กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่ามิหรำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่ามิหรำ

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลท่ามิหรำ

1.นางกรุณาวิสโยภาส
2.นายเสริมขวัญนุ้ย
3. นายสุทินจันทระ
4.นางพัฒน์ ชุสุดรักษ์
5.นางพีรนุชเหน็บบัว

ม.1-ม.10 ตำบลท่ามิหรำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออก (Dengue Hemorrhagic Fever) ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญทั่วโลกและมีการแพร่ระบาดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตและเข้ารับการรักษาพยาบาลมาก ซึ่งเกิดขึ้นได้ทุกกลุ่มวัย ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกถือเป็นโรคประจำถิ่น โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ (Dengue virus) โดยมียุงลายบ้าน เป็นพาหะนำโรคและพบว่ามีการระบาดมากในช่วงปลายฤดูฝน การระบาดมักจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมของทุกปี แต่จะพบผู้ป่วยสูงที่สุดในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคมของทุกปี
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกของประเทศไทยณ วันที่ ๒ ตุลาคม2563 มีผู้ป่วยทั้งหมด 59,842 ราย อัตราป่วยต่อแสน 90.26 ตาย จำนวน38 ราย อัตราตายร้อยละ 0.06 สำหรับภาคใต้มีผู้ป่วยอยู่อันดับ 2ของ ประเทศ
จังหวัดพัทลุง ข้อมูลผู้ป่วยตั้งแต่ 1 มกราคม 2563- 30 กันยายน 2563 มีผู้ป่วยทั้งหมด 147ราย อัตราป่วยร้อยละ 118.66 ไม่มีผู้ป่วยตาย จังหวัดพัทลุง มีผู้ป่วยอยู่อันดับที่๒๐ของประเทศ
สำหรับตำบลท่ามิหรำ มีจำนวนผู้ป่วย 5 ปีย้อนหลัง ดังนี้ปี พ.ศ. 2559จำนวน 12 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 204.46 ต่อแสนประชากร ปี พ.ศ.2560มีผู้ป่วย 12 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 203.53 ต่อแสนประชากรปี พ.ศ. 2561 มีผู้ป่วยจำนวน 4 ราย คิดเป็นอัตราป่วย67.28ต่อแสนประชากรปี พ.ศ. 2562 มีผู้ป่วยจำนวน 14 ราย อัตราป่วยต่อแสน254.55จะเห็นว่าปี 2563 จำนวน16 ราย อัตราป่วยต่อแสน๒80.71จะเห็นว่าปี 2564มีผู้ป่วยลดลงจำนวน0 ราย อัตราป่วยต่อแสน0ลดลงแต่ลักษณะการระบาดของโรคไข้เลือดออก จะไม่แน่นอน ซึ่งขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยและจากการดำเนินกิจกรรมตามโครงการปี 2565 ส่งผลให้อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นไม่มากเมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นดังนั้น ชมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลท่ามิหรำ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำเลือดและกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่ามิหรำจึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกประจำปี 2565 ขึ้น โดยเน้นการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นประชาชนให้เกิดความตระหนักและร่วมกันรับผิดชอบในการดำเนินงานเพื่อป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพ และเพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลท่ามิหรำต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 800
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมส่งเสริมป้องกัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมป้องกัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 กิจกรรมย่อย
๑ อสม.ออกสำรวจลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนที่รับผิดชอบ
- ค่าถ่ายเอกสารแบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย จำนวน 1,000 แผ่น x 0.50 บาท เป็นเงิน 500 บาท
๒ จนท.และผู้พ่น ออกพ่นหมอกควันใน ร.ร.ก่อนเปิดเทอมทั้ง 2 เทอม รวม 3 โรง
- ค่าจ้างพ่นครั้งละ 900 บาท x 2 ครั้งเป็นเงิน 1,800 บาท -ค่าน้ำมันใส่เครื่องพ่นครั้งละ 700 บาทx 2 ครั้ง เป็นเงิน 1,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

บ้านที่พบลูกน้ำยุงลายมีจำนวนลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3700.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมควบคุมโรค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมควบคุมโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • พ่นหมอกควันกรณีมีการเกิดโรค -สำรวจลูกน้ำยุงลาย ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง -พ่นสเปรย์กรณีบ้านผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดในการพ่นหมอกควัน -แจกทรายอะเบทแก่บ้านที่เกิดโรคและบ้านในรัศมี 100 เมตรจากบ้านที่เกิดโรค งบประมาณ ค่าสารกำจัดลูกน้ำยุงลาย 6 ถังๆละ 5,000 บาท เป็นเงิน 30,000 บาท -ค่าโลชั่นทากันยุงชนิดซอง จำนวน 800 ซองๆละ 8 บาท เป็นเงิน 6,400 บาท -ค่าสเปรย์พ่นยุงขนาด 300 มล.จำนวน 100 กระป๋องๆละ 75 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท -ค่าหน้ากากกันสารเคมี จำนวน 5 ชิ้นๆละ150 บาท เป็นเงิน 750 บาท -ค่าน้ำยาเคมีจำนวน 2 ขวดๆ ละ 1,650บาท เป็นเงิน 3,300 บาท -ค่าจ้างพ่นหมอกควันกรณีเกิดโรค เป็นเงิน 7,000 บาท
    -ค่าน้ำมันสำหรับผสมในเครื่องพ่นหมอกควัน เป็นเงิน 7,000 บาท
    *ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลายลดลง
1. จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกลดลงจากค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง 2. ประชาชนให้ความร่วมมือในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
61950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 65,650.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>