กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไม่ติดต่อ ในพื้นที่ รพ.สต.น้ำขาว

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำขาว

อสม.หมู่ที่ 3บ้านออกวัด

1. นางจริยา หมวดเพ็ง
2. นางเบญจวรรณแต่งโสภา
3. น.ส.อรสา กิ้มศรี
4. นางจำนงค์ ณะนวล
5. นางขิน คำตัน

หมู่ที่ 1 , 3 , 5 , 6 , 9 และ 10ตำบลน้ำขาว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง

 

20.96
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

 

8.66

ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สำคัญ ได้แก่ โรคเบาหวาน , โรคความดันโลหิตสูง หรือภาวะไขมันในเลือดสูง มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตประจำวันและที่สำคัญ โรคเรื้อรังเหล่านี้ยังเป็นโรคตั้งต้นที่ทำให้เกิดโรคที่รุนแรงและเสียค่าใช้จ่ายสูง เช่น โรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ก่อให้เกิดความพิการ และกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งหลักสำคัญในการดูแลสุขภาพ เพื่อก้าวสู่การมีสุขภาพที่ดี ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ได้แก่ งดการสูบบุหรี่ งดการดื่มสุรา การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้ถูกชนิด ปริมาณ และควรเลือกรับประทานให้ครบ 5 หมู่ รับประทานให้หลากหลายและเพียงพอ งดอาหารหวาน มัน เค็ม ดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะ ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอ รวมถึงการดูแลสุขภาพจิตและอารมณ์ ก็จะช่วยป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคทั้งหมดที่กล่าวมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง และ เบาหวานในประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป

ร้อยละ 90 ของประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

962.00 865.00
2 เพื่อให้การดูแลประชาชากรกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงหรือเบาหวาน

ร้อยละ 70 ของประชากลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงหรือเบาหวานได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

33.00 23.00
3 เพื่อให้การดูแลประชากรที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิต

ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถคุมระดับความดันโลหิตได้

331.00 199.00
4 เพื่อให้การดูแลประชาชนที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน

ร้อยละ 40 ของผู้ป่วยเบาหวานสามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้

86.00 35.00
5 เพื่อเพิ่มจำนวนหมู่บ้านปรับเปลี่ยนฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรค

หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยง ลดโรคเพิ่มขึ้น 1 หมู่บ้าน

5.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
จำนวนประชาชนที่ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง 29
ประชาชนที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง NCD 335
ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป 962

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมรณรงค์ตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.รณรงค์ตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน - ค่าแถบตรวจน้ำตาลในเลือด5 กล่อง x 1400 บาทเป็นเงิน 7000 บาท - ค่าเข็มเจาะน้ำตาล3 กล่อง x 750 บาท เป็นเงิน 2250 บาท - ถุงมือ 1 กล่อง x 280 บาทเป็นเงิน 280 บาท - สำลีก้อนแอลกอฮอล์4 กล่อง x 1200 บาทเป็นเงิน 4800 บาท - ค่าอาหารเช้าประชาชนที่เข้ารับการตรวจคัดกรองฯ หมู่บ้านละ 500 บาท x 6 หมู่ เป็นเงิน 3000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 20 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 90 ของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17330.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงหรือเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงหรือเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ให้ความรู้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม25 คน x 25 บาท x 1 มื้อเป็นเงิน 625 บาท - ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ในการจัดปรับเปลี่ยนพฤติกรรม50 บาท x 25 คน เป็นเงิน 1250 บาท 2.ติดตามภาวะสุขภาพกลุ่มเสี่ยงที่เข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3.สรุปและประเมินผล

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 เมษายน 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 70 ของประชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงหรือเบาหวานได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ร้อยละ 30 ของผู้เข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถคุมระดับความดันโลหิตหรือน้ำตาลในเลือดได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1875.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพประชาชนกลุ่มป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงหรือเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพประชาชนกลุ่มป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงหรือเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.การตรวจสุขภาพและการให้้ความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองแก่ประชาชนที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงหรือเบาหวาน - ค่าหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 80 คน x 25 บาทเป็นเงิน 2000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถคุมระดับความดันโลหิตได้
  2. ร้อยละ 40 ของผู้ป่วยเบาหวานสามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมการดำเนินงานหมู่บ้านต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรค

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการดำเนินงานหมู่บ้านต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรค - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 50 คน x 25 บาท x 1 มื้อเป็นเงิน 1250 บาท - ค่าวัสดุในการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้500 บาท - ค่าวิทยากร 600 บาท x 3 ช.ม. เป็นเงิน 1800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หมู่ที่ 1 บ้านเกาะแคเข้าร่วมการดำเนินงานหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3550.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,755.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงหรือเบาหวานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ไม่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง
2.ประชาชนที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือเบาหวานสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตหรือน้ำตาลในเลือดได้ดี เพื่อป้องกันการเกิดภ่าวะแทรกซ้อน


>