กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและคนพิการ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว

นายเอนก กลิ่นรส ตำแหน่ง ผู้อำนววยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว

หมู่ที่ 1,7,9 ตำบลโคกชะงายอำเภอเมืองจังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้พิการในพื้นที่ (คน)

 

128.00
2 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ได้รับการจัดบริการดูแลระยะยาว (คน)

 

37.00

การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ จำเป็นต้องมีญาติ ผู้ดูแลและคนในชุมชนมีส่วนร่วม เนื่องจากผู้สูงอายุและผู้พิการจัดเป็นกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ปกติเหมือนคนทั่วไป ต้องมีคนคอยดูแล ช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกเกือบตลอดเวลาในบางคน และเป็นกลุ่มวัยที่สมรรถภาพร่างกายเสื่อมถอยในทุกๆด้าน เช่น ด้านร่างกาย ความแข็งแรงของร่างกายลดลง ภูมิคุ้มกันร่างกายเริ่มอ่อนแอ เจ็บป่วยง่ายกว่าวัยอื่นๆ ด้านจิตใจพบว่ามี ความเครียด ความกังวล ซึมเศร้า มากกว่าวัยอื่นๆ เช่นกัน ประกอบกับการขาดโอกาสรับการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ และการขาดโอกาสรับทราบข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์และเกี่ยวข้องโดยตรง รวมไปถึงขาดการพบปะพูดคุยและทำกิจกรรมร่วมกัน ส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและพิการ จากข้อมูลในพื้นที่ตำบลโคกชะงาย จำนวนประชากรทั้งหมด 1211 คน ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2565 มีผู้สูงอายุและผู้พิการในระบบข้อมูลของ รพ.สต.บ้านทุ่งยาว จำนวน 550 คน คิดเป็นร้อยละ 20.92 ของประชากรในพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มประชากรที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกลุ่มประชากรวัยอื่นๆเช่นกัน ประกอบกับการดำเนินงานในด้านการดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการยังไม่ครอบคลุมตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ดังนั้นเพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้พิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างต่อเนื่องยั่งยืน เครือข่ายผู้สูงอายุและผู้พิการตำบลโคกชะงาย จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ ตำบลโคกชะงาย ประจำปี 2565 เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้พิการหรือผู้ดูแลมีความรู้และทักษะในการดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ และสามารถช่วยเหลือกันเองได้อย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้พิการได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยญาติหรือผู้ดูแล ทุกคน

ผู้สูงอายุและผู้พิการได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยญาติหรือผู้ดูแล ทุกคน

87.00 165.00
2 เพื่อให้ญาติหรือผู้ดูแล ผู้สูงอายุและคนพิการมีความรู้ในการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ

ญาติหรือผู้ดูแล ผู้สูงอายุและคนพิการมีความรู้ในการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ ทุกคน

87.00 165.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้พิการมีความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10

ผู้สูงอายุและผู้พิการมีความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10

0.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 37
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 128
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 11/03/2022

กำหนดเสร็จ 29/07/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการ ญาติหรือผู้ดูแล ผู้สูงอายุและผู้พิการ เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพ (อบรม 2 รุ่นๆละ 61 คน)

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ ญาติหรือผู้ดูแล ผู้สูงอายุและผู้พิการ เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพ (อบรม 2 รุ่นๆละ 61 คน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าวิทยากรจำนวน 2 คน ๆ ละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 7,200 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการจำนวน 122 คน ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 6,100 บาท
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 122 คนๆละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 6,100 บาท
  4. เอกสารประกอบการอบรมฯ จำนวน 122 ชุด ๆ ละ 9 บาท เป็นเงิน 1,098 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มีนาคม 2565 ถึง 29 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ญาติหรือผู้ดูแล ผู้สูงอายุและผู้พิการ ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อฟื้นฟูสมรรรถภาพ มีความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20498.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามและประเมินผลการเพิ่มขึ้นของ ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ของผู้สูงอายุและผู้พิการ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและประเมินผลการเพิ่มขึ้นของ ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ของผู้สูงอายุและผู้พิการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ติดตามและประเมินผลการเพิ่มขึ้นของ ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ของผู้สูงอายุและผู้พิการโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและภาคีเครือข่าย
ระยะเวลาดำเนินงาน
30 มีนาคม 2565 ถึง 29 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้สูงอายุและผู้พิการ มีความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 เรียนรู้ร่วมกัน

ชื่อกิจกรรม
เรียนรู้ร่วมกัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างผู้ดูแลหรือญาติ ของผู้สูงอายุและผู้พิการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
22 มิถุนายน 2565 ถึง 22 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการโดยญาติหรือผู้ดูแล
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,498.00 บาท

หมายเหตุ :
- งบประมาณทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ร้อยละ 80 ของญาติหรือผู้ดูแล ผู้สูงอายุและผู้พิการ มีความรู้และทักษะในการดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการ ถูกต้อง เหมาะสม
2. ผู้สูงอายุและผู้พิการ มีความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10


>