลุ่มเสี่ยงที่มีค่าดัชนีมวลกายเกินให้มีค่าลดลง

ร้อยละของกลุ่มเสี่ยงที่มีค่าดัชนีมวลกายเกินมี่ค่าดัชนีมวลกายลดลง

39.53 20.00
4 เพื่อให้กลุ่มเสี่่ยงมีพฤติกรรมการบริโภคที่ดีขึ้นลดการดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัด

ร้อยละของกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมการบริโภคที่ดีขึ้น สามารถลดการดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัด

44.20 33.50
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 49,450.00 4 0.00
1 ก.พ. 65 กิจกรรมประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ 0 0.00 0.00
2 ก.พ. 65 - 31 มี.ค. 65 ประชุมชี้แจงประชาสัมพันธ์โครงการ อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการมีกิจกรรมทางกายและการบริโภคอาหารอาหารที่ปลอดภัยและคัดกรองผู้เข้าร่วมโครงการ และอบรมแกนนำในการออกกำลังกาย 0 25,600.00 0.00
1 เม.ย. 65 - 31 พ.ค. 65 ติดตามประเมินผล ครั้งที่ 1 0 4,250.00 0.00
1 มิ.ย. 65 - 27 ส.ค. 65 ติดตามประเมินผล ครั้งที่2 พร้อมสรุปผลการดำเนินงาน 0 19,600.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการ - มีความพึงพอใจต่อโครงการ - มีความต้องการเข้าร่วมกิจกรรมต่อไป - ให้คำแนะนำผู้อื่นต่อในด้านสุขภาพ - ได้เครือข่ายในการดูแลสุขภาพตนเอง - มีสุขภาพที่ดีขึ้น สามารถลดปริมาณการเจ็บป่วย และค่าใช้จ่ายในการรักษาและใช้ยาที่ไม่จำเป็นลง -เกิดแกนนำในการออกกำลังกายในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2564 11:04 น.