กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปลูกและกินผักปลอดสารพิษ เพื่อการสุขภาพดี หมู่ที่ 11 ตำบลหารเทา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

ชมรม อสม. หมู่ที่ 11 ตำบลหารเทา

1. นางจารุวรรณ ช่วยบำรุง
2. นางยุภาว ดีชุมผอม
3. นางกัญาพัณณ์ ขวัญมุณี
4. นางสมหมาย ชูสวัสดิ์
5. นางเสาวลักษณ์ พิพิธพันธ์

หมู่ที่ 11 ตำบลหารเทา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัย

 

45.00
2 ร้อยละครัวเรือนที่ทำการเกษตรแบบปลอดภัย/อินทรีย์

 

30.00
3 ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม

 

30.00

ปัจจุบันผักที่นำมาใช้ปรุงอาหารในครัวเรือนเป็นผักที่จัดซื้อจากท้องตลาด ซึ่งผักส่วนใหญ่มีการปนเปื้อนสารเคมี โดยปกติก่อนการปรุง ถึงจะล้างทำความสะอาดอย่างดี แต่อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถชะล้างสารตกค้างออกได้ทั้งหมด ส่งผลให้ผู้บริโภคอยู่ในภาวะความเสี่ยงทางด้านสุขภาพอย่างน่าเป็นห่วง ทั้งนี้เนื่องจากการบริโภคพืชผักและผลไม้ที่ไม่ปลอดภัยทำให้มีการสะสมสารพิษภายในร่างกายอาจก่อให้เกิดภาวะความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและการเกิดโรคชนิดต่างๆ ได้ซึ่งเป็นการบั่นทอนทรัพยากรมนุษย์ระยะยาวหากเด็กรับประทานผักมีสารเคมีปนเปื้อน แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการรณรงค์ส่งเสริมในเรื่องการลดละเลี่ยงเลิกการใช้สารพิษในการเกษตรแต่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงชินกับรูปแบบเดิมโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยทางด้านสุขภาพของผู้บริโภคการปลูกพืช ผักสวนครัวที่ไร้สารพิษตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทำให้ผู้บริโภคมีสุขภาพร่างกายที่ดีสมาชิกในครอบครัวมีกิจกรรมร่วมกันใช้เป็นอาหารในครัวเรือนลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนพึ่งพาตนเองและสามารถดำเนินชีวิตให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ลดความเสี่ยงจากสารเคมีสะสมในร่างกาย เพื่อให้สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง จากการได้รับประทานผักปลอดสารพิษ ในปริมาณที่เพียงพอและรับประทานผักที่ปลอดสารพิษ ทำให้สุขภาพดีแข็งแรงปลอดจากสารพิษตกค้าง และเป็นการแก้ปัญหาการว่างงานและส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจชุมชนและนำไปเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพในอนาคตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดีด้วยการกินผักปลอดสารพิษ

ร้อยละ 70 ประชาชนมีสุขภาพดีด้วยการกินผัก

50.00 70.00
2 เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการปลูกผักปลอดสารพิษ

ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการปลูกผักปลอดสารพิษ

40.00 70.00
3 ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจวิธีการปลูกผักปลอดสารพิษ และสามารถปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

ร้อยละ 80 ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจวิธีการปลูกผักปลอดสารพิษ

