กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำสินธุ์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค ต้านโรคโควิด-19 ประจำปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำสินธุ์

ชมรมอสม.ตำบลลำสินธุ์ สาขาส่งเสริมสุขภาพ

1.นางอำมร จันทร์มาศ
2.นางเพ็ญพร ศรภักดี
3.นางนุชรวย ปล้องใหม่
4.น.ส.นัทธมน รุ่งเรือง
5.นางฐาปนีย์ สินทรัพย์

๑. ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำสินธุ์ตำบลลำสินธุ์๒. ศาลาประจำหมู่บ้านทุกหมู่บ้านในลำสินธุ์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

60.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

57.00

ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน ที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) และสร้างปัญหาให้กับประเทศในเกือบทุกๆด้าน จึงเกิดผลกระทบเป็นวงกว้างและมีแนวโน้มการแพร่ระบาดเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะตำบลลำสินธุ์ก็มีผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แล้วหลายรายซึ่งในทางปฏิบัตินั้นต้องมีมาตรการทั้งการเฝ้าระวัง การป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชนอย่างต่อเนื่องซึ่งสาเหตุหนึ่งพบว่าผู้ที่ติดเชื้อบางคนมีภูมิต้านทานโรคที่เข้มแข็ง บุคคลนั้นก็ไม่มีอาการแสดงใดๆแต่บางคนที่มีภูมิต้านทานที่ต่ำเมื่อติดเชื้อแล้วก็จะมีอาการ ทำให้ร่างกายอ่อนแอลงอย่างเห็นได้ชัด และต้องทำรักษาให้หายจากโรคต้องใช้เวลาหลายวันและต้องใช้เวลาระยะฟักฟื้นอีกด้วยซึ่งการหน่วยงานสาธารณสุขได้รณรงค์ให้ผู้คนทุกกลุ่มวัยได้มีการออกกำลังกายทุกวัน หรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ ๓ วัน เพื่อทำให้ร่างกายมีความแข็งแรง เกิดภูมิต้านทานโรคได้อย่างปลอดภัย
ดังนั้น ชมรม อสม. ตำบลลำสินธุ์ (สาขาส่งเสริมสุขภาพ) ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาและความจำเป็น จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค ต้านโรคโควิด-๑๙ ประจำปี ๒๕๖๕เพื่อรณรงค์และส่งเสริมการออกกำลังกายในชุมชนทั่วทุกหมู่บ้าน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายต้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19)ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

60.00 70.00
2 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางอย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

57.00 65.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 450
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเจ้าหน้าที่เทศบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำชุมชน แกนนำภาคประชาชน จำนวน 1 วัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเจ้าหน้าที่เทศบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำชุมชน แกนนำภาคประชาชน จำนวน 1 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มของผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 50 คนๆละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท                 เป็นเงิน 2,500 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวันของผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 50 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 70  บาท                        เป็นเงิน 3,500 บาท
  3. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 4 ชม.ๆละ 300 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
  4. ค่าป้ายชื่อโครงการทำด้วยไวนิล ขนาด 1.20 ม.x 2.50 ม. จำนวน 1 ผืนๆละ 600 บาท
  5. ค่าวัสดุสำนักงาน ตาชั่ง,สายวัดรอบเอว,ยางยืดออกกำลังกาย วัสดุทำอุปกรณ์ออกกำลังกาย                เป็นเงิน 8,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 1 มกราคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.จำนวนผู้เข้ารับการอบรม 50 คน 2.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเชิงบวก ด้านการกินและการออกกำลังกาย เพิ่่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16300.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมและฝึกทักษะการออกกำลังกายในชุมชน จำนวน 1 วัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมและฝึกทักษะการออกกำลังกายในชุมชน จำนวน 1 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มของผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 80 คนๆละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท                 เป็นเงิน 4,000 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวันของผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 40 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 70  บาท                        เป็นเงิน 5,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.จำนวนผู้เข้ารับการอบรม 80 คน 2.กลุ่มเป้าหมายมีทักษะการออกกำลังกายเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายมีองค์ความรู้ มีทัศนคติที่ดี สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างถูกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
2. กลุ่มเป้าหมายได้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วันไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
3. กลุ่มเป้าหมายมีค่าดัชนีมวลกายที่ดีขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ60


>