กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตะโหมด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดการความรู้ สุขภาพวิถีไทย รู้ทัน ภัยร้ายโรคโควิด 19

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตะโหมด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเรียน

เทศบาลตำบลตะโหมด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การส่งเสริมสุขภาพ เป็นมิติหนึ่งทางสุขภาพที่มีความสำคัญมากที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่อย่างปกติสุขในการส่งเสริมสุขภาพ จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายมิติสุขภาพ เข้าใจหลักและวิธีปฏิบัติในการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในการส่งเสริมสุขภาพได้อย่างถูกต้อง การที่ประชาชนจะหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพของตนเองนั้น จะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับตนเองแล้วเท่านั้นซึ่งการปฏิบัติตัวแบบนี้เป็นการรักษาตนเองที่ปลายเหตุไม่มีทางที่จะใช้ชีวิตโดยปราศจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆได้การจัดการแก้ปัญหาด้านสุขภาพที่ต้นเหตุของปัญหาต่างหากที่จะสามารถรักษาร่างกายมนุษย์ให้ดำรงอยู่แบบปราศจากโรคภัย สาเหตุที่ทำให้ประชาชนเกิดปัญหาทางสุขภาพมากที่สุด คือ การดำรงชีวิตในปัจจุบันที่ไม่รู้จักความเป็นอยู่ที่พอเพียง ทำให้ร่างกายเกิดความเครียด วิตกกังวล การบริโภคอาหารที่เป็นผลเสียต่อสุขภาพ รวมไปถึงการพักผ่อนไม่เพียงพอและปัญหาที่ตามมาอีกมากมาย การหันหลังกลับมาสนใจการใช้ชีวิตร่วมกับธรรมชาติ การพึ่งพาธรรมชาติตามแนวทางทฤษฏีการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกที่มุ่งการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยมองมิติทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสิ่งแวดล้อม สิ่งเหล่านี้ช่วยเพิ่มความสมดุลให้กับการใช้ชีวิตของมนุษย์ ดังนั้นการเพิ่มพูนความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมให้ประชาชนและชุมชน ให้สามารถดูแลตัวเองได้ในช่วงเวลาที่โรคโควิด19 ระบาด จึงนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดการส่งเสริมสุขภาพ ห่างไกลโรคโรคโควิด19อันเป็นภัยร้ายของโรคอุบัติใหม่ และโรคอื่นๆอย่างแท้จริง
การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยอาศัยการนำเอาองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและแพทย์ทางเลือก รวมถึงการนำเอาธรรมชาติรอบตัวมาใช้ เพื่อส่งเสริมสุขภาพ เช่นการรักษาโรคด้วยสมุนไพร การนวด อบ และประคบด้วยสมุนไพร การรับประทานอาหารตามหลักธรรมชาติบำบัด การทำสมาธิบำบัด การฝึกโยคะเพื่อสุขภาพ เป็นต้นเมื่อมีการนำองค์ความรู้เหล่านี้มาประยุกต์ใช้ร่วมกับการรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน แล้วน่าจะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถพึ่งตนในการดูแลรักษาสุขภาพตนเองได้ ประกอบกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเรียน มีบุคลากรในการดูแล ส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟูและรักษา ด้านการแพทย์แผนไทยอยู่แล้ว จึงเป็นโอกาสที่ดีที่บุคลากรสามารถให้บริการเข้าถึงในชุมชนด้วยการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกได้
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะเรียน จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวฯ ขึ้นมา เนื่องจากได้เล็งเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพด้านแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ซึ่งเป็นการป้องกันโรคที่ต้นเหตุของโรคต่าง ๆ ที่ทำให้พี่น้องประชาชนสุขภาพดีในช่วงเวลาที่โรคอุบัติใหม่อย่างโรคโตวิด19 ระบาด เพื่อใช้ชีวิตในชุมชนเทศบาลตำบลตะโหมดได้อย่างมีสุขภาวะและยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความรู้ด้านแพทย์แผนไทยและใช้การแพทย์ทางเลือกในการดูแลประชาชนในเรื่อง การดูแลเท้า การนวด อบ ประคบ สมุนไพร

: ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ กลุ่มเปราะบางและประชาชนในชุมชนเทศบาลตำบลตะโหมดได้รับการบริการแพทย์แผนไทยไม่น้อยกว่า 100 คน

0.00
2 เพื่อจัดการบริการการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกเชิงรุกให้บริการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยเรื้อรังและผู้พิการในชุมชน

ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุกลุ่มเปราะบางและประชาชนในชุมชนเทศบาลตำบลตะโหมดได้รับการบริการแพทย์แผนไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 95

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆละ 50 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 2,500 บาท 2. ค่าอาหารว่าง 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 2,500 บาท 3. ค่าวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท ภาคเช้า   การจัดการความรู้ (KM) 3 ชั่วโมง ภาคบ่าย ภาคปฏิบัติ  3 ชั่วโมง  เป็นเงิน 3,600 บาท 4. อุปกรณ์การสาธิตสมุนไพร นวด ประคบ อบ อาบ ชุดละ 100 บาท จำนวน 50 ชุด เป็นเงิน 5,000 บาท 5. ป้ายไวนิลโครงการฯ จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 600 บาท 6. เครื่องวัดความดันโลหิตสำหรับเยี่ยมบ้าน เครื่องละ 5,000 บาทจำนวน 2  เครื่อง เป็นเงิน 10,000บาท                     รวมเป็นเงิน 24,200บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุและประชาชนในชุมชนเทศบาลตำบลตะโหมด ได้รับการบริการ ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการดูแลด้านแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกเพิ่มขึ้น
2. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุและประชาชนในชุมชนเทศบาลตำบลตะโหมดได้รับการเยี่ยมบ้านและได้รับบริการแพทย์แผนไทยเชิงรุกอย่างเหมาะสมที่มีภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด 19


>