กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปูโยะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย อนามัยสมบูรณ์ ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปูโยะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปูโยะ

ตำบลปูโยะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ภาวะโลหิตจ้างในหญิงตั้งครรภ์ร้อยละ

 

6.56

ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์เป็นปัญหาด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่สำคัญปัญหาหนึ่งที่พบในทุกภูมิภาคของประเทศโดยเกิดขึ้นต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และเป็นสาเหตุการตายของมารดาและทารกที่พบบ่อย จากการศึกษาพบว่าสาเหตุการตายของดามีความสัมพันธ์กับการมีภาวะโลหิตจางร่วมด้วยถึงร้อยละ ๔๐ (ธีระ ทองสงและชเนนทร์ วนาภิรักษ์ : ๒๕๓๕ ) ซึ่งสาเหตุของการเกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กจะส่งผลกระทบต่อหญิงตั้งครรภ์โดยในช่วงแรกทำให้อัตราการตายของมารดาและทารกระหว่างการคลอดสูง การตั้งครรภ์จะทำให้เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดและทารกแรกเกิดคลอดน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ นอกจากนี้ยังส่งผลทำให้เด็กที่เกิดมามีพัฒนาการทางสมองลงลง เกิดผลเสียต่อการเรียนรู้
ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์นั้นเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุด อุบัติการณ์พบได้สูงถึงร้อยละ ๓๐ ในบางพื้นที่ (WHO 1989) จากการรายงานพบว่าปี2565 พบหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางในตำบลปูโยะ คิดเป็นร้อยละ 6.56ซึ่งพบว่าไม่สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ว่าไม่เกินร้อยละ ๑๐ แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงซีดและมีภาวะซีดลดลง

ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดใกล้คลอดลดลง

3.65 2.00
2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับกับการปฏิบัติตัว

ร้อยละหญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับกับการปฏิบัติตัวเพิ่มขึ้น

3.65 2.00
3 เพื่อให้คู่สมรสรายใหม่ได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ด้วยการรับประทานยาโฟเลต

ร้อยละความพิการในทารกแต่กำเนิดลดลง

0.00 0.00
4 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และคู่สมรสมีความรู้ในการดูแลสุขภาพในขณะตั้งครรภ์และลดภาวะเสี่่ยง

ร้อยละหญิงตั้งครรภ์และคู่สมรสมีความรู้ในการดูแลสุขภาพในขณะตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น

4.50 3.00
5 เพื่อให้หญิงหลังคลอดที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการติดตาม

หญิงหลังคลอดที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการเยี่ยมติดตามตามเกณฑ์ (คน)

13.00 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 70
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมจัดหาอาหารที่มีประโยชน์ต่อหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดตามหลักโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดหาอาหารที่มีประโยชน์ต่อหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดตามหลักโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่านมสดสเตอร์ริไลน์ (ตราหมี) จำนวน 30 คนๆ ละ 30 กล่อง ๆ ละ 12 บาท   เป็นเงิน  10,800  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดขณะใกล้คลอดลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10800.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงซีดและมีภาวะซีด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงซีดและมีภาวะซีด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30คน x 50 บาท เป็นเงิน1,500บาท
  2. ค่าอาหารว่าง จำนวน 30 คน x 25 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 1,500บาท
  3. ค่าป้ายไวนิลโครงการฯ
    จำนวน 1ผืนขนาด 1.2 มx 2.4 ม. เป็นเงิน720บาท
  4. ค่าวิทยากร จำนวน 1คน x 6 ชม.ๆ ละ x 300 บาท เป็นเงิน 1,800บาท
  5. ค่าจ้างเหมาจัดทำอาหารสาธิต เป็นเงิน 3,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดขณะใกล้คลอดลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8520.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมเตรียมความพร้อมคู่สมรสรายใหม่ก่อนตั้งครรภ์ด้วยโฟเลต

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเตรียมความพร้อมคู่สมรสรายใหม่ก่อนตั้งครรภ์ด้วยโฟเลต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 15 คน  x  25  บาท x  1 มื้อ x 2  ครั้ง  เป็นเงิน  750   บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อป้องกันความพิการในทารกแต่กำเนิด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมอบรมโรงเรียนพ่อแม่ในหญิงตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมโรงเรียนพ่อแม่ในหญิงตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน  x  25  บาท x 1 มื้อ x 2 ครั้ง   เป็นเงิน    1,500     บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์และคู่สมรสมีความรู้ในการดูแลสุขภาพในขณะตั้งครรภ์เพื่อลดภาวะเสี่่ยง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมเยี่ยมติดตามหญิงหลังคลอดที่มีภาวะเสี่ยงเชิงรุก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเยี่ยมติดตามหญิงหลังคลอดที่มีภาวะเสี่ยงเชิงรุก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน  x  25  บาท x 3 ครั้ง   เป็นเงิน   3,000  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงหลังคลอดที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการติดตามครบตามเกณฑ์ทุกราย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,570.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดขณะใกล้คลอดไม่เกิน ร้อยละ 10
2. ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ไม่เกิน ร้อยละ 7
3. ป้องกันทารกพิการแต่กำเนิด


>