กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคด้านทันตกรรมสำหรับเด็ก ตำบลนาด้วง อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย ปี 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคด้านทันตกรรมสำหรับเด็ก ตำบลนาด้วง อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

โรงพยาบาลนาด้วง

1078

1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแสงเจริญ2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กป่าหวาย 13. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กป่าหวาย 4. โรงเรียนเทศบาลนาด้วง 5. โรงเรียนชุมชนนาด้วง 6. โรงเรียนบ้านแก้วเมธี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ฟันและอวัยวะในช่องปากเป็นด่านแรกของระบบย่อยอาหาร และมีความสำคัญสำหรับการติดต่อสื่อสารของผู้คนในสังคมแต่จากรายได้ที่เพิ่มขึ้นของประชาชนและสภาพสังคมที่เร่งรีบ ทำให้พฤติกรรมการบริโภคของคนเปลี่ยนไป เด็กวัยประถมศึกษาเป็นวัยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคฟันผุในฟันถาวร เนื่องจากเป็นวัยที่มีฟันถาวรทยอยขึ้นมาในช่องปาก ซึ่งฟันที่เพิ่งขึ้นจะยังไม่แข็งแรงต้องมีการสะสมแร่ธาตุอีกประมาณ 2 ปี ทำให้ช่วงระยะเวลา2ปีแรกนี้เป็นช่วงที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุมากที่สุด และเมื่อผุแล้วจะมีการลุกลามอย่างรวดเร็ว ประกอบกับฟันที่เพิ่งขึ้นยังไม่เกิดการสึกหรอจากการใช้งาน ทำให้มีหลุมและร่องฟันที่ลึกเป็นที่สะสมของคราบจุลินทรีย์ จึงมักจะตรวจพบการผุบริเวณนี้เป็นส่วนใหญ่
ข้อมูลทางระบาดวิทยาแสดงให้เห็นว่า โรคฟันผุจะเกิดขึ้นในตำแหน่งนี้สูงมากที่สุด การสำรวจสภาวะ ทันตสุขภาพระดับประเทศ ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2560 แสดงให้เห็นว่าเด็กอายุ 3 ปี พบผู้ปราศจากโรคฟันผุในเด็กอายุ 3 ปี ร้อยละ 47.1 ในเด็กอายุ 5 ปี มีแนวโน้มการปราศจากโรคฟันผุเพิ่มขึ้นคือร้อยละ 24.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กก่อนวัยเรียน ทั้ง 2 กลุ่มอายุประมาณร้อยละ 40.0 มีคราบจุลินทรีย์อยู่ในระดับเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ พบฟันผุ ระยะเริ่มต้นในเด็กอายุ 3 ปี และ 5 ปี ร้อยละ 31.1 และร้อยละ 31.3 ตามลำดับ และฟันกรามแท้เป็นฟันซี่ที่มีความสำคัญต่อการบดเคี้ยวอาหารตลอดช่วงชีวิต ฟันกรามแท้ซี่ที่ 1 เป็นฟันที่ขึ้นมาในช่องปากตั้งแต่อายุ 6 ปีและเปรียบเสมือนเสาหลักที่จะใช้ในการเรียงตัวของฟันซี่อื่นๆ ในช่องปากที่ทยอยขึ้นตามมา ในเด็กกลุ่มอายุ 12 ปีจะมีฟันผุที่ฟันกรามแท้ร้อยละ 52 และอีกร้อยละ 36.70 เป็นฟันที่มีภาวะความเสี่ยงและจำเป็นต้องได้รับบริการป้องกันด้วยการเคลือบหลุมร่องฟัน โดยเฉลี่ย 1.4 ซี่/คน
การป้องกันและควบคุมโรคฟันผุในฟันกรามซี่นี้ จะต้องนับตั้งแต่ฟันที่เริ่มขึ้นมาในช่องปากคืออายุ6 ปีและหากต้องการป้องกันไม่ให้เกิดการผุ จะต้องให้บริการเคลือบหลุมร่องฟันตั้งแต่ในกลุ่มเด็กนัดเรียนชั้นป. 1 –ป.๖ และฟันซี่นี้จะขึ้นเต็มที่โดยที่อยู่ในแนวบดเคี้ยวอาหารเมื่อเด็กอายุ 8 ปี (ชั้นป. 3) ซึ่งการติดตามคุณภาพการยึดแน่นเป็นการประเมินประสิทธิภาพในการป้องกันโรคในช่วงวัยนี้และจะทำให้สามารถเคลือบหลุมร่องฟันซ้ำในกรณีที่มีการหลุดออกหรือมีแนวโน้มจะเกิดฟันผุ
ในกรณีของเด็กอายุ 12 ปี จะมีฟันกรามแท้ซี่ที่ 2 ซึ่งเป็นฟันกรามที่ขึ้นถัดจากฟันกรามแท้ซี่ที่ 1 เข้าไปโดยที่จะเกิดการผุที่ด้านบดเคี้ยวของฟันซี่นี้ในเด็กอายุ 12 ปี เช่นเดียวกับกรณีฟันกรามแท้ซี่ที่ 1 ในเด็ก ป. 1 การตรวจสุขภาพช่องปากเด็กในชั้น ป.1 ป.3 และ ป. 6 เป็นกลุ่มอายุดัชนีที่หากสามารถติดตามเฝ้าระวังและให้บริการ
ทันตกรรมป้องกันด้วยการเคลือบหลุมร่องฟันในฟันกรามทั้ง 2 ซี่นี้ จะทำให้รักษาฟันของเด็กซึ่งยังประโยชน์ในการบดเคี้ยวตลอดช่วงชีวิต จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากในเขตเทศบาลตำบลนาด้วง ในปี 2564 พบเด็กอนุบาลมีฟันน้ำนมผุร้อยละ 55.35เด็กประถมศึกษา ป.1-ป.6 มีฟันแท้ผุร้อยละ 14.48
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคด้านทันตกรรมสำหรับเด็กดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง กลุ่มงานบริการทางการแพทย์ งานทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลนาด้วง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคด้านทันตกรรม เด็กไทยฟันดี ปี 2565 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เด็กอนุบาล และเด็กประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ทุกคน ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก
2. เพื่อให้เด็กประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟัน
3. เพื่อสร้างสุขนิสัยและฝึกทักษะการดูแลความสะอาดช่องปากให้แก่เด็กนักเรียน
4. เพื่อป้องกันโรคฟันผุ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 359
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 719
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 แปรงฟัน

