กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานลดน้ำตาล ลดภาวะแทรกซ้อน ปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 2565-L3351-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย
วันที่อนุมัติ 30 กันยายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 กุมภาพันธ์ 2565 - 31 กรกฎาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2565
งบประมาณ 14,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปานิมาส รุยัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานในชุมชน(พันประชากร)
52.41
2 ร้อยละของผู้ป่วยที่สามารถลดระดับน้ำตาลสะสม HbA1C มากกว่า 7 ให้น้อยกว่า 7 ได้
3.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากรายงานของสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย พบว่าในปี 2564 ประเทศไทยมีผู้ป่วยเบาหวาน 5 ล้านคน หรือ 1ใน 10 คนไทย ที่อายุ 15 ปีขึ้นไป กำลังป่วยด้วยโรคเบาหวาน และมีอัตราเพิ่มขึ้นประมาณ 100,000 คนต่อปี ซึ่งในจำนวนนี้มีถึง ร้อยละ 40 ที่ไม่รู้ว่าตัวเองป่วย ผู้ป่วยโรคเบาหวานหากไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ตา ไต และเท้า ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียคุณภาพชีวิต อีกทั้งส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจของครอบครัว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้งหมด 382 คน(HDC,2564) จากผลการดำเนินงานผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมด จำนวน 165 คนในปีงบประมาณ 2564 จากผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมดสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี (DTX) เพียง ร้อยละ 44.24จากผลการตรวจเลือดประจำปีผุ้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลสะสมในเลือด HbA1C มากกว่า 7 เมื่อติดตามต่อพบว่าสามารถลดน้ำตาลสะสมในเลือด HbA1C ได้เพียง ร้อยละ 3.00ซึ่งผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ต้องเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของ ตา ไต และ เท้า ตามมาในอนาคต ในการแก้ไขป้องกันปัญหาโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยสูงเกินค่ามาตรฐาน จำเป็นต้องได้รับรับการรักษา ส่งเสริม และฟื้นฟูอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ตา ไต และเท้า จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานลดน้ำตาล ลดภาวะแทรกซ้อน ปีงบประมาณ 2565 ขึ้น เพื่อลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) ในผู้ป่วยเบาหวาน ให้น้อยกว่า 7 และส่งต่อผู้ป่วยที่มีน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) มากกว่า 7 โรงพยาบาลแม่ข่ายเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) ในผู้ป่วยเบาหวาน ให้น้อยกว่า 7

เพื่อลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) ในผู้ป่วยเบาหวาน ให้น้อยกว่า 7 ไม่น้อยร้อยละ 10

3.00 10.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) มากกว่า 7 ส่งต่อไปโรงพยาบาลแม่ข่าย

ผู้ป่วยที่มีน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) มากกว่า 7 ส่งต่อไปโรงพยาบาลแม่ข่าย ร้อยละ 100

85.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 14,100.00 3 14,100.00
15 ก.พ. 65 - 30 มิ.ย. 65 อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน (HbA1C มากกว่า 7) 0 6,600.00 6,600.00
1 มี.ค. 65 - 31 ก.ค. 65 ประชุมติดตามแลกเปลี่ยนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 0 750.00 750.00
1 เม.ย. 65 - 31 ก.ค. 65 ติดตามกลุ่มเป้าหมายตรวจเลือดประเมินน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) และส่งต่อ 0 6,750.00 6,750.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ผู้เข้าร่วมโครงการได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์แนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมกัน
  • ผุ้ป่วยสามารถลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) ในผู้ป่วยเบาหวาน ให้น้อยกว่า 7 ไม่น้อยร้อยละ 10
  • ผู้ป่วยที่มีน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) มากกว่า 7 ส่งต่อไปโรงพยาบาลแม่ข่าย ร้อยละ 100-
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2565 00:00 น.