60.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ 10
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/06/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมฝึกอบรม การสาธิตฝึกปฏิบัติ ความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษเรื่องการเตรียมดิน การผลิตปุ๋ยชีวภาพ
- ค่าวิทยากร ชม.ละ 600x5 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน คนละ 70 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
- ค่าอาหารว่าง จำนวน 50 คน คนละ 20 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,000 บาท
- ค่าวัสดุ อุปกรณ์ สาธิต การฝึกอบรม ได้แก่ กากน้ำตาล , หัวเชื้อจิลินทรย์, มูลไก่แห้ง,แกลบดิบ,และรำละเอียด รวมเป็นเงิน 5,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กรกฎาคม 2565 ถึง 15 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 50 คน มีความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษเรื่องการเตรียมดิน การผลิตปุ๋ยชีวภาพ ที่ถูกต้อง มากกว่า ร้อย 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมฝึกอบรม การสาธิตฝึกปฏิบัติ ความรู้เรื่อง โรคที่เกิดจากอาหารที่มีสารปนเปื้อนในอาหาร และ การผลิตน้ำหมักชีวภาพ น้ำยากำจัดแมลงชีวภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมฝึกอบรม การสาธิตฝึกปฏิบัติ ความรู้เรื่อง โรคที่เกิดจากอาหารที่มีสารปนเปื้อนในอาหาร และ การผลิตน้ำหมักชีวภาพ น้ำยากำจัดแมลงชีวภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมฝึกอบรม การสาธิตฝึกปฏิบัติ ความรู้เรื่อง โรคที่เกิดจากอาหารที่มีสารปนเปื้อนในอาหารและ การผลิตน้ำหมักชีวภาพ น้ำยากำจัดแมลงชีวภาพ
- ค่าวิทยากร ชม.ละ 600x2 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,200 บาท
- ค่าอาหารว่าง จำนวน 50 คน คนละ 20 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,000 บาท
- ค่าวัสดุ อุปกรณ์ สาธิต การฝึกอบรม ได้แก่ นำ้หมักจุลินทรย์ , กากกน้ำตาล, ไข่ไก่และถังหมักรวมเป็นเงินเป็นเงิน 4,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 กรกฎาคม 2565 ถึง 22 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 50 คน มีความรู้เรื่องโรคที่เกิดจากอาหารที่มีสารปนเปื้อนในอาหาร  และ การผลิตน้ำหมักชีวภาพ น้ำยากำจัดแมลงชีวภาพที่ถูกต้อง มากกว่า ร้อย 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7000.00

กิจกรรมที่ 3 การตรวจสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดผู้เข้าร่วมกิจกรรม ก่อน - หลัง โครงการ

ชื่อกิจกรรม
การตรวจสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดผู้เข้าร่วมกิจกรรม ก่อน - หลัง โครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การตรวจสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดขอสนับสนุน จาก รพ.สต.บ้านฝาละมี
- ค่าน้ำยา และอุปกรณ์ ตรวจหาสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดครั้งละ 2000 บาท จำนวน 4,000 บาท
- ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน ตรวจหาสารเคมีตกค้างในกระแสนเลือด จำนวน 2 คน จำนวน 2 ครั้ง ๆละ 1,000 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กรกฎาคม 2565 ถึง 23 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกษตรกร ได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด จำนวน 50 คน - เกษตรกร ได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด ผลการตรวจปลอดภัย อย่างน้อย ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

กิจกรรมที่ 4 เยี่ยม ติดตาม สนับสนุนครัวเรือน ที่ปลูกและกิน ผักปลอดสารเคมี

ชื่อกิจกรรม
เยี่ยม ติดตาม สนับสนุนครัวเรือน ที่ปลูกและกิน ผักปลอดสารเคมี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เยี่ยม ติดตาม สนับสนุนครัวเรือน ที่ปลูกและกิน ผักปลอดสารเคมี ในหมู่บ้าน มีค่าใช้จ่ายดังนี้
- ค่าของขวัญ รางวัล แก่ครัวเรือน ที่ปลูกและกิน ผักปลอดสารเคมี อย่างต่อเนื่อง จำนวน3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีครัวเรือน ที่ปลูกและกิน ผักปลอดสารเคมี อย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย 50 ครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีสุขภาพดีด้วยการกินผักปลอดสารพิษ
2. ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการปลูกผักปลอดสารพิษในชุมชน
3. มีความรู้ความเข้าใจวิธีการปลูกผักปลอดสารพิษ และสามารถปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวัน


>