กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานลดน้ำตาล ลดภาวะแทรกซ้อน ปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย

นางปานิมาส รุยัน ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย

หมู่ที่ 2, 3, 4 , 5 ,6 และ 8 ตำบลโคกชะงาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานในชุมชน(พันประชากร)

 

52.41
2 ร้อยละของผู้ป่วยที่สามารถลดระดับน้ำตาลสะสม HbA1C มากกว่า 7 ให้น้อยกว่า 7 ได้

 

3.00

จากรายงานของสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย พบว่าในปี 2564 ประเทศไทยมีผู้ป่วยเบาหวาน 5 ล้านคน หรือ 1ใน 10 คนไทย ที่อายุ 15 ปีขึ้นไป กำลังป่วยด้วยโรคเบาหวาน และมีอัตราเพิ่มขึ้นประมาณ 100,000 คนต่อปี ซึ่งในจำนวนนี้มีถึง ร้อยละ 40 ที่ไม่รู้ว่าตัวเองป่วย ผู้ป่วยโรคเบาหวานหากไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ตา ไต และเท้า ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียคุณภาพชีวิต อีกทั้งส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจของครอบครัว
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้งหมด 382 คน(HDC,2564) จากผลการดำเนินงานผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมด จำนวน 165 คนในปีงบประมาณ 2564 จากผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมดสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี (DTX) เพียง ร้อยละ 44.24จากผลการตรวจเลือดประจำปีผุ้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลสะสมในเลือด HbA1C มากกว่า 7 เมื่อติดตามต่อพบว่าสามารถลดน้ำตาลสะสมในเลือด HbA1C ได้เพียง ร้อยละ 3.00ซึ่งผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ต้องเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของ ตา ไต และ เท้า ตามมาในอนาคต ในการแก้ไขป้องกันปัญหาโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยสูงเกินค่ามาตรฐาน จำเป็นต้องได้รับรับการรักษา ส่งเสริม และฟื้นฟูอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ตา ไต และเท้า จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานลดน้ำตาล ลดภาวะแทรกซ้อน ปีงบประมาณ 2565 ขึ้น เพื่อลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) ในผู้ป่วยเบาหวาน ให้น้อยกว่า 7 และส่งต่อผู้ป่วยที่มีน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) มากกว่า 7 โรงพยาบาลแม่ข่ายเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) ในผู้ป่วยเบาหวาน ให้น้อยกว่า 7

เพื่อลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) ในผู้ป่วยเบาหวาน ให้น้อยกว่า 7 ไม่น้อยร้อยละ 10

3.00 10.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) มากกว่า 7 ส่งต่อไปโรงพยาบาลแม่ข่าย

ผู้ป่วยที่มีน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) มากกว่า 7 ส่งต่อไปโรงพยาบาลแม่ข่าย ร้อยละ 100

85.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีผลตรวจ HbA1C มากกว่า 7 30

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/02/2022

กำหนดเสร็จ 31/07/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน (HbA1C มากกว่า 7)

ชื่อกิจกรรม
อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน (HbA1C มากกว่า 7)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร จำนวน 2 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 50 บาทเป็นเงิน 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน (HbA1C มากกว่า 7) ทุกรายได้เข้าร่วมโครงการ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6600.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมติดตามแลกเปลี่ยนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
ประชุมติดตามแลกเปลี่ยนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 750 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้เข้าร่วมโครงการได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์แนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมกัน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามกลุ่มเป้าหมายตรวจเลือดประเมินน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) และส่งต่อ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามกลุ่มเป้าหมายตรวจเลือดประเมินน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) และส่งต่อ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท  เป็นเงิน 750 บาท
  • ค่าตรวจเลือด จำนวน 30 คนๆละ 200 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้ป่วยที่มีน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) มากกว่า 7 ส่งต่อไปโรงพยาบาลแม่ข่าย ร้อยละ 100
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,100.00 บาท

หมายเหตุ :
- งบประมาณทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- ผู้เข้าร่วมโครงการได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์แนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมกัน
- ผุ้ป่วยสามารถลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) ในผู้ป่วยเบาหวาน ให้น้อยกว่า 7 ไม่น้อยร้อยละ 10
- ผู้ป่วยที่มีน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) มากกว่า 7 ส่งต่อไปโรงพยาบาลแม่ข่าย ร้อยละ 100-


>