กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค ต้านโรคโควิด-19 ประจำปี 2565
รหัสโครงการ 04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอสม.ตำบลลำสินธุ์ สาขาส่งเสริมสุขภาพ
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 25,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอสม.ตำบลลำสินธุ์ สาขาส่งเสริมสุขภาพ
พี่เลี้ยงโครงการ นายพิเชษฐ์ เขียดนิล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 450 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
60.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
57.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน ที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) และสร้างปัญหาให้กับประเทศในเกือบทุกๆด้าน จึงเกิดผลกระทบเป็นวงกว้างและมีแนวโน้มการแพร่ระบาดเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะตำบลลำสินธุ์ก็มีผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แล้วหลายรายซึ่งในทางปฏิบัตินั้นต้องมีมาตรการทั้งการเฝ้าระวัง การป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชนอย่างต่อเนื่องซึ่งสาเหตุหนึ่งพบว่าผู้ที่ติดเชื้อบางคนมีภูมิต้านทานโรคที่เข้มแข็ง บุคคลนั้นก็ไม่มีอาการแสดงใดๆแต่บางคนที่มีภูมิต้านทานที่ต่ำเมื่อติดเชื้อแล้วก็จะมีอาการ ทำให้ร่างกายอ่อนแอลงอย่างเห็นได้ชัด และต้องทำรักษาให้หายจากโรคต้องใช้เวลาหลายวันและต้องใช้เวลาระยะฟักฟื้นอีกด้วยซึ่งการหน่วยงานสาธารณสุขได้รณรงค์ให้ผู้คนทุกกลุ่มวัยได้มีการออกกำลังกายทุกวัน หรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ ๓ วัน เพื่อทำให้ร่างกายมีความแข็งแรง เกิดภูมิต้านทานโรคได้อย่างปลอดภัย ดังนั้น ชมรม อสม. ตำบลลำสินธุ์ (สาขาส่งเสริมสุขภาพ) ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาและความจำเป็น จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค ต้านโรคโควิด-๑๙ ประจำปี ๒๕๖๕เพื่อรณรงค์และส่งเสริมการออกกำลังกายในชุมชนทั่วทุกหมู่บ้าน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายต้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19)ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

60.00 70.00
2 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางอย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

57.00 65.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 25,900.00 0 0.00
1 มี.ค. 65 - 1 ม.ค. 65 กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเจ้าหน้าที่เทศบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำชุมชน แกนนำภาคประชาชน จำนวน 1 วัน 0 16,300.00 -
3 มี.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมและฝึกทักษะการออกกำลังกายในชุมชน จำนวน 1 วัน 0 9,600.00 -
  1. จัดทำแผนงานโครงการเพื่อเสนอขอรับงบประมาณสนับสนุน
  2. ประสานงานหน่วยงาน และกลุ่มเป้าหมาย
  3. จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย ทำกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเชิงบวก ด้านอาหารการกิน และสาธิตการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมกับวัย  จำนวน 1 วัน
  4. รณรงค์การออกกำลังในหมู่บ้าน และที่บ้านของกลุ่มเป้าหมาย จดบันทึกกิจกรรมการออกกำลังกาย บันทึกค่าดัชนีมวลกายส่วนตัว จำนวน 1 วัน
  5. ประชาสัมพันธ์โครงการในชุมชน โดยการรณรงค์การออกกำลังกายที่ศาลาหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง
  6. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน เมื่อสิ้นสุดโครงการ พร้อมรายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีองค์ความรู้ มีทัศนคติที่ดี สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างถูกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
  2. กลุ่มเป้าหมายได้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วันไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
  3. กลุ่มเป้าหมายมีค่าดัชนีมวลกายที่ดีขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ60
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2565 00:00 น.