กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปลูกและกินผักปลอดสารพิษ เพื่อการสุขภาพดี หมู่ที่ 11 ตำบลหารเทา
รหัสโครงการ 65-L3339-02-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. หมู่ที่ 11 ตำบลหารเทา
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 มิถุนายน 2565 - 31 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2565
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรม อสม. หมู่ที่ 11 ตำบลหารเทา
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัย
45.00
2 ร้อยละครัวเรือนที่ทำการเกษตรแบบปลอดภัย/อินทรีย์
30.00
3 ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม
30.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันผักที่นำมาใช้ปรุงอาหารในครัวเรือนเป็นผักที่จัดซื้อจากท้องตลาด ซึ่งผักส่วนใหญ่มีการปนเปื้อนสารเคมี โดยปกติก่อนการปรุง ถึงจะล้างทำความสะอาดอย่างดี แต่อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถชะล้างสารตกค้างออกได้ทั้งหมด ส่งผลให้ผู้บริโภคอยู่ในภาวะความเสี่ยงทางด้านสุขภาพอย่างน่าเป็นห่วง ทั้งนี้เนื่องจากการบริโภคพืชผักและผลไม้ที่ไม่ปลอดภัยทำให้มีการสะสมสารพิษภายในร่างกายอาจก่อให้เกิดภาวะความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและการเกิดโรคชนิดต่างๆ ได้ซึ่งเป็นการบั่นทอนทรัพยากรมนุษย์ระยะยาวหากเด็กรับประทานผักมีสารเคมีปนเปื้อน แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการรณรงค์ส่งเสริมในเรื่องการลดละเลี่ยงเลิกการใช้สารพิษในการเกษตรแต่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงชินกับรูปแบบเดิมโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยทางด้านสุขภาพของผู้บริโภคการปลูกพืช ผักสวนครัวที่ไร้สารพิษตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทำให้ผู้บริโภคมีสุขภาพร่างกายที่ดีสมาชิกในครอบครัวมีกิจกรรมร่วมกันใช้เป็นอาหารในครัวเรือนลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนพึ่งพาตนเองและสามารถดำเนินชีวิตให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ลดความเสี่ยงจากสารเคมีสะสมในร่างกาย เพื่อให้สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง จากการได้รับประทานผักปลอดสารพิษ ในปริมาณที่เพียงพอและรับประทานผักที่ปลอดสารพิษ ทำให้สุขภาพดีแข็งแรงปลอดจากสารพิษตกค้าง และเป็นการแก้ปัญหาการว่างงานและส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจชุมชนและนำไปเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพในอนาคตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดีด้วยการกินผักปลอดสารพิษ

ร้อยละ 70 ประชาชนมีสุขภาพดีด้วยการกินผัก

50.00 70.00
2 เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการปลูกผักปลอดสารพิษ

ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการปลูกผักปลอดสารพิษ

40.00 70.00
3 ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจวิธีการปลูกผักปลอดสารพิษ และสามารถปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

ร้อยละ 80 ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจวิธีการปลูกผักปลอดสารพิษ

60.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,000.00 0 0.00
15 ก.ค. 65 กิจกรรมให้ความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษ 0 14,000.00 -
15 ก.ค. 65 - 23 ก.ย. 65 การตรวจสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดผู้เข้าร่วมกิจกรรม ก่อน - หลัง โครงการ 0 6,000.00 -
22 ก.ค. 65 กิจกรรมฝึกอบรม การสาธิตฝึกปฏิบัติ ความรู้เรื่อง โรคที่เกิดจากอาหารที่มีสารปนเปื้อนในอาหาร และ การผลิตน้ำหมักชีวภาพ น้ำยากำจัดแมลงชีวภาพ 0 7,000.00 -
1 ส.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 เยี่ยม ติดตาม สนับสนุนครัวเรือน ที่ปลูกและกิน ผักปลอดสารเคมี 0 3,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีสุขภาพดีด้วยการกินผักปลอดสารพิษ
  2. ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการปลูกผักปลอดสารพิษในชุมชน
  3. มีความรู้ความเข้าใจวิธีการปลูกผักปลอดสารพิษ และสามารถปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวัน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2565 00:00 น.