ชื่อกิจกรรม
แปรงฟัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

37,730

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
37730.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 37,730.00 บาท

หมายเหตุ :
จัดซื้อวัสดุสาธิตการฝึกปฏิบัติการแปรงฟันที่ถูกวิธี(ประกอบด้วยแปรงสีฟันและยาสีฟัน) เพื่อจัดสรรให้เด็กชั้นอนุบาล – ป.๖ จำนวน1, 078 คนๆ 1 ชุด ๆ ละ ๓๕ บาท เป็นเงิน ๓๗,๗๓๐ บาท
รวมเป็นเงิน 37,730 บาท(สามหมื่นเจ็ดพันเจ็ดร้อยสามสิบบาทถ้วน)

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. เด็กชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 1 - 6 ได้รับบริการเคลือบหลุมร่องฟันไม่น้อยกว่าร้อยละ3๐ของกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด
๒. เด็กกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการตรวจสุขภาพช่องปากและลงบันทึกในฐานข้อมูลร้อยละ ๑๐๐
๓. สถานศึกษาระดับประถมศึกษาจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวันร้อยละ ๑๐๐
๔. นักเรียนประถมศึกษา มีอัตราการเกิดโรคฟันถาวรผุ ไม่เกินร้อยละ๒๐
๕. เด็กนักเรียนประถมศึกษาได้รับบริการทันตกรรมในรายที่มีปัญหาโรคฟันถาวรผุ /โรคเหงือกอักเสบได้รับบริการ อุดฟันและขูดหินน้ำลายตามระบบส่งต่อ ไม่น้อยกว่าร้อยละ50ประเมินจากผลการให้บริการตามระบบนัดหมาย